หน่วยที่ 4 ไมโครมิเตอร์
1.  ประเภทของไมโครมิเตอร์
     ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) เป็นเครื่องมือวัดละเอียดช่างยนต์ที่มีความสำคัญมากและใช้กันอย่างแพร่หลายมีค่าความละเอียด 0.01 mm เนื่องจาก
เมื่อเปรียบเทียบกับเวอร์เนียร์คาลิเปอร์แล้วใช้งานง่ายและมีค่าความละเอียดสูงกว่าเวอร์เนียร์คาลิเปอร์ถึงสองเท่า โดยปกติทั่วไปไมโครมิเตอร์ที่ใช้อยู่
ในปัจจุบันสามารถจำแนกตามการใช้งานได้เป็น 3 ลักษณะดังนี้
     1.1 ไมโครมิเตอร์วัดนอก (Outside Micrometer)
     1.2 ไมโครมิเตอร์วัดใน (Inside Micrometer)
     1.3 ไมโครมิเตอร์วัดลึก (Depth Micrometer)


ภาพ 4.1  ไมโครมิเตอร์วัดนอก


ภาพ 4.2  ไมโครมิเตอร์วัดใน

ภาพ 4.3  ไมโครมิเตอร์วัดลึก
2. ส่วนประกอบของไมโครมิเตอร์วัดนอก
ไมโครมิเตอร์วัดนอก (Outside Micrometer) เป็นเครื่องมือวัดละเอียดที่สำคัญสำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม เนื่องจากให้ค่าความละเอียดสูง
และมีความเที่ยงตรงสูงกว่าเวอร์เนียร์คาลิเปอร์ ในส่วนของงานช่างยนต์ได้นำมาใช้เพื่อตรวจสอบขนาดของชิ้นส่วนเครื่องยนต์เทียบกับค่า
มาตรฐานตามคู่มือซ่อม เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวินิจฉัยตัดสินใจในการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์  โดยปกติทั่วไปจะใช้ไมโครมิเตอร์วัดนอก
ตรวจวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลูกสูบ  สลักลูกสูบ  ข้อหลักและข้อก้านของเพลาข้อเหวี่ยง  วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางก้านลิ้นไอดีและ
ลิ้นไอเสีย  วัดความสูงของลูกเบี้ยวไอดีและลูกเบี้ยวไอเสียเป็นต้น ไมโครมิเตอร์   วัดนอกมีหลายขนาด แต่ละขนาดถูกออกแบบมาให้
เหมาะสมกับขนาดของชิ้นงานเครื่องยนต์ โดยมีขนาดตั้งแต่ 0-25 mm, 25-50 mm, 50-75 mm, 75-100 mm, 100-125 mm และ 125-150 mm


ภาพ 4.4  ส่วนประกอบของไมโครมิเตอร์วัดนอก
ไมโครมิเตอร์วัดนอกประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
      2.1. แกนรับ (Anvil) ลักษณะแกนรับจะเป็นเพลากลมตัน ที่ด้านปลายทำจากเหล็กคาร์ไบด์ เพื่อเสริมความแข็งแรง สำหรับป้องกัน
การสึกหรอจากการสัมผัสกับชิ้นงานที่ตรวจวัด แกนรับจะประกอบยึดติดกับโครงของไมโครมิเตอร์ด้วยการสวมอัดเป็นชุดเดียวกันภาพ 4.4
      2.2 แกนวัด (Spindle) ลักษณะแกนวัดจะเหมือนแกนรับทุกประการ แกนวัดจะยึดติดกับสลักเกลียวเพื่อให้เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง
ภาพ 4.4
2.3 โครงไมโครมิเตอร์ (Frame) มีลักษณะคล้ายกับรูปตัวซีมีน้ำหนักเบาและแข็งแรงมีไว้เพื่อนำชิ้นส่วนอื่นๆ มาประกอบเป็นไมโครมิเตอร์
และใช้สำหรับจับขณะตรวจวัดชิ้นงานภาพ 4.4
      2.4 ปุ่มปรับล็อก (Thimble Lock) ทำหน้าที่ยึดแกนวัดไม่ให้เคลื่อนที่จากปลอกเลื่อนเมื่อแกนวัดสัมผัสกับชิ้นงานถ้าไม่ต้องการให้
แกนวัดเคลื่อนที่ให้เลื่อนปุ่มล็อกไปทางซ้ายมือถ้าต้องการปลดให้เลื่อนไปทางด้านตรงข้ามปุ่มล็อกจะมี 2 แบบคือแบบใช้วงแหวนและ
แบบใช้กระเดื่องภาพ 4.4
      2.5 สเกลหลักหรือปลอกวัด (Sleeve) มีลักษณะเป็นทรงกระบอกสวมอยู่กับโครงสามารถปรับหมุนได้ที่ผิวสเกลหลักจะมีเส้นขีด
ยาวในแนวนอน เรียกว่า เส้นอ้างอิง (Index Line) ด้านบนและด้านล่างของเส้นอ้างอิงจะมีขีดแบ่งช่องเพื่อกำหนดค่าของสเกลหลัก
      2.6 ปลอกเลื่อนหรือสเกลเลื่อนหรือปลอกหมุน (Thimble) ลักษณะเป็นทรงกระบอกสวมอยู่บนสเกลหลักสามารถเคลื่อนที่เข้า
ออกได้ที่ปลายด้านในจะลาดเอียงมีขีดแบ่งช่องเพื่อกำหนดค่า ส่วนด้านนอกจะพิมพ์ลายเพื่อสะดวกในการหมุนเข้าออกป้องกันการ
ลื่นขณะหมุน
      2.7 หัวหมุนกระทบ (Ratchet stop) จะอยู่ด้านท้ายสุดของแกนวัด เมื่อหมุนปลอกเลื่อนเริ่มสัมผัสกับชิ้นงานแล้วให้ตรวจสอบแกน
วัดสัมผัสชิ้นงานพอดีไม่เอียง จากนั้นให้หมุนหัวหมุนกระทบตามเข็มนาฬิกาให้ได้ยินเสียงดังประมาณ 2-3 แก๊ก
3.  การใช้และการบำรุงรักษาไมโครมิเตอร์วัดนอก
     3.1   การใช้ไมโครมิเตอร์วัดนอก
    3.1.1 ทำความสะอาดไมโครมิเตอร์ โดยใช้ผ้าสะอาดอ่อนนุ่มเช็ดคราบสกปรกบนไมโครมิเตอร์ปลอกเลื่อน แกนรับ และแกนวัดด้วยความ
ระมัดระวังภาพ 4.5


ภาพ 4.5  ทำความสะอาดไมโครมิเตอร์วัดนอก

  3.1.2  ปรับความเที่ยงตรงของไมโครมิเตอร์ การปรับความเที่ยงตรงของไมโครมิเตอร์วัดนอกคือการปรับตำแหน่งศูนย์ของปลอก
เลื่อนให้ตรงกับเส้นอ้างอิง ก่อนการใช้งาไมโครมิเตอร์ทุกครั้งควรมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงของไมโครมิเตอร์ ถ้าพบว่าไม่ตรง
ให้ทำการปรับแก้ไขโดยการตรวจความเที่ยงตรงของไมโครมิเตอร์ให้ปฏิบัติดังนี้ ใช้แท่งมาตรฐานวางระหว่างแกนรับกับแกนวัด
(ภาพ 4.6) หมุนปลอกเลื่อนช้า ๆ ให้แกนวัดและแกนรับสัมผัสพอดีกับแท่งมาตรฐาน จากนั้นปรับหัวหมุนกระทบให้ได้ยินเสียงดัง
ประมาณ 2– 3 แก๊กจึงหยุดหมุน (ภาพ 4.7) ตรวจสอบเส้นอ้างอิงกับขีดเลข 0 ถ้าพบว่าขีดเลข 0 บนปลอกเลื่อนตรงกับเส้นอ้างอิง
(ภาพ 4.8) แสดงว่าเที่ยงตรงใช้งานได้

ภาพ 4.6  การใช้แท่งมาตรฐานวางระหว่างแกนรับกับแกนวัด

ภาพ 4.7  การปรับหัวหมุนกระทบ

ภาพ 4.8  แสดงเส้นอ้างอิงตรงกับขีดเลข 0
แต่ถ้าพบว่าคลาดเคลื่อนเส้นไม่ตรงกัน (ภาพ 4.9) แสดงว่าไม่เที่ยงตรง ต้องปรับแก้ไขดังนี้


ภาพ 4.9  แสดงเส้นอ้างอิงคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับขีดเลข 0
 3.1.2.1  การปรับความเที่ยงตรงที่ไม่เกิน 0.02 mm ให้ปฏิบัติดังนี้
1) หมุนปลอกเลื่อนให้แกนวัดสัมผัสกับแท่งมาตรฐานและปรับหัวหมุนกระทบจนมีเสียงดังประมาณ 2 – 3 แก๊กหยุดหมุน
2) โยกปุ่มล็อกไปทางซ้ายเพื่อล็อกไม่ให้แกนวัดเคลื่อนที่
3) ใช้ประแจปรับตั้ง ปรับตั้งให้เส้นอ้างอิงบนสเกลหลักตรงกับขีดเลข 0 ที่ปลอกเลื่อน

ภาพ 4.10  การใช้ประแจปรับหมุนปรับตั้งให้เส้นอ้างอิงตรงกับขีดเลข 0
                           4) เสร็จเรียบร้อยให้ตรวจสอบความเที่ยงตรงหลังการปรับตั้ง
              3.1.2.2  การปรับความเที่ยงตรงที่มีค่าเกิน 0.02 mm ให้ปฏิบัติดังนี้
  1) หมุนปลอกเลื่อนให้แกนวัดสัมผัสกับแท่งมาตรฐานและปรับหัวหมุนกระทบจนมีเสียงดัง 2–3 แก๊กหยุดหมุน
                       2) ปรับปุ่มล็อกไปทางซ้ายเพื่อล็อกไม่ให้แกนวัดเคลื่อนที่

ภาพ 4.11  การใช้ประแจคลายหัวหมุนกระทบ
3) ใช้ประแจปรับตั้งคลายหัวหมุนกระทบด้านท้ายไมโครมิเตอร์ให้หลวม (ภาพ 4.11)
4) หมุนปลอกเลื่อนให้ขีดเลข 0 มาตรงกับเส้นอ้างอิงสเกล เสร็จเรียบร้อยใช้ประแจปรับตั้งล็อกหัวหมุนกระทบให้แน่น
5) เสร็จเรียบร้อยแล้วให้ตรวจสอบความเที่ยงตรงหลังการปรับตั้ง
  3.1.3  เมื่อปรับตั้งความเที่ยงตรงของไมโครมิเตอร์พร้อมใช้งานแล้ว จากนั้นจึงนำไมโครมิเตอร์ไปใช้ได้
3.1.3.1 เนื่องจากไมโครมิเตอร์มีหลายขนาด ต้องเลือกไมโครมิเตอร์ให้เหมาะกับขนาดของชิ้นงาน (ให้ใช้เครื่องมือวัดเบื้องต้น
เช่นบรรทัดเหล็กวัดขนาดโดยประมาณของชิ้นงานก่อน)
3.1.3.2 หมุนปลอกเลื่อน (ภาพ 4.12 หมายเลข 2) ให้เริ่มสัมผัสกับผิวชิ้นงานที่จะวัดโดยไม่ออกแรงหมุนมากเกินไป และตรวจ
สอบหน้าสัมผัสระหว่างแกนวัดกับผิวชิ้นงานให้ถูกต้องไม่เอียงภาพ 4.12

ภาพ 4.12  การหมุนปลอกเลื่อนกระทบผิวของชิ้นงาน
3.1.3.3 จากนั้นหมุนหัวหมุนกระทบ (ภาพ 4.12 หมายเลข 1) จนได้ยินเสียงดังประมาณ 2-3 แก๊กและหยุดหมุน
3.1.3.4 ปรับปุ่มล็อก (ภาพ 4.12 หมายเลข 3) ไปทางซ้ายมือเพื่อล็อกแกนวัดไม่ให้เคลื่อนที่
3.1.3.5 อ่านค่าไมโครมิเตอร์
  3.2  การบำรุงรักษาไมโครมิเตอร์วัดนอก
          เนื่องจากไมโครมิเตอร์เป็นเครื่องมือที่มีความละเอียดสูงก่อนและหลังการใช้ควรเก็บรักษาเป็นอย่างดี เพื่อป้องกันไม่ให้
ไมโครมิเตอร์ชำรุดเสียหายหรือสูญเสียความเที่ยงตรงและช่วยยืดอายุการใช้งานดังนี้
         3.2.1  ห้ามนำไมโครมิเตอร์ไปวัดชิ้นงานขณะร้อนหรือและวัดชิ้นงานขณะที่กำลังหมุน
         3.2.2  ควรเก็บและวางไมโครมิเตอร์แยกออกจากเครื่องมือชนิดอื่น
         3.2.3  ห้ามนำไมโครมิเตอร์ไปวัดเล่นหรือนำไปวัดชิ้นงานที่ผิวขรุขระไม่เรียบ
         3.2.4 เพื่อป้องกันไมโครมิเตอร์เสียหาย ให้หมุนปลอกเลื่อนช้าๆ ให้แกนวัดสัมผัสกับชิ้นงานจากนั้นให้ใช้หัวหมุนกระทบ
         3.2.5  เมื่อเลิกใช้งานไมโครมิเตอร์ ต้องเช็ดทำความสะอาดและชโลมด้วยวาสลีนหรือน้ำมันหล่อลื่นที่แกนวัด แกนรับ และปลอกเลื่อน
ทุกครั้ง
         3.2.6  ห้ามดึงไมโครมิเตอร์วัดนอกออกจากชิ้นงานเพื่อมาอ่านค่าโดยไม่จำเป็น  เนื่องจากจะทำให้ผิวหน้าสัมผัสของแกนรับและแกน
วัดชำรุดสึกหรอ
          3.2.7 ควรตรวจสอบหน้าสัมผัสของแกนรับและแกนวัดอยู่เสมอ
          3.2.8 หลังจากใช้ปุ่มล็อกยึดแกนวัดแล้วอย่าลืมคลายปุ่มล็อกออกให้เป็นอิสระ 
3.3  ข้อควรระวังในการใช้ไมโครมิเตอร์วัดนอก
           3.3.1 การใช้ไมโครมิเตอร์วัดนอกวัดชิ้นงานที่มีผิวขนานกัน การวัดชิ้นงานที่มีผิวขนานกันขณะวัดจะต้องให้แนวแกนของแกนรับ
และแกนวัดตั้งฉากกับผิวงานดังภาพ 4.13

ภาพ 4.13  การใช้ไมโครมิเตอร์วัดนอกวัดชิ้นงานที่มีผิวขนาน

           3.3.2 การใช้ไมโครมิเตอร์วัดนอกวัดชิ้นงานทรงกลมหรือทรงกระบอก ผิวงานกลมไม่สามารถบังคับผิวสัมผัสของแกนรับและแกน
วัดให้ตั้งฉากกับผิวงานได้ดังนั้นจะต้องปรับแนวแกนของไมโครมิเตอร์ให้ถูกต้องดังภาพ 4.14


ภาพ 4.14  แสดงตำแหน่งการวัดชิ้นงานทรงกระบอก
ในกรณีที่ชิ้นงานกลมขนาดใหญ่จะต้องปรับให้แนวแกนวัดและแกนรับของ ไมโครมิเตอร์ผ่านจุดศูนย์กลางของชิ้นงานดังภาพ 4.15

ภาพ 4.15  การใช้ไมโครมิเตอร์วัดชิ้นงานทรงกลม
4.  การอ่านค่าไมโครมิเตอร์วัดนอก
          4.1 การแบ่งขีดสเกล

ภาพ 4.16  การแบ่งขีดสเกลไมโครมิเตอร์วัดนอก
4.1.1 ค่าบนสเกลหลักไมโครมิเตอร์วัดนอกขนาด 0 – 25 mm ค่าความละเอียด 0.01 mm ซึ่งสเกลหลักด้านบนจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-25 mm
โดย 1 ช่องมีค่าเท่ากับ 1 mm ทุกๆ 5 ช่องจะมีขีดยาวพร้อมตัวเลขกำกับไว้ ส่วน 1 ช่องด้านล่างของสเกลหลักจะอยู่ตรงกึ่งกลางของช่อง
ด้านบนมีค่าเท่ากับ 0.5 mm (หรือเท่ากับ 1 รอบการหมุนของปลอกเลื่อน)
4.1.2 ค่าบนปลอกเลื่อน  จากภาพ 4.16 บนปลอกเลื่อนบริเวณขอบเอียงๆ จะแบ่งออกเป็น 50 ช่องและทุกๆ 5 ช่องจะมีเลขกำกับไว้คือ 
0,  5, 10, 15, 20, 25, 30, 35, 40, 45 และวนกลับมาที่ 0 ซึ่งหมายถึงครบ 1 รอบเมื่อหมุนปลอกเลื่อนครบ 1 รอบจะทำให้แกนวัดห่างจาก
จุดเดิมไป 0.5 mm ขีดเลข 0 
บนปลอกเลื่อนจะตรงกับเส้นอิงบนสเกลหลักพอดี   แต่ถ้าหมุนปลอกเลื่อนไปเพียง 1 ช่อง  แกนวัดจะเคลื่อนที่ไปจากเดิมเท่ากับ 0.01 mm 
หรือหมายถึง 1 ส่วน 100 ของมิลลิเมตร
 4.2 การอ่านค่าไมโครมิเตอร์วัดนอก
       4.2.1 เริ่มจากอ่านค่าจำนวนเต็มด้านบนของสเกลหลักก่อนและอ่านค่าด้านล่างของสเกลหลัก
       4.2.2 จากนั้นอ่านค่าบนปลอกเลื่อน
       4.2.3 นำค่าจากสเกลหลักและค่าจากปลอกเลื่อนมารวมกัน  ดังตัวอย่างการอ่านค่า

ภาพ 4.17  ตัวอย่างการอ่านค่าไมโครมิเตอร์วัดนอก
 1) อ่านค่าบนสเกลหลัก ขอบปลอกเลื่อนหมุนผ่านขีดบนสเกลหลักไป 6 ช่อง อ่านค่าได้เท่ากับ 6.00 mm ขอบปลอกเลื่อนๆ พ้นขีดด้านล่าง
ของสเกลรองมาแล้วดังนั้นต้องนำค่า 0.5 mm มารวมกับค่าของด้านบนสเกลหลักด้วยดังนี้  ค่าบนสเกลหลัก       
                       =  ค่าด้านบนสเกลหลัก + ค่าด้านล่างสเกลหลัก
                       =  6.00 mm + 0.50  mm
                       =  6.50   mm
 2) อ่านค่าบนปลอกเลื่อน จากภาพขีดที่ 21 บนปลอกเลื่อนตรงกับเส้นอ้างอิงมากที่สุดนำ 21 คูณกับ 0.01 จะได้ 21 x 0.01 mm = 0.21 mm
 3) นำค่าบนสเกลหลักและค่าบนปลอกเลื่อนมารวมกันจะได้คำตอบดังนี้
            ค่าที่อ่านได้    =  ค่าบนสเกลหลัก + ค่าบนปลอกเลื่อน
                                           =  6.50 mm + 0.21   mm
            เพราะฉะนั้นค่าที่อ่านได้     =  6.71  mm

ภาพ 4.18  ตัวอย่างที่ 2 การอ่านค่าไมโครมิเตอร์วัดนอก
                        1) อ่านค่าบนสเกลหลัก ขอบปลอกเลื่อนหมุนผ่านขีดบนสเกลหลักไป 10 ช่อง อ่านค่าได้เท่ากับ 10.00 mm ขอบปลอก
ยังไม่พ้นขีดด้านล่างของสเกลรองดังนั้น ไม่ต้อง นำค่า 0.5 mm มารวมกับค่าของด้านบนสเกลหลักด้วยดังนี้       ค่าบนสเกลหลัก       
                       =  ค่าด้านบนสเกลหลัก + ค่าด้านล่างสเกลหลัก
                       =  10.00 mm + 0  mm
                       =  10.00 mm
 2) อ่านค่าบนปลอกเลื่อน   จากภาพขีดที่ 49 บนปลอกเลื่อนตรงกับเส้นอ้างอิงมากที่สุด นำ 49 คูณกับ 0.01 จะได้ 49 x 0.01 mm = 0.49 mm
              3) นำค่าบนสเกลหลักและค่าบนปลอกเลื่อนมารวมกันจะได้คำตอบดังนี้
               ค่าที่อ่านได้     =  ค่าบนสเกลหลัก + ค่าบนปลอกเลื่อน
                                               =  10.00 mm + 0.49 mm
    เพราะฉะนั้นค่าที่อ่านได้      =  10.49 mm
ข้อสังเกต: ในการอ่านไมโครมิเตอร์วัดนอกถ้าขีดเลข 0 บนปลอกเลื่อนอยู่ใกล้เส้นอ้างอิงบนสเกลหลัก จะทำให้ไม่แน่ใจว่าขีดบนสเกล
หลักพ้นขอบปลอกเลื่อนหรือไม่ ดังนั้นให้สังเกตดังนี้
ถ้าขีดเลข 0 บนปลอกเลื่อนอยู่บนเส้นอ้างอิงของสเกลหลัก (ภาพ 4.19) แสดงว่ายังไม่พ้นขอบปลอกเลื่อนเพราะฉะนั้น ไม่ต้อง นำค่า 0.5 mm 
เข้ามารวม
ถ้าขีดเลข 0 บนปลอกเลื่อนอยู่ใต้เส้นอ้างอิงของสเกลหลัก (ภาพ 4.19) แสดงว่าพ้นขอบปลอกเลื่อนแล้วเพราะฉะนั้นต้องนำค่า 0.5 mm มา
รวมด้วย

ภาพ 4.19  ขีดเลข 0 บนปลอกเลื่อนอยู่บนเส้นอ้างอิงของสเกลหลัก

ภาพ 4.20  ขีดเลข 0 บนปลอกเลื่อนอยู่ใต้เส้นอ้างอิงของสเกลหลัก
5. ส่วนประกอบของไมโครมิเตอร์วัดใน
ไมโครมิเตอร์วัดใน (Inside Micrometer) เป็นเครื่องมือวัดละเอียดที่มีความละเอียดสูงใช้ในงานอุตสาหกรรมและงานซ่อมบำรุง
เครื่องยนต์เนื่องจากให้ค่าความละเอียดสูงและมีความแม่นยำมากกว่าเวอร์เนียร์คาลิเปอร์  ส่วนในงานวัดละเอียดช่างยนต์ ได้นำ
มาใช้เพื่อตรวจสอบขนาดของชิ้นงานและขนาดรูในชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ เพื่อเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานในคู่มือซ่อม
สำหรับเป็นข้อมูลวินิจฉัยในการตรวจซ่อมบำรุงชิ้นส่วนต่างๆ โดยปกติทั่วไปในงานช่างยนต์จะใช้ตรวจวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์
กลางของรูในชิ้นงาน เช่นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรูในก้านสูบและรูในชิ้นงานต่างๆ เป็นต้น

ภาพ 4.21  ไมโครมิเตอร์วัดใน 
ส่วนประกอบของไมโครมิเตอร์วัดใน  ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
           5.1 เขี้ยววัดลักษณะคล้ายกับเวอร์เนียร์คาลิเปอร์สำหรับวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางด้านในหรือรูในของชิ้นงาน (ภาพ 4.21 หมายเลข 1)
           5.2 ปุ่มล็อก (Thimble Lock) ทำหน้าที่ ยึดเขี้ยววัดไม่ให้เคลื่อนที่ออกจากปลอกเลื่อนเพื่อสะดวกในการอ่านค่า (ภาพ 4.21 หมายเลข 5)
           5.3 สเกลหลักหรือปลอกวัด (Sleeve) มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกสวมพอดีอยู่กับตัวโครงไมโครมิเตอร์สามารถหมุนปรับได้ที่ผิวของ
สเกลหลักจะมีเส้นขีดยาวตลอดในแนวนอนเรียกว่า เส้นอ้างอิง (Index Line) ด้านบนและด้านล่างของเส้นอ้างอิงจะมีขีดแบ่งช่องกำหนดค่า
ของสเกลหลัก (ภาพ 4.21 หมายเลข 2)
 5.4 ปลอกเลื่อนหรือปลอกหมุน (Thimble) มีลักษณะรูปทรงกระบอกสวมพอดีอยู่บนสเกลหลักสามารถเคลื่อนที่เข้าออกได้โดยที่ปลาย
ด้านในจะลาดเอียงและมีขีดแบ่งช่องเพื่อกำหนดค่า ส่วนด้านนอกจะพิมพ์ลายเพื่อสะดวกในการหมุนเข้าออกป้องกันการลื่น
(ภาพ 4.21 หมายเลข 3)
           5.5 หัวหมุนกระทบ (Ratchet stop) จะอยู่ด้านท้ายสุดของแกนวัด เมื่อหมุนปลอกเลื่อนเริ่มสัมผัสกับชิ้นงานแล้วให้ปรับเขี้ยววัดให้
สัมผัสชิ้นงานพอดีไม่เอียงและไม่แน่น จากนั้นจึงปรับหัวหมุนกระทบตามเข็มนาฬิกาจนมีเสียงดังประมาณ 2-3 แก๊ก (ภาพ 4.21 หมายเลข 4)
6. การใช้และบำรุงรักษาไมโครมิเตอร์วัดใน
6.1 การใช้ไมโครมิเตอร์วัดใน
6.1.1 ทำความสะอาดไมโครมิเตอร์วัดในโดยใช้ผ้าสะอาดอ่อนนุ่มเช็ดฝุ่นคราบสกปรกต่างๆ

ภาพ 4.22  ทำความสะอาดไมโครมิเตอร์วัดใน
 6.1.2 ปรับความเที่ยงตรงของไมโครมิเตอร์วัดใน โดยใช้แท่งมาตรฐาน (ภาพ 4.25) จากนั้นหมุนปลอกเลื่อนให้เขี้ยววัดสัมผัสกับแท่ง
มาตรฐานพอดีและหมุนปรับหัวหมุนกระทบให้ได้ยินเสียงดังประมาณ 2-3 แก๊ก (ภาพ 4.23) ปรับความเที่ยงตรงของไมโครมิเตอร์วัดใน
ขนาด 5-30 mm ซึ่งแท่งมาตรฐานที่ใช้มีขนาด 4.99 mm ให้สังเกตขีด 0 จะอยู่ก่อนถึงเลข 5 และตรงกับเส้นอ้างอิง 1 ขีดซึ่งเท่ากับ 4.99 mm 
ถ้าพบว่าขีดไม่ตรงกับเส้นอ้างอิงให้ทำการแก้ไขปรับตั้งให้ตรงด้วยประแจปรับตั้งคล้ายการปรับตั้งไมโครมิเตอร์วัดนอก (ภาพ 4.24)
เป็นการปรับความเที่ยงตรงของไมโครมิเตอร์วัดใน ขนาด 25-50 mm ซึ่งแท่งมาตรฐานที่ใช้มีขนาด 24.99 mm ให้สังเกตขีด 0 จะอยู่ก่อน
ถึงเลข 25 และตรงกับเส้นอ้างอิง 1 ขีดซึ่งเท่ากับ 24.99 mm ถ้าขีดไม่ตรงกับเส้นอ้างอิงให้แก้ไขให้ตรงด้วยประแจปรับตั้งคล้ายการปรับ
ตั้งไมโครมิเตอร์วัดนอก 
https://1.bp.blogspot.com/-PL0qgEfJUwE/XwLQM3tChII/AAAAAAAAJWU/_flTBU2jy6Q-65JmGyfvR5mgYnPhRw9RwCLcBGAsYHQ/s640/m4.23%2B%25282%2529.jpg
ภาพ 4.23  ปรับความเที่ยงตรงไมโครมิเตอร์วัดใน 5-30 mm
https://1.bp.blogspot.com/-QeMdnGDTeC0/XwLQSIlarPI/AAAAAAAAJWY/AxM7fuN5KYYmkGUBkaCkXW_UKMEUWg5ygCLcBGAsYHQ/s640/m4.24%2B%25282%2529.jpg
ภาพ 4.24  ปรับความเที่ยงตรงไมโครมิเตอร์วัดใน 25-50 mm
https://1.bp.blogspot.com/-4YuCFX3P-gQ/XwLQXSrzQzI/AAAAAAAAJWg/Edg2EgThK38Ookq088yjKsVVc2U3FMzSACLcBGAsYHQ/s640/m4.25%2B%25282%2529.jpg
ภาพ 4.25  แท่งมาตรฐานไมโครมิเตอร์วัดใน
6.1.3  หมุนปลอกเลื่อนให้เขี้ยววัดเลื่อนมาเกือบเริ่มสัมผัสผิวชิ้นงาน จากนั้นให้เปลี่ยนมาหมุนหัวหมุนกระทบจนมีเสียงดังประมาณ 
2-3 ครั้งและอ่านค่าไมโครมิเตอร์
6.1.4 เมื่ออ่านค่าไมโครมิเตอร์เรียบร้อยแล้ว ให้หมุนปลอกเลื่อนให้เขี้ยววัดเลื่อนออกจากผิวชิ้นงานและนำไมโครมิเตอร์ออกจากชิ้นงาน
6.2  วิธีการบำรุงรักษาไมโครมิเตอร์วัดใน
6.2.1 อย่านำไมโครมิเตอร์วัดงานที่ร้อนหรือชิ้นงานที่กำลังหมุนอยู่
6.2.2 ควรเก็บและวางไมโครมิเตอร์แยกออกจากเครื่องมือชนิดอื่น
          6.2.3 ก่อนนำไมโครมิเตอร์ออกจากชิ้น ต้องหมุนปลอกหมุนเลื่อนให้ปากไมโครมิเตอร์มีขนาดเล็กลงก่อนนำไมโครมิเตอร์ออกมา
          6.2.4 ก่อนเขี้ยววัดจะสัมผัสกับชิ้นงานให้หมุนปลอกเลื่อนช้าๆ และเมื่อเขี้ยววัดเริ่มสัมผัสกับชิ้นงานแล้วให้เปลี่ยนมาหมุนที่หัว
หมุนกระทบกระทั่งได้ยินเสียงดังประมาณ 2-3 แก๊ก
          6.2.5 เมื่อใช้งานไมโครมิเตอร์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องเช็ดทำความสะอาดและชโลมส่วนที่ขัดมันด้วยน้ำมันหล่อลื่นหรือวาสลีน
6.3  ข้อควรระวังการใช้ไมโครมิเตอร์วัดใน
           ไมโครมิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดละเอียด จึงจำเป็นต้องใช้อย่างระมัดระวังดังนี้
          6.3.1 อย่าใช้วัดชิ้นงานที่มีผิวหยาบไม่เรียบ
         6.3.2 เลือกใช้ไมโครมิเตอร์ให้เหมาะสมกับขนาดของชิ้นงานที่ต้องการจะตรวจวัด
          6.3.3 ระวังอย่าให้ไมโครมิเตอร์ตกหล่นหรือโดนกระทบกระเทือน
          6.3.4 ห้ามหมุนปลอกเลื่อนแน่นเกินไป เพราะจะทำให้ไมโครมิเตอร์เสียหาย
7. การอ่านค่าไมโครมิเตอร์วัดใน
   7.1  การแบ่งขีดสเกล
 7.1.1 ค่าบนสเกลหลัก จากภาพ 4.26 ค่าความละเอียด 0.01 mm ค่าบนสเกลหลักด้านบน 1 ช่องมีค่าเท่ากับ 1 mm  ส่วน 1 ช่องด้าน
ล่างบนสเกลหลักจะอยู่กึ่งกลางของช่องด้านบน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.5 mm (หรือเท่ากับ 1 รอบของปลอกเลื่อน)
          7.1.2 ค่าบนปลอกเลื่อน ภาพ 4.26 บนปลอกเลื่อนจะแบ่งรอบบริเวณขอบเอียงๆ ออกเป็น 50 ช่อง
https://1.bp.blogspot.com/-5w0PoQtoz5Q/XwLQd9dx_4I/AAAAAAAAJWo/fglI2DouFbItqlA8L8ed7STx-2fC-cSIgCLcBGAsYHQ/s640/m4.26%2B%25282%2529.jpg
ภาพ 4.26  การแบ่งขีดสเกลของไมโครมิเตอร์วัดใน
 7.2  หลักการอ่านค่าไมโครมิเตอร์วัดใน
 คล้ายกับการอ่านค่าไมโครมิเตอร์วัดนอกแต่จะแตกต่างกันที่ทิศทางการอ่านค่าเนื่องจากไมโครมิเตอร์วัดนอกขีดเลข 0 จะอยู่ด้าน
ซ้ายสุดของสเกล ส่วนไมโครมิเตอร์วัดในขีดเลข 0 จะอยู่ด้านขวาสุดของสเกลดังนี้
7.2.1 อ่านค่าจำนวนเต็มซึ่งอยู่ด้านบนของสเกลหลักก่อน และอ่านค่าด้านล่างของสเกลหลัก
7.2.2 จากนั้นอ่านค่าจากปลอกเลื่อน
7.2.3 นำค่าจากสเกลหลักและปลอกเลื่อนมารวมกัน
7.2.4 ตัวอย่างการอ่านค่าไมโครมิเตอร์วัดใน
 1) อ่านค่าบนสเกลหลัก ภาพ 4.27 ขอบปลอกเลื่อนหมุนผ่านขีดสเกลหลักไป 22 ขีด ดังนั้นอ่านค่าด้านบนสเกลหลักได้เท่ากับ 
22.00 mm ขีดล่างสเกลหลักพ้นขอบของปลอกเลื่อนซึ่งหมายถึงเลยครึ่งมาแล้ว ดังนั้นจะต้องนำ 0.5 mm  มาบวกกับค่าของ
ด้านบนสเกลหลักด้วย (แต่ถ้าขีดล่างไม่พ้นขอบปลอกเลื่อนไม่ต้องนำค่ามารวม)
เพราะฉะนั้นค่าบนสเกลหลัก    
                          =  ค่าด้านบนสเกลหลัก + ค่าด้านล่างสเกลหลัก
                          =  22.00 mm + 0.5 mm
                          =  22.50  mm
https://1.bp.blogspot.com/-cjFgJXwl0MY/XwLQixWHZSI/AAAAAAAAJWw/l_9BjKxbzi0Ty9dewQVWW0gzo-hpE4wQQCLcBGAsYHQ/s640/m4.27%2B%25282%2529.jpg
ภาพ 4.27  ตัวอย่างการอ่านค่าไมโครมิเตอร์วัดใน
                    2)  อ่านค่าบนปลอกเลื่อน จากภาพเส้นอ้างอิงบนสเกลหลักตรงกับขีดที่ 2 ซึ่งหมายถึง (2 x 0.01 mm = 0.02 mm)
   3)  นำค่าบนสเกลหลัก  และค่าบนปลอกเลื่อนมารวมกันจะ
ได้คำตอบซึ่งมีค่าเท่ากับ    
                          =  ค่าบนสเกลหลัก + ค่าบนปลอกเลื่อน
=  22.50 mm + 0.02 mm
=  22.52 mm
https://1.bp.blogspot.com/-dVIucrCAlx0/XwLQoemFUKI/AAAAAAAAJW0/GgHAKzWNWjo8L-rOUn6JkPcDOKhIa56OACLcBGAsYHQ/s640/m4.28.jpg
ภาพ 4.28  ตัวอย่างที่ 2 การอ่านค่าไมโครมิเตอร์วัดใน

           1) อ่านค่าบนสเกลหลัก ภาพ 4.28 ขอบปลอกเลื่อนหมุนผ่านขีดสเกลหลักไป 48 ขีดดังนั้นอ่านค่าด้านบนสเกลหลักได้เท่ากับ 
48.00 mm ขีดล่างสเกลหลักพ้นขอบของปลอกเลื่อนซึ่งหมายถึงเลยครึ่งมาแล้ว ดังนั้นจะต้องนำ 0.5 mm มาบวกกับค่าของด้านบน
สเกลหลักด้วย เพราะฉะนั้นค่าบนสเกลหลัก     
                          =  ค่าด้านบนสเกลหลัก + ค่าด้านล่างสเกลหลัก
                          =  48.00 mm + 0.5 mm
                          =  48.50 mm

  2)  อ่านค่าบนปลอกเลื่อน จากภาพเส้นอ้างอิงบนสเกลหลักตรงกับขีดที่ 10 ซึ่งหมายถึง (10 x 0.01 mm = 0.10 mm)
          3)  นำค่าบนสเกลหลัก  และค่าบนปลอกเลื่อนมารวมกันจะได้เป็นคำตอบซึ่งมีค่าเท่ากับ
                                      =  ค่าบนสเกลหลัก + ค่าบนปลอกเลื่อน
=  48.50 mm + 0.10 mm
=  48.60 mm8. ส่วนประกอบของไมโครมิเตอร์วัดลึก
ไมโครมิเตอร์วัดลึก (Depth Micrometer) เป็นเครื่องมือที่มีค่าความละเอียดสูงเท่ากับไมโครมิเตอร์ที่กล่าวมาแล้วทั้ง 2 ชนิด โดยในงานวัดละเอียด
ช่างยนต์ ได้นำมาใช้เพื่อตรวจสอบขนาดความลึกของชิ้นส่วนต่างๆ เช่นความลึกของรูในชิ้นส่วน
https://1.bp.blogspot.com/-f_4Y3JJRRlU/XwLQt9-S5GI/AAAAAAAAJW4/YuW3YqaFsNgJZl3HVD3jjz6Rb490jkoYQCLcBGAsYHQ/s640/m4.29%2B%25283%2529.jpg
ภาพ 4.29  ไมโครมิเตอร์วัดลึก

ไมโครมิเตอร์วัดลึก ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
          8.1 ก้านวัดลึก (Spindle) ลักษณะเป็นแกนวัด สามารถเปลี่ยนขนาดได้ตามความลึกของชิ้นงานโดยมีขนาดเริ่มจาก 0-25 mm, 25-50
mm, 50-75 mm และ 75-100 mm
          8.2 ผิวประกบหรือสะพานยัน (Surface missiles) ทำหน้าที่เหมือนแท่นระดับประกบแนบกับขอบบนของชิ้นงานที่ต้องการวัด
          8.3 ปุ่มล็อก (Thimble Lock) หน้าที่ ยึดแกนก้านวัดลึกไม่ให้เคลื่อนที่จากปลอกเลื่อน
         8.4 สเกลหลักหรือปลอกวัด (Sleeve) มีลักษณะเป็นทรงกระบอกสวมอยู่กับโครงสามารถปรับหมุนได้ที่ผิวสเกลหลักจะมีเส้นขีดยาว
ในแนวนอน เรียกว่า เส้นอ้างอิง (Index Line) ด้านบนและด้านล่างของเส้นอ้างอิงจะมีขีดแบ่งช่องเพื่อกำหนดค่าของสเกลหลัก
           8.5 ปลอกเลื่อนหรือปลอกหมุนวัด (Thimble) มีลักษณะเป็นทรงกระบอกสวมอยู่บนสเกลหลักและสามารถเคลื่อนที่เข้าออกได้
ที่ปลายด้านในจะลาดเอียงและมีขีดแบ่งช่องเพื่อกำหนด ค่าส่วนด้านนอกจะพิมพ์ลายเพื่อสะดวกในการหมุนเข้าออก
           8.6 หมวกปลอกหมุน (Turn the lock casing) ใช้สำหรับจับยึดก้านวัดลึกซึ่งจำเป็นต้องเปลี่ยนขนาดความยาวของก้านวัดลึกให้
เหมาะสมกับขนาดความลึกของชิ้นงาน
           8.7 หัวหมุนกระทบ (Ratchet stop) จะอยู่ด้านท้ายสุดของแกนวัด เมื่อหมุนปลอกเลื่อนเริ่มสัมผัสผิวชิ้นงานให้ตรวจสอบแกนวัด
สัมผัสชิ้นงานพอดีไม่ตึงเกินไป และหมุนปรับหัวหมุนกระทบตามเข็มนาฬิกา จนได้ยินเสียงดังประมาณ 2-3 แก๊กหยุดหมุน

9.  การใช้และการบำรุงรักษาไมโครมิเตอร์วัดลึก  

    9.1  การใช้ไมโครมิเตอร์วัดลึก
 9.1.1 ทำความสะอาดไมโครมิเตอร์วัดลึก (ภาพ 4.30) โดยใช้ผ้าสะอาดที่อ่อนนุ่มเช็ดฝุ่นคราบ สกปรกบนไมโครมิเตอร์วัดลึกด้วยความระมัดระวัง
https://1.bp.blogspot.com/-CbPfDIkvVug/XwLQzN4iwtI/AAAAAAAAJXA/QV7MqDl6VpQr_KASAtsEjs9WTCyh_2fIQCLcBGAsYHQ/s400/m4.30%2B%25282%2529.png
ภาพ 4.30  ทำความสะอาดไมโครมิเตอร์วัดลึก

          9.1.2 ปรับความเที่ยงตรงของไมโครมิเตอร์วัดลึก คือการปรับตำแหน่งเลขศูนย์ “0” ของปลอกเลื่อนให้ตรงกับเส้นอ้างอิง ก่อนใช้งาน
ไมโครมิเตอร์ทุกครั้งต้องมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงของไมโครมิเตอร์ถ้าพบว่าไม่ตรงให้ทำการปรับความเที่ยงตรงก่อนการใช้งาน
ทุกครั้ง วิธีการปรับให้ใช้ตัวปรับความเที่ยงตรงของไมโครมิเตอร์วัดลึก (ภาพ 4.31) จากนั้นถอดหมวกปลอกหมุน (ภาพ 4.29 หมายเลข 6)
ประกอบก้านวัดขนาด 0-25 mm เข้ากับไมโครมิเตอร์วัดลึกและประกอบตัวปรับความเที่ยงตรง หมุนปลอกเลื่อนและหัวหมุนกระทบและ
สังเกตขีด “0” ต้องตรงกับเส้นอ้างอิงและขีด “0” ถ้าไม่ตรงให้ปรับด้วยประแจปรับตั้งคล้ายการปรับตั้งไมโครมิเตอร์วัดนอก

https://1.bp.blogspot.com/-Ut_Ea78m4KA/XwLQ41YsLiI/AAAAAAAAJXI/2QBar7oCL-IazCye5twkgrkfN1m2dQujgCLcBGAsYHQ/s640/m4.31.jpg
ภาพ 4.31  การตรวจสอบความเที่ยงตรงของไมโครมิเตอร์วัดลึก
9.1.3  ตรวจสอบความลึกของชิ้นงานในเบื้องต้นด้วยบรรทัดเหล็ก เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาเลือกก้านวัดลึกให้เหมาะสมกับ
ขนาดความลึกของชิ้นงาน
9.1.4  ประกอบก้านวัดลึกเข้ากับไมโครมิเตอร์วัดลึก จากนั้นวางผิวประกบหรือสะพานยันของไมโครมิเตอร์วัดลึกบนขอบของชิ้น
งานที่ต้องการวัดออกแรงกดให้ผิวประกบสนิทกับชิ้นงานอย่าให้เอียง
9.1.5  หมุนปลอกเลื่อนในทิศทางตามเข็มนาฬิกาเพื่อให้ก้านวัดลึกเลื่อนมาเริ่มสัมผัสกับส่วนลึกของผิวชิ้นงาน (การหมุนปลอกเลื่อน
ระหว่างไมโครมิเตอร์วัดนอกกับไมโครมิเตอร์วัดลึกจะแตกต่างกันในส่วนของทิศทางการหมุน)
9.1.6  จากนั้นหมุนหัวหมุนกระทบให้ก้านวัดลึกสัมผัสกับความลึกของชิ้นงานและมีเสียงดังประมาณ 2-3 แก๊กและอ่านค่าไมโครมิเตอร์
วัดลึก

 9.2  วิธีการบำรุงรักษาไมโครมิเตอร์วัดลึก
9.2.1  อย่านำไมโครมิเตอร์วัดงานที่ร้อนหรือชิ้นงานที่กำลังหมุนอยู่
9.2.2  ควรเก็บและวางไมโครมิเตอร์แยกออกจากเครื่องมือชนิดอื่น
9.2.3  นำไมโครมิเตอร์วัดงานที่ละเอียดจริงๆ เท่านั้นอย่านำไปวัดเล่น
9.2.4  ต้องทำความสะอาดก้านวัดลึก ก่อนประกอบเข้ากับตัวไมโครมิเตอร์
9.2.5  เมื่อใช้งานไมโครมิเตอร์วัดลึกเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ถอดก้านวัดลึกออก ทำความสะอาดและชโลมส่วนที่ขัดมันด้วย
วาสลีนหรือน้ำมันหล่อลื่น
และเก็บใส่กล่อง

     9.3  ข้อควรระวังการใช้ไมโครมิเตอร์วัดลึก
9.3.1  อย่าใช้ไมโครมิเตอร์วัดลึกวัดชิ้นงานที่มีผิวหยาบไม่เรียบ
9.3.2  ห้ามเลื่อนไมโครมิเตอร์วัดลึกไปมาบนชิ้นงาน เพื่ออ่านค่าเพราะจะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนและเสียหายแก่ไมโครมิเตอร์วัดลึกได้
9.3.3  เลือกใช้ไมโครมิเตอร์วัดลึกให้เหมาะสมกับขนาดของชิ้นงานที่ต้องการจะตรวจวัด
9.3.4  ระวังอย่าให้ไมโครมิเตอร์วัดลึกตกหล่นหรือโดนกระทบกระเทือน
9.3.5  อย่าหมุนปลอกเลื่อนแน่นเกินไป เพราะจะทำให้ไมโครมิเตอร์วัดลึกเสียหาย
9.3.6  ขณะที่ใช้ไมโครมิเตอร์วัดลึกตรวจวัดชิ้นงาน ผิวประกบหรือสะพานยันต้องอยู่ในระดับเดียวกับขอบชิ้นงาน ห้ามเอียงโดยเ
ด็ดขาด
9.3.7  หากต้องการจะเปลี่ยนจุดวัด ให้ยกผิวประกบหรือสะพานยันขึ้นเลื่อนไปจุดใหม่ ห้ามลากหรือเลื่อนไปมาเด็ดขาด

10.  การอ่านค่าไมโครมิเตอร์วัดลึก
10.1  การแบ่งขีดสเกล
https://1.bp.blogspot.com/-1j4_ki46ycQ/XwLQ-pKkhRI/AAAAAAAAJXM/EjWb2NTnkww1SHs8CL4yJXVd2YSn7yYFQCLcBGAsYHQ/s640/m4.32.jpg
ภาพ 4.32  การแบ่งขีดสเกลของไมโครมิเตอร์วัดลึก
10.1.1 ค่าบนสเกลหลัก จากภาพ 4.32 ค่าความละเอียด 0.01 mm ซึ่งค่าบนสเกลหลักด้านล่าง 1 ช่องมีค่าเท่ากับ 1 mm ส่วน 1 ช่องด้าน
บนสเกลหลักจะอยู่ตรงกึ่งกลางของช่องด้านล่างซึ่งจะมีค่าครึ่งหนึ่งหรือเท่ากับ 0.5 mm (หรือมีค่าเท่ากับ 1 รอบของปลอกเลื่อน)
10.1.2 ค่าบนปลอกเลื่อน  จากภาพ 4.32 บนปลอกเลื่อนจะแบ่งรอบบริเวณขอบเอียงๆ ออกเป็น 50 ช่อง
10.2  การอ่านค่าไมโครมิเตอร์วัดลึก
    การอ่านค่าไมโครมิเตอร์วัดลึกไม่เหมือนกับการอ่านค่าไมโครมิเตอร์วัดนอก เนื่องจากสเกล
หลักบนล่างค่าสลับกันและทิศทางการอ่านค่าก็แตกต่างกัน ดังนี้
10.2.1 อ่านค่าจำนวนเต็มซึ่งอยู่ด้านล่างของสเกลหลักก่อน และอ่านค่าด้านบนของสเกลหลัก
10.2.2 จากอ่านค่าจากปลอกเลื่อน
10.2.3 นำค่าจากสเกลหลักและปลอกเลื่อนมารวมกัน
10.2.4  ตัวอย่างการอ่านค่าไมโครมิเตอร์วัดลึก
https://1.bp.blogspot.com/-VU3-unICME8/XwLRQDA7z4I/AAAAAAAAJXc/I_zqhRUD8n0xEqTW5i0NvHsu70MHyZemQCLcBGAsYHQ/s640/m4.33%2B%25282%2529.jpg
ภาพ 4.33  ตัวอย่างการอ่านค่าไมโครมิเตอร์วัดลึก
1)     อ่านค่าที่สเกลหลัก ภาพ 4.33 ขอบปลอกเลื่อนหมุนผ่านขีดด้านล่างสเกลหลักไป 19 ขีดดังนั้นอ่านค่าด้านล่างสเกลหลักได้เท่ากับ
 19.00 mm และขอบปลอกเลื่อนด้านบนสเกลหลักยังไม่พ้นขีดแบ่งครึ่งกลางซึ่งหมายถึงยังไม่เลยครึ่ง ดังนั้นไม่ต้องนำค่า 0.5 mm มา
บวกเพราะฉะนั้นค่าบนสเกลหลัก     
                              =  ค่าด้านล่างสเกลหลัก + ค่าด้านบนสเกลหลัก
                              =  19.00 mm + 0 mm
                              =  19.00 mm
2)  อ่านค่าบนปลอกเลื่อน ภาพ 4.33 เส้นอ้างอิงบนสเกลหลักตรงกับขีดที่ 2 ซึ่งหมายถึง(2 x 0.01 mm = 0.02 mm)
3)  นำค่าบนสเกลหลักและค่าบนปลอกเลื่อนมารวมกัน  จะได้คำตอบซึ่งมีค่าเท่ากับ   
                 =  ค่าที่สเกลหลัก + ค่าบนปลอกเลื่อน
=  19.00 mm + 0.02 mm
=  19.02 mm
https://1.bp.blogspot.com/-7dL2cza0BKs/XwLRVV35etI/AAAAAAAAJXg/7x1H0G5OdZ8JVhxVKOlmJ1RM79jK2QgQwCLcBGAsYHQ/s640/m4.34.jpg
ภาพ 4.34  ตัวอย่างการอ่านค่าไมโครมิเตอร์วัดลึกขนาด 25-50 mm
1) อ่านค่าที่สเกลหลัก ภาพ 4.34 ขอบปลอกเลื่อนหมุนผ่านขีดด้านล่างสเกลหลักไป 21 ขีดมีค่าเท่ากับ 21.00 mm แต่เนื่องจากเป็นไมโครมิเตอร์ขนาด 25-50 mm หมายความว่าค่าเริ่มต้นของการวัดคือ 25 mm ดังนั้นต้องนำ 25 ไปรวมกับค่าที่อ่านได้เพราะฉะนั้นค่าที่ได้จากด้านล่างสเกลหลักจริงคือ 21.00 mm + 25.00 mm = 46.00 mm จากนั้นให้อ่านค่าที่สเกลหลัก ซึ่งขอบปลอกเลื่อนด้านบนสเกลหลักเลขขีดแบ่งครึ่งกลางซึ่งหมายถึงเลยครึ่งมาแล้วจึ
งต้องนำค่า 0.5 mm มาบวก
เพราะฉะนั้นค่าที่สเกลหลัก   
                               =  ค่าด้านล่างสเกลหลัก + ค่าด้านบนสเกลหลัก 
                               =  46.00 mm + 0.50 mm
                               =  46.50 mm
2)  อ่านค่าบนปลอกเลื่อน ภาพ 4.34 เส้นอ้างอิงบนสเกลหลักตรงกับขีดที่ 45 ซึ่งหมายถึง (45 x 0.01 mm = 0.45 mm)
3)  นำค่าที่สเกลหลักและค่าบนปลอกเลื่อนมารวมกันจะได้คำตอบซึ่งมีค่าเท่ากับ   
                   =  ค่าที่สเกลหลัก + ค่าบนปลอกเลื่อน
                   =  46.50 mm + 0.45 mm
                  =  46.95 mm
ข้อสังเกต: ถ้าใช้ไมโครมิเตอร์วัดลึกขนาด 25-50 mm ให้ใช้ 25.00 เป็นค่าเริ่มต้นบวกเพิ่มเข้าไป
   ถ้าใช้ไมโครมิเตอร์วัดลึกขนาด 50-75 mm ให้ใช้ 50.00 เป็นค่าเริ่มต้นบวกเพิ่มเข้าไป
   ถ้าใช้ไมโครมิเตอร์วัดลึกขนาด 75-100 mm ให้ใช้ 75.00 เป็นค่าเริ่มต้นบวกเพิ่มเข้าไป

hit counter