ความเป็นมาการนวดแผนไทย
เมื่อพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ผ่านมาทางประเทศจีน และเข้ามาสู่เมืองไทย โดยการนำ ของพระสงฆ์ หลักฐานการนวดที่เก่าแก่ที่สุดคือ ศิลาจารึก ที่ขุดพบที่ป่ามะม่วง ในสมัย พ่อขุนรามคำแหง
ในสมัยโบราณนั้น ความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ และการนวดของไทย จะสั่งสอนสืบต่อกัน เป็นทอด ๆ โดยครูจะรับศิษย์ไว้ แล้วค่อยสั่งค่อยสอนให้จดจำความรู้ต่าง ๆ ซึ่งความรู้ ที่สืบทอดกันมานั้น อาจเพิ่มขึ้น สูญหาย หรือผิดแปลกไปบ้าง ตามความสามารถของครู และศิษย์ที่สืบทอดกันมา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช การแพทย์แผนไทยนั้น เจริญรุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนวดแผนไทย จากหลักฐานทำเนียบศักดินา ข้าราชการฝ่ายทหาร และพลเรือน ทรงโปรดให้มีการ แต่งตั้งกรมหมอนวด ให้บรรดาศักดิ์เป็นปลัดฝ่ายขวา มีศักดินา 300 ไร่ ฝ่ายซ้ายมีศักดินา 400 ไร่
หลักฐานจากจดหมายเหตุราชฑูตลาลูแบร์ ประเทศฝรั่งเศส ในบันทึกเรื่องหมอนวดในแผ่นดินสยาม มีความว่า "ในกรุงสยาม นั้น ถ้ามีใครป่วยไข้ลง ก็จะเริ่มทำเส้นสายยืด โดยผู้ชำนาญทางนี้ ขึ้นไปบนร่างกายคนไข้แล้วใช้เท้าเหยียบ"
ในสมัยรัตนโกสินทร์ การแพทย์แผนไทยได้สืบทอดมาจากสมัยอยุธยา แต่เอกสารและวิชาความรู้บางส่วน สูญหายไปในช่วง ภาวะสงคราม ทั้งยังถูกจับเป็นเชลยส่วนหนึ่ง เหลือหมอพระตามหัวเมืองจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดให้ระดมปั้นรูปฤาษีดัดตน 80 ท่า และจารึกสรรพวิชาการนวดไทย ลงบนแผ่นหินอ่อน 60 ภาพ แสดงจุดนวดต่าง ๆ อย่างละเอียด ประดับบนผนังศาลาราย และบนเสาภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาโดยทั่วกัน
ต่อมาใน พ.ศ.2375 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้บูรณะวัดโพธิ์ใหม่ ทรงให้ หล่อรูปฤษีดัดตน เป็นโลหะ และทรงให้รวบรวมตำราการนวด และตำราการแพทย์ จารึกในวัดโพธิ์ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชน ทั่วไปศึกษา และนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
ใน พ.ศ. 2397 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้หมอนวดและหมอยา ถวายการรักษาความเจ็บป่วยยาม ทรงพระประชวร แม้เสด็จประพาสแห่งใด ต้องมีหมอนวดถวายงานทุกครั้ง
ใน พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระปิยะมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯให้แพทย์หลวงทำการสังคายนา และแปลตำราแพทย์จาก ภาษาบาลี และสันสกฤตเป็นภาษาไทย เรียกว่าตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (ฉบับหลวง)
|