1. แนวคิดของธุรกิจ
      วิทยาลัยการอาชีพสตึก  เป็นสถานศึกษาที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์                                 มีจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา ประมาณ 87 คน  และจำนวนนักเรียนนักศึกษา ประมาณ 1,600 คน ในจำนวนครูและบุคลากร
  ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่อยู่ในวัยทำงาน ซึ่งค่อนข้างมีเวลาในการออกกำลังกายน้อย  เนื่องจากส่วนใหญ่ต้องทำงาน  จึงมีเวลาในการดูแลตนเองน้อยลง 
  ธุรกิจสตึกอีซี่ชอร์ป ได้เล็งเห็นช่องทางที่ก่อให้เกิดรายได้ และช่วยให้สุขภาพของบุคลากรในสถานศึกษาดีขึ้น  จึงได้จัดตั้งธุรกิจนวดแผนไทยขึ้น                 
  โดยได้รับการพัฒนาทักษะการนวด โดยงบประมาณครูคลังสมอง  สถานศึกษาได้จัดอบรมการนวดตัวและนวดกดจุดฝ่าเท้า
  ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากครูอาจารย์ที่สนใจในการใช้บริการ  โดยนักเรียนนักศึกษาที่ผ่านการฝึกอบรม  ได้มีการทดลองออกให้บริการนวด  ระหว่างนั้น 
  ได้มีการสอบถามความพึงพอใจ และความต้องการในการนวด  ส่วนใหญ่ต้องการให้มีการบริการนวดในสถานศึกษา 
รวมถึง การออกให้บริการในโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน  อำเภอเคลื่อนที่  กิจกรรมชุมชนรอบค่าย  และงานประเพณีแข่งเรือยาว วิทยาลัยการอาชีพสตึก ได้นำนักเรียนนักศึกษา ออกให้บริการนวดฝ่าเท้า  ซึ่งประชาชนบุคคลทั่วไปให้ความสนใจเป็นอย่างมาก  โดยในช่วงนั้น เป็นการทดลองให้บริการ บริการฟรี  ส่วนลูกค้าหรือประชาชน จะให้เป็นสินน้ำใจสำหรับนักเรียนนักศึกษาก็ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ 
จากผลสะท้อนของการให้บริการ ในกิจกรรมต่างๆ  จึงเกิดเป็นธุรกิจสตึกอีซี่ชอร์ปขึ้น  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นธุรกิจของสถานศึกษา ตามโครงการหนึ่งวิทยาลัยฯ หนึ่งการบริการ (One College One Service)   เป็นการเสริมสร้างการประกอบธุรกิจในสถานศึกษา  ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการใหม่ นักศึกษามีรายได้ระหว่างเรียน และใช้เป็นแผนการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โดยมีเป้าหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจน คือ การให้บริการนวดแผนไทยและเสริมสร้างความมั่นคงในการทำธุรกิจ ด้วยการประมาณการรายได้ในการให้บริการ และมีการเพิ่มรายได้โดยการให้บริการแก่ประชาชนภายนอกในช่วงเทศกาลหรือกิจกรรมต่างๆ เช่น งานประเพณีแข่งเรือยาวอำเภอสตึก และงานอื่นๆ ที่หน่วยงานราชการอื่นๆ จัดขึ้น 

 

2. การวิเคราะห์สถานการณ์
การวิเคราะห์ทางธุรกิจ ได้มีการวิเคราะห์โดยใช้ SWOT Analysis ดังนี้


2.1 จุดแข็ง (STRENGTH)

2.2 จุดอ่อน (WEAKNESS)

1. ทำเลที่ตั้งเหมาะสมใกล้กลุ่มเป้าหมาย
2. ผู้ให้บริการเป็นนักเรียนนักศึกษาย่อมได้รับเอ็นดูจากกลุ่มเป้าหมาย
3. มีการออกให้บริการภายนอกในช่วงเทศกาลสำคัญ
4. อัตราค่าบริการที่ถูกกว่าคู่แข่ง
5. มีภาพลักษณ์ที่ดีต่อบุคคลภายนอก

1. งบประมาณในการขยายกิจการไม่เพียงพอ
2. ข้อจำกัดด้านระยะเวลาในการเปิดให้บริการ เนื่องจากเป็นสถานศึกษาที่ให้บริการเฉพาะเวลาราชการเท่านั้น
3. เงินทุนหมุนเวียนน้อยกว่าคู่แข่ง
4. ประสบการณ์ของผู้ให้บริการน้อย
5. ไม่สามารถให้คำแนะนำหรือปรึกษาเรื่องปัญหาการปวดเมื่อยในเชิงลึกได้

2.3 โอกาส (OPPORTUNITY)

    • อุปสรรค (THREAT)

1. วิทยาลัยฯ  ให้การสนับสนุนเชิญผู้เชี่ยวชาญมาฝึกอบรมให้กับผู้ให้บริการ
2. ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
3. แนวโน้มธุรกิจสามารถเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง4. สภาพเศรษฐกิจมีโอกาสดีขึ้นเนื่องจากจังหวัดมีแนวโน้มพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

1. เวลาในการบริการภายในวิทยาลัยฯ มีเวลาจำกัดเฉพาะเวลาเปิดภาคเรียน
2. ลูกค้าส่วนใหญ่มีเฉพาะครู อาจารย์
3. มีคู่แข่งภายนอกที่มีเงินทุนและประสบการณ์มากกว่า

3. การดำเนินงานและกระบวนการให้บริการ

3.1 บทบาทหน้าที่ของแต่ละบุคคล
       1.นางสาวนริน   ยิงรัมย์       ตำแหน่ง ผู้จัดการ 
มีหน้าที่  วางแผนการดำเนินงานธุรกิจและการจัดระบบการดำเนินงาน ประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ดูแลการบริหารจัดการ ควบคุม ตรวจสอบพนักงาน และผลการดำเนินงานของกิจการ พร้อมทั้งนำปัญหา หรือข้อบกพร่องมาหาแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุงอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างทันท่วงทีและดูแลสภาพทั่วไปของกิจการ
2. นางสาวรัตนา เหล่าสีชัย   ตำแหน่ง การเงิน
มีหน้าที่  ดูแลบริหารจัดการด้านการเงินให้เงินสดอยู่ในสภาพคล่อง ดูแลการเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน สรุปยอดเงินประจำวัน รวมไปถึงการจัดเก็บเอกสารทางการเงินอย่างเป็นระบบ
3. นางสาวศิริวรรณ    พอกพูน             ตำแหน่ง จัดซื้อ
มีหน้าที่     ดูแลบริหารจัดการด้านการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในการนวด รวมถึงการจัดซื้ออย่างคุ้มค่า และจัดเก็บวัสดุ อุปกรณ์ในการนวด
4. นางสาวสุธิดา  ราชธรรมมา              ตำแหน่ง  ฝ่ายบริการ
มีหน้าที่   ดูแลและบริหารจัดการด้านบริการ จัดตารางการนวด  การให้บริการนวดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจ
5. นางสาวนริศรา กิจจา              ตำแหน่ง ประชาสัมพันธ์/การตลาด
มีหน้าที่  ดูแลและบริหารจัดการด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน หรือบุคคลทั่วไปได้รับทราบ  รวมถึงจัดส่งเสริมการตลาดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้บริการ
3.3 ลักษณะการบริการงาน
ในด้านการบริหารงานมีลักษณะเป็นการกระจายอำนายตามฝ่ายงาน โดยมีนายวิรัตน์ โยยรัมย์ เป็นผู้จัดการ มีอำนาจในการบริหารจัดการ โดยจะมีแบบประเมินความพึงพอใจหลักจากให้บริการแล้ว เพื่อหาข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำ ข้อติชมจากลูกค้าในการให้บริการในการนำไปปรับปรุงหรือพัฒนาการให้บริการครั้งต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
3.4 กระบวนการจัดซื้อและให้บริการ
       กระบวนการวางแผนในการจัดซื้อวัสดุ-อุปกรณ์ในการนวด  โดยวางแผนและควบคุมจากข้อมูลการให้บริการ เพื่อให้มีปริมาณวัสดุที่เพียงพอต่อการให้บริการ และวัสดุไม่คงค้างในสต็อกมากเกินไป  ซึ่งจะทำให้เงินทุนหมุนเวียนจมไปในวัสดุ  ใช้ระบบการบันทึกวัสดุแบบเข้าก่อน-ออกก่อน (FIFO First in – Frist out)
สำหรับการให้บริการ เน้นการบริการที่ดี  สุภาพและเป็นกันเองกับลูกค้า  ให้ความสำคัญกับลูกค้า โดยเน้นที่ความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก  มีการสอบถามความพึงพอใจและความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ เน้นการบริการที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ เพิ่มคุณภาพการให้บริการ โดยมีเครื่องดื่มร้อน ๆ  หลังจากการให้บริการ  โดยสรุปขั้นตอนการให้บริการ ดังนี้
1. พนักงานต้อนรับ สอบถามรายละเอียดลูกค้า และบันทึกประวัติของลูกค้าในแบบบันทึกข้อมูลประวัติการใช้บริการลูกค้า
2. พนักงานต้อนรับแจกบัตรคิวเมื่อบันทึกประวัติเรียบร้อย กรณีมีลูกค้าหลายราย และเชิญลูกค้าที่ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า และนั่งรอขานชื่อตามบัตรคิว
3. พนักงานนวดตรวจสอบแบบบันทึกประวัติลูกค้าเพื่อทราบรายละเอียดการใช้บริการและนำลูกค้าไปที่เตียงนวดพร้อมกับแบบบันทึกประวัติ
4. พนักงานนวดสอบถามรายละเอียดการนวดอีกครั้งและแนะนำตัวเอง และขออนุญาตลูกค้านวดตามที่ลูกค้าต้องการ
5. เมื่อนวดเสร็จให้ลูกค้าพักประมาณ 10-15 นาที แล้วจึงปลุกลูกค้าให้ลุกจากเตียงนวด เพื่อจิบชาร้อน ช่วงนี้พนักงานนวดจะบันทึกการนวดและลงชื่อผู้นวด
6. ลูกค้าเปลี่ยนเสื้อผ้าและถือแบบบันทึกประวัติการนวดมาที่เคาน์เตอร์พนักงานต้อนรับ เพื่อชำระค่าบริการ และกรอกแบบสอบถามความพึงพอใจในการให้บริการ

4. แผนการตลาด
4.1  คู่แข่ง แบ่งเป็น คู่แข่งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
4.1.1 ชื่อคู่แข่งขันทางตรง  ชมรมนวดแผนไทยกลุ่มแม่บ้านตำบลสตึก
4.1.2 ชื่อคู่แข่งขันทางอ้อม  ร้านเสริมสวยที่มีบริการนวดหน้า นวดสปา
เช่น  ร้านมะปรางบิวตี้
4.2  ข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบของธุรกิจที่มีต่อคู่แข่ง


บริการ (ของตนเอง)

บริการ(ของคู่แข่ง)

ข้อดี
1. บริการถูกกว่าคู่แข่ง
2. มีการส่งเสริมการตลาดโดยเน้นความพึงพอใจของลูกค้า
3. อยู่ใกล้กลุ่มเป้าหมายในวิทยาลัยฯ
4. เน้นความสะอาด

ข้อดี
1. บริการหลากหลายกว่า
2. มีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายและมีจำนวนมาก
3. มีเงินทุนสูงกว่า

ข้อเสีย
1. ประเภทการบริการมีจำกัด ไม่ค่อยมีความหลากหลายในด้านการบริการ

ข้อเสีย
1. คิดค่าบริการเพิ่มเติมตามชั่วโมงการบริการ
2. ไม่ค่อยมีการส่งเสริมการตลาด

4.3  กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ใช้บริการ
ช่วงเปิดภาคเรียน กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือ  ครู อาจารย์ และนักเรียนนักศึกษา และประชาชนบุคคลทั่วไป
4.4  รายละเอียดลักษณะการบริการ


บริการ

ลักษณะเด่น

1.นวดกดจุดสะท้อนเท้า

1.ราคาถูก

2. นวดตัว(แผนไทย)

2.เป็นศูนย์การเรียนรู้ให้แก่ผู้สนใจทั้งภายในและภายนอก

 

3. นักศึกษามีความตั้งใจในการให้บริการ

 

 

4.5 การบริการ
ตารางแสดงรายได้การให้บริการ ประจำปีงบประมาณ 2557


รายการ

พฤษภาคม

มิถุนายน

กรกฏาคม

สิงหาคม

กันยายน

รายได้ค่าบริการ

249

251

498

945

795

 

 

 

 

 

 

รวม

249

251

498

945

795

จาก ตารางแสดงยอดรวมจากการให้บริการ มียอดการให้บริการ จำนวน 5  เดือน ได้แก่ เดือนพฤษภาคมมีรายได้  249 บาท   เดือนมิถุนายน มีรายได้ 251 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม จำนวน 2 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.80   เดือนกรกฏาคมมีรายได้ 498 บาท เพิ่มจากเดือนมิถุนายน จำนวน 247 บาท คิดเป็นร้อยละ 98.41  เดือนสิงหาคม มีรายได้ 945 บาท เพิ่มจากเดือนกรกฏาคม จำนวน 447 บาท คิดเป็นร้อยละ 89.76 และเดือนกันยายน มีรายได้ 795 บาท  มีรายได้ลดลงจากเดือนสิงหาคม จำนวน 150 บาท คิดเป็นร้อยละ 15.87
4.6 การส่งเสริมการตลาด  เช่น  การโฆษณา ประชาสัมพันธ์
มีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ โดยปิดประกาศ  เสียงตามสาย และประชาสัมพันธ์ในกิจกรรมหน้าเสาธง  และทำหนังสือเวียนให้ครู อาจารย์ทราบ

5. การเงิน
ธุรกิจสตึกอีซี่ชอร์ป ดำเนินธุรกิจโดยได้รับทุนจากโครงการหนึ่งวิทยาลัยฯ หนึ่งการบริการ จำนวนเงิน 58,530 บาท
5.1 การบริการ  มีกระบวนการวางแผนในด้านการจัดซื้อวัสดุ  โดยวางแผนและควบคุมจากข้อมูลการให้บริการในอดีตมาจัดทำเป็นงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุ เพื่อให้วัสดุมีความเพียงพอในการให้บริการ และเงินทุนไม่จมในส่วนของวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ
สำหรับแผนการให้บริการ เน้นการบริการที่ดี สุภาพ ให้ความสำคัญแก่ลูกค้า เน้นความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก มีการสอบถามความพึงพอใจและความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ เน้นความสะอาด และสุขอนามัยที่ดีของลูกค้า


การบริการ

ค่าบริการ

ค่าบริการคู่แข่ง

1.นวดแผนไทย

150 บาท/ชม.

200 บาท/ชม.

2. นวดกดจุดสะท้อนเท้า

99 บาท/ชม.

100 บาท/ชม.

3. นวดลูกประคบ

200 บาท/ครั้ง

250 บาท/ครั้ง

5.2  งบการเงิน

ธุรกิจสตึกอีซี่ชอร์ป

งบกำไรขาดทุน

สำหรับระยะเวลา 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2557

รายได้

รายได้ค่าขายสินค้า

   2,738.00

รับเงินอุดหนุนจากโครงการ

 58,530.00

รวมรายได้

 61,268.00

ค่าใช้จ่าย

ค่าตอบแทนพนักงาน

   1,120.00

อุปกรณ์ตกแต่งห้องนวด

 58,530.00

รวมค่าใช้จ่าย

 59,650.00

กำไรสุทธิ (รายได้หักค่าใช้จ่าย)

  1,618.00

 

ธุรกิจสตึกอีซี่ชอร์ป

งบดุล

  วันที่ 30 กันยายน 2557

สินทรัพย์

เงินสด

      8,853.00

เงินฝากธนาคาร

      1,500.00

เครื่องใช้ไฟฟ้า

   13,400.00

หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม-เครื่องใช้ไฟฟ้า

         80.00

    13,320.00

อุปกรณ์ในการนวด

   47,978.00

หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม-อุปกรณ์ในการนวด

     5,640.00

    42,338.00

เครื่องตกแต่ง

 112,338.00

หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม-เครื่องตกแต่ง

     4,674.00

  107,664.00

รวมสินทรัพย์

  173,675.00

หนี้สินและส่วนของเจ้าของ

ส่วนของเจ้าของ

ทุน-ธุรกิจสตึกอีซี่ชอร์ป

  172,057.00

บวก

กำไรสุทธิ

      1,618.00

รวมหนี้สินและส่วนของเจ้าของ

  173,675.00

หมายเหตุประกอบงบ
รายได้จากการขายสำหรับรอบระยะเวลา 5 เดือน


รายการ

พฤษภาคม

มิถุนายน

กรกฏาคม

สิงหาคม

กันยายน

รายได้ค่าบริการ

249

251

498

945

795

 

 

 

 

 

 

รวม

249

251

498

945

795

6. ผลตอบแทนธุรกิจ
       6.1 Net Profit Margin เป็นอัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไร ได้มาจากกำไรสุทธิจากการดำเนินงานหารด้วยยอดขาย = 1,618x100/2,738 = 59.09%
       6.2  Return on Equity เป็นอัตราส่วนที่วัดความสามารถในการทำกำไรจากเงินลงทุน ได้มาจากกำไรสุทธิจากการดำเนินงานหารด้วยเงินลงทุน = 1,618x100/58,530 = 2.76%

7. ผลตอบแทนทางสังคม จรรยาบรรณ และความผิดชอบทางธุรกิจ
ธุรกิจสตึกอีซี่ชอร์ป  ได้ดำเนินการให้บริการเกี่ยวกับการนวดฝ่าเท้า และนวดแผนไทย ให้กับครู อาจารย์และนักเรียนนักศึกษา และเจ้าหน้าที่ โดยให้บริการนวดที่เน้นความพึงพอใจของลูกค้า และเน้นความสะอาด ถูกสุขอนามัย ในราคาที่ถูกกว่าคู่แข่ง เพราะกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่คือ ครู อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ยังเป็นการเสริมสร้างให้นักเรียน นักศึกษามีรายได้ระหว่างเรียน ซึ่งจะเป็นการฝึกฝนให้เป็นผู้ประกอบการในอนาคตได้

8. สุขภาพขององค์กรและคุณภาพชีวิตของพนักงาน
ธุรกิจสตึกอีซี่ชอร์ป  มีการบริการงานแบบกระจายอำนาจตามฝ่ายงาน  โดยพนักงานทั้ง 4 คน จะมีหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละฝ่าย  ได้แก่ ผู้จัดการฝ่ายการเงิน ฝ่ายการตลาด ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายบริการ โดยแต่ละฝ่ายจะทำงานสนับสนุนเกื้อกูลกันและกัน พนักงานทุกคนมีความรู้เรื่องลูกค้า  พนักงานทุกคนมีความรู้ ความสามารถแตกต่างกันในด้านการบริหารจัดการ  ด้านการตลาด ด้านการบัญชี ด้านการเงิน ด้านทักษะการใช้คอมพิวเตอร์  แต่สิ่งที่ทุกคนมีเหมือนกัน คือ มนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า และความร่วมมือร่วมใจกันทำงานเป็นทีม โดยทุกคนได้นำความรู้และประสบการณ์จากการเข้าอบรมการนวดแผนไทย และการเข้าร่วมอบรมการเขียนแผนธุรกิจมาใช้ในการดำเนินงานและจากเรียนในแต่ละภาคเรียนทำให้ประสบผลสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงมีครูที่ปรึกษาที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการให้คำปรึกษา จึงทำให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

9. แผนงานในอนาคตและศักยภาพในอนาคต
ธุรกิจสตึกอีซี่ชอร์ป ได้มีการบริหารจัดการ การวางระบบบัญชีที่เป็นมาตรฐาน  เพื่อให้ได้ข้อมูลทางการเงินที่น่าเชื่อถือมาใช้ในการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเพื่อสำรวจความต้องการในการบริการ เพื่อวางแผนในการบริการมาสนองความต้องการของลูกค้า พนักงานในการทำงานมีความรู้ความสามารถ จึงทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
สำหรับแผนงานในอนาคต จากประสบการณ์ในการให้บริการเป็นระยะเวลา 1 ปี  จึงทำให้เกิดความเชี่ยวชาญในการบริการ และพัฒนาการจัดร้านให้มีบรรยากาศเหมาะแก่การนวด โดยเฉพาะปัจจุบันกระแสการดูแลสุขภาพมาแรง ทำให้ประชาชนทั่วไปหันมาสนใจเกี่ยวกับการนวดเป็นจำนวนมาก  ซึ่งคาดว่า อนาคตจะสามารถขยายกิจการเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากความต้องการในการให้บริการเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับอัตราค่าบริการถูกกว่าคู่แข่ง ภาพลักษณ์เป็นนักเรียนนักศึกษา จึงทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความเอ็นดู ซึ่งพบว่าลูกค้าส่วนใหญ่ พึงพอใจกับการให้บริการ และราคาที่กำหนดไว้  ในอนาคตอาจมีแนวคิดในการระดมเงินทุนจากครู อาจารย์ ที่สนใจร่วมลงทุนในการทำธุรกิจและคืนทุนในอัตราที่น่าพึงพอใจ

10.  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
โครงการ หนึ่งวิทยาลัย หนึ่งการบริการ
เรื่อง การประเมินผลความพึงพอใจในการใช้บริการนวดแผนไทยของผู้รับบริการ
ปีงบประมาณ  2556
การประเมินครั้งนี้ผู้ประเมินได้นำข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสำรวจมาวิเคราะห์ แล้วนำเสนอในรูปแบบของตารางและเรียบเรียง โดยแบ่ง 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่  1   ข้อมูลทั่วไปของผู้กรอกแบบสอบถาม
ตอนที่  2   ทัศนคติ หรือความพึงพอใจของท่านที่มีต่อการดำเนินโครงการ ฯ
ตอนที่  3   ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ

ตอนที่  1   ข้อมูลทั่วไปของผู้กรอกแบบสอบถาม


รายการ

จำนวน

ร้อยละ

1.  เพศ

ชาย

12

30.00

หญิง

28

70.00

รวม

40

100.00

2  ระดับการศึกษา

ปวช.

16

40.00

ปวส.

8

20.00

ปริญญาตรี

13

32.50

ปริญญาโท

3

7.50

รวม

40

100.00

3.  สถานะ

ผู้บริหาร

5

12.50

ครู อาจารย์

23

57.50

เจ้าหน้าที่ บุคลากรทางการศึกษา

7

17.50

นักเรียนนักศึกษา

5

12.50

รวม

40

100.00

ตารางที่ 1.1   แสดงข้อมูลทั่วไปของผู้กรอกแบบสอบถาม

จากตารางที่  1.1   แสดงให้เห็นว่าผู้กรอกแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการดำเนินงานธุรกิจสตึกอีซี่ชอร์ป  ประจำปีการศึกษา 2557  วิทยาลัยการอาชีพสตึก  จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน พบว่า  เมื่อจำแนกตาม เพศ   ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 70.00   เพศชาย จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 30.00     และจำแนกตาม ระดับการศึกษา   ส่วนใหญ่กำลังศึกษาใน  ระดับ ปวช.  จำนวน  16 คน  คิดเป็นร้อยละ 40.0  รองลงมา อยู่ใน  ระดับ ปริญญาตรี  จำนวน 13 คน คิดเป็น ร้อยละ 32.50  ต่อมาอยู่ใน ระดับ ปวส.   จำนวน  8  คน  คิดเป็น  ร้อยละ 20.00  และ ระดับปริญญาโท  จำนวน 3 คน คิดเป็น ร้อยละ 7.50และเมื่อจำแนกตาม สถานะ ส่วนใหญ่ เป็นครู อาจารย์ จำนวน  23 คน คิดเป็น  ร้อยละ 57.50      รองลงมาเป็น     เจ้าหน้าที่บุคลากรทางการศึกษา  จำนวน 7  คน คิดเป็น  ร้อยละ 17.50  ผู้บริหาร  จำนวน 5 คน  คิดเป็น ร้อยละ  12.50 และ นักเรียนนักศึกษา จำนวน 5 คน คิดเป็น ร้อยละ 12.50   

ตอนที่  2  ระดับทัศนคติความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อการดำเนินธุรกิจสตึกอีซี่ชอร์ป  ตามโครงการหนึ่งวิทยาลัยฯ หนึ่งการบริการ ประจำปีงบประมาณ 2557 

ค่าเฉลี่ย

ระดับความพึงพอใจ

4.50-5.00

มากที่สุด

3.50-4.49

มาก

2.50-3.49

ปานกลาง

1.50-2.49

น้อย

1.00-1.49

น้อยที่สุด

ตารางที่ 2.1   แสดงค่าเฉลี่ยระดับทัศนคติ ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตารางที่ 2.2   แสดงค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อการดำเนินโครงการหนึ่งวิทยาลัยฯ หนึ่งผลิตภัณฑ์  (One College One Product)   


ข้อที่

รายการ

ค่าเฉลี่ย

ค่าส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (S.D.)

ระดับความ
พึงพอใจ

1

การประชาสัมพันธ์มีความเหมาะสม

3.85

.362

มาก

2

สถานที่ในการให้บริการ

3.72

.452

มาก

3

ขั้นตอนการรับบริการนวดสะดวกรวดเร็ว

3.98

.357

มาก

4

บุคลิกภาพของผู้ให้บริการ

4.07

.797

มาก

5

บรรยากาศในการนวดมีความเหมาะสม

3.60

.496

มาก

6

อัตราการบริการมีความเหมาะสม

3.47

.554

มาก

7

การให้บริการหลังจากนวดมีความเหมาะสม

3.78

.423

มาก

8

การบริการนวดมีความหลากหลาย

4.68

.474

มากที่สุด

9

ท่านรู้สึกสบายขึ้นหลังการใช้บริการนวดแผนไทย

4.55

.552

มากที่สุด

10

ท่านต้องการให้ดำเนินโครงการนี้ต่อเนื่อง

4.03

.276

มาก

ภาพรวมในการดำเนินโครงการ

3.97

.474

มาก

       
จากตารางที่ 2.2  แสดงค่าเฉลี่ยระดับทัศนคติ หรือ ความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถาม ที่มีต่อการดำเนินงานธุรกิจสตึกอีซี่ชอร์ป  ประจำปีการศึกษา 2557  วิทยาลัยการอาชีพสตึก ภาพรวมในการดำเนินโครงการฯ  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  3.97  ระดับความพึงพอใจ  มาก  เมื่อจำแนกตามรายข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย จำนวน 3 อันดับ   พบว่า         
อันดับที่  1  คือข้อ  8การบริการนวดมีความหลากหลาย  ค่าเฉลี่ย  4.68  ระดับความพึงพอใจ  มากที่สุด 
อันดับที่  2 คือ  ข้อ 9 ท่านรู้สึกสบายขึ้นหลังการใช้บริการนวดแผนไทยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.55  ระดับความพึงพอใจ  มากที่สุด 
อันดับที่  3  ได้แก่   4  บุคลิกภาพของผู้ให้บริการ  ค่าเฉลี่ยเท่ากัน  4.07   ระดับความพึงพอใจ มาก 

ตอนที่  3  ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ
3.1  ควรมีการประชาสัมพันธ์ในการนวดเพิ่มมากขึ้น
3.2  ควรเพิ่มระยะเวลาในการให้บริการ

 

Best Practice
“ธุรกิจนวดแผนไทย”  สร้างรายได้ สร้างประสบการณ์ เป็นแนวทางในการประกอบธุรกิจ


        จากการที่ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ วิทยาลัยการอาชีพสตึก  มีนโยบายให้นักเรียน นักศึกษา จัดตั้งธุรกิจเพื่อเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาเป็นเถ้าแก่น้อย ที่มีทักษะความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำบัญชี พร้อมทั้งฝึกให้เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ
ธุรกิจนวดแผนไทย เป็นกิจการขนาดเล็ก  จัดตั้งขึ้นเพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ได้มีรายได้ระหว่างเรียน และเสริมสร้างให้สถานศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้ และพัฒนาด้านการประกอบธุรกิจ ในโครงการหนึ่งวิทยาลัยฯ หนึ่งการบริการ  โดยตั้งอยู่ที่  วิทยาลัยการอาชีพสตึก  มีนักศึกษาดำเนินกิจการ จำนวน  5 คน ได้แก่
1. นายวิรัตน์               โยยรัมย์        ผู้จัดการ
2. นางสาวพรรณิดา    ชะมุดรัมย์     ฝ่ายการเงิน
3. นางสาวพรรณี        โยงรัมย์        ฝ่ายการตลาด
4. นางสาวเมฆขลา     สำราญดี      ฝ่ายบริการ
5. นางสาวอุบลรัตน์    กันหานุ        ฝ่ายประชาสัมพันธ์
การบริหารงานภายใต้การกำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตามของคณะกรรมการที่ปรึกษาและคณะกรรมการฝ่ายตรวจสอบ ซึ่งเป็นคณะครู อาจารย์ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากสถานศึกษา เพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำในการทำธุรกิจ  รวมถึงเชิญวิทยากรภายนอกให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษา ดังนี้
1. คณะกรรมฝ่ายตรวจสอบบัญชี ได้แก่
1.1 นางจิราภรณ์             งามชื่น                  ครูประจำแผนกวิชาการบัญชี
1.2  นางสาวรัศมี             บุญมั่น                  ครูประจำแผนกวิชาการบัญชี
1.3 นายชัย                      พลคำ                   ครูประจำแผนกวิชาการบัญชี
2. คณะกรรมการฝ่ายติดตามและนิเทศการดำเนินงาน ได้แก่
2.1 นางสาวแพรวพรรณ   ชิ้นเจริญ               ครูประจำแผนกวิชาการบัญชี
2.2 นางสาวกุสุมา             เกศศรีพงษ์ศา     ครูประจำแผนกวิชาการบัญชี
ผู้จัดการ  มีหน้าที่  วางแผนการดำเนินงานธุรกิจและการจัดระบบการดำเนินงาน ประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ดูแลการบริหารจัดการ ควบคุม ตรวจสอบพนักงาน และผลการดำเนินงานของกิจการ พร้อมทั้งนำปัญหา หรือข้อบกพร่องมาหาแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุงอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างทันท่วงทีและดูแลสภาพทั่วไปของกิจการ
ฝ่ายการเงิน  มีหน้าที่  ดูแลบริหารจัดการด้านการเงินให้เงินสดอยู่ในสภาพคล่อง ดูแลการเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน สรุปยอดเงินประจำวัน รวมไปถึงการจัดเก็บเอกสารทางการเงินอย่างเป็นระบบ
ฝ่ายจัดซื้อ  มีหน้าที่     ดูแลบริหารจัดการด้านการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในการนวด รวมถึงการจัดซื้ออย่างคุ้มค่า และจัดเก็บวัสดุ อุปกรณ์ในการนวด
ฝ่ายบริการ มีหน้าที่   ดูแลและบริหารจัดการด้านบริการ จัดตารางการนวด  การให้บริการนวดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์/การตลาด  มีหน้าที่  ดูแลและบริหารจัดการด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน หรือบุคคลทั่วไปได้รับทราบ  รวมถึงจัดส่งเสริมการตลาดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้บริการ
กิจการธุรกิจสตึกอีซี่ชอร์ป  เปิดให้บริการตั้งแต่ 15.00-17.00 น. ซึ่งเป็นระยะเวลาที่นักเรียนนักศึกษาว่างจากการเรียนการสอน
การทำงานของธุรกิจสตึกอีซี่ชอร์ป ในทุกๆ วันก่อนเปิดร้าน สิ่งแรกที่ทำคือ ทำความสะอาดภายในร้าน และหน้าร้าน โดยเฉพาะวัสดุอุปกรณ์ในการนวด  เช่น ผ้าปู ผ้าขนหนู จะทำความสะอาดทุกครั้ง หลังจากการให้บริการเสร็จ และระหว่างการให้บริการจะมีการจัดห้อง นวดให้มีบรรยากาศเหมาะแก่การนวด  นอกจากนี้ยังมีการให้บริการนวดเคลื่อนที่ โดยให้บริการตามห้องพักครูในช่วงที่ครูว่างเว้นจากการสอน
เมื่อถึงเวลา 16.00 น. ก็จะมีการทำความสะอาดวัสดุ อุปกรณ์ในการนวด  เช่น ผ้าขนหนู ผ้าห่ม ผ้าปู ก็จะซักให้เรียบร้อย  ทำความสะอาดห้องเตียงนวด ห้องนวดก่อนกลับ  ฝ่ายการเงินสรุปรายได้นำส่งผู้จัดการ ส่วนฝ่ายจัดซื้อจะมาทำการตรวจสอบสมุนไพรที่ใช้ในการนวดว่ามีคงเหลือเพียงพอต่อการบริการในวันต่อไปหรือไม่
นอกจากนี้ ฝ่ายการตลาดจะ มีการติดตามผลความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการนวด โดยตอบแบบสอบถาม และขอข้อมูลที่จำเป็น รวมถึงข้อเสนอแนะจากลูกค้าเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาการบริการครั้งต่อไป
ปัญหาและอุปสรรคที่ต้องเผชิญ คือ  ในบางครั้ง เวลานวดมีน้อย  หรือ นักศึกษาบางคนไม่สามารถมานวดได้  เนื่องต้องทำงานส่งครู หรือมีภารกิจ หรือป่วย ทำให้ต้องลาป่วย หรือลากิจ  มีเหตุจำเป็นจะต้องหยุดงาน ทำให้บางครั้ง ผู้นวด ไม่เพียงพอต่อการบริการในแต่ละวัน และบางครั้ง ครู อาจารย์ ไม่สามารถมานวดที่ร้านได้ ก็จะใช้วิธีการออกให้บริการตามห้องพักครู เป็นต้น
การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เผชิญ คือ  จัดตารางนวดให้เหมาะสม กับนักเรียน นักศึกษา และให้นักศึกษาเลือกลงตารางปฏิบัติการนวดด้วยความสมัครใจ เนื่องจากนักศึกษาจะรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดของตนเองดี  และหากในวันที่มีตารางนวด  แล้วไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้ จะต้องหานักศึกษาคนอื่นมาทำหน้าที่แทน เพื่อให้สามารถบริการลูกค้าในแต่ละวันได้
สถานที่ตั้งของร้านธุรกิจสตึกอีซี่ชอร์ป มีความเหมาะสม กับสภาพแวดล้อม บรรยากาศ เนื่องจากเป็นบริเวณที่ใกล้กับอาคารเรียน ห้องพักครู ช่วงเย็นบรรยากาศเงียบสงบ
ประสบการณ์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ที่ได้ดำเนินงานด้านการนวด ทำให้สมาชิกในกลุ่มได้เรียนรู้ว่า กว่างานจะสำเร็จไปได้แต่ละอย่าง ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคมากมาย  ที่สำคัญ  ความมุ่งมั่น พยายามและอดทน ประกอบทักษะและประสบการณ์จะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์