ส่วนประกอบของโปรแกรม
Application Bar (แอพพลิเคชั่นบาร์)
จะเป็นแถบเครื่องมือที่เก็บปุ่มคำสั่งที่ใช้งานบ่อยๆเอาไว้เช่น เปิดโปรแกรม Bridge หมุนพื้นที่ทำงาน ย่อ-ขยายภาพ, จัดเรียงวินโดว์ภาพ และจัดองค์ประกอบของเครื่องมือตามพื้นที่ใช้งาน (Workspace)
Option Bar (ออปชั่นบาร์)
เป็นส่วนที่ใช้ปรับแต่งค่าการทำงานของเครื่องมือต่าง ๆ โดยรายละเอียดใน
ออปชั่นบาร์จะเปลี่ยนไปตามเครื่องมือที่เราเลือกจากทูลบ็อกซ์ในขณะนั้น เช่น เมื่อเราเลือกเครื่องมือ Brush (พู่กัน) บนออปชั่นบาร์จะปรากฏออปชั่นที่ใช้ในการกำหนดขนาด และลักษณะหัวแปรง,โหมดในการ ระบายความโปร่งใสของสี และอัตราการไหลของสี เป็นต้น
Menu Bar (เมนูบาร์)
ประกอบด้วยกลุ่มคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้จัดการกับไฟล์,ทำงานกับรูปภาพ และใช้การปรับแต่ง
การทำงานของโปรแกรม โดยแบ่งเมนูตามลักษณะงาน นอกจากนี้บางเมนูหลัก จะมีเมนูย่อยซ้อนอยู่ โดยสังเกต จากเครื่องหมาย ซึ่งคุณต้องเปิดเข้าไปเพื่อเลือกคำสั่งภายในอีกที
Tool Panel (ทูลพาเนล) หรือ กล่องเครื่องมือ
จะประกอบไปด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการวาดตกแต่งและแก้ไขภาพเครื่องมือเหล่านี้มีจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีการรวมเครื่องมือที่ทำหน้าที่คล้าย ๆกันไว้ในปุ่มเดียวกันโดยจะมีลักษณะรูปสามเหลี่ยม อยู่บริเวณมุมด้านล่าง ดังภาพเพื่อบอกให้รู้ว่าในปุ่มนี้ยังมีเครื่องมืออื่นอยู่ด้วย
Panel (พาเนล)
เป็นวินโดว์ย่อย ๆ ที่ใช้เลือกรายละเอียดหรือคำสั่งควบคุมการทำงานต่างๆ ของโปรแกรม ใน
Photoshop มีพาเนลอยู่เป็นจำนวนมากเช่นพาเนล Colorใช้สำหรับเลือกสี,พาเนล Layers ใช้สำหรับจัดการ
กับเลเยอร์และพาเนล Info ใช้แสดงค่าสีตรงตำแหน่งที่ชี้เมาส์รวมถึงขนาด/ตำแหน่งของพื้นที่ที่เลือกไว้
รายละเอียดแต่ละเมนูใน
Photoshop cs5
แถบตัวเลือก (
Options Bar)
เป็นส่วนที่ใช้ในการปรับแต่งการทำงานของเครื่องมือต่าง ๆ รายละเอียดในออปชั่นบาร์จะเปลี่ยนไปตามเครื่องมือที่เลือกใช้ เช่น
Pen Tool เป็นการวาดภาพด้วยปากกา ไม่ว่าจะเป็นการวาดอิสระหรือมีรูปร่าง รูปทรงต่าง ๆ มาให้เลือก เป็นต้น
Option Bar เมื่อเลือกเครื่องมือ
Pen Tool เมื่อเลือกเครื่องมือที่ต้องการใช้งานจากแถบตัวเลือกแล้ว จะได้แถบเมนูย่อยของเครื่องมือที่เลือก ดังตัวอย่าง
Option Bar เมื่อเลือกเครื่องมือ
Brush Tool
แถบคำสั่งบน
Menu Bar
Menu Bar หรือแถบคำสั่ง จะเป็นจุดที่รวบรวมคำสั่งที่ใช้จัดการกับไฟล์ที่เปิดขึ้นมาใช้งานบน Adobe Photoshop cs5โดยเมนูบาร์แต่ละชุดจะใช้จัดการกับภาพในลักษณะแตกต่างกันดังนี้
ชุดคำสั่ง
รูปแบบการทำงาน
File
ใช้จัดการกับไฟล์ภาพในลักษณะต่าง ๆ เช่น การสร้างไฟล์ใหม่,การเปิดไฟล์ภาพ,การบันทึกไฟล์ภาพ,การ Import ไฟล์ หรือการ Export ไฟล์ เพื่อทำงานในลักษณะอื่น ๆ
Edit
เป็นชุดคำสั่งในหมวดหมู่ของการแก้ไข เช่น การตัด,คัดลอก,การวาง รวมถึงการปรับแต่งค่าเบื้องต้นของโปรแกรม เช่น ระบบการจัดการสี
Image
เป็นชุดคำสั่งทีใช้จัดการภาพ เช่น การแก้ไขความสว่าง หรือสีของภาพให้สมดุลยิ่งขึ้น รวมถึงใช้ขยายภาพให้โตขึ้น และกำหนดขนาดพื้นที่การทำงานของภาพ
Layer
ใช้จัดการกับเลเยอร์ของภาพ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเลเยอร์ใหม่,รวมเลเยอร์,แปลงเลเยอร์,จัดการกับเลเยอร์ ของไฟล์ลักษณะต่าง ๆ รวมถึงสามารถจัดการกับรายละเอียดของภาพในเลเยอร์นั้น ๆ
Select
ใช้ปรับแต่ง Selection บันทึกและเรียก Selection มาใช้งาน รวมถึงคำสั่งสำหรับการสร้างSelection ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น
Filter
เป็นชุดคำสั่งสำหรับแปลงภาพถ่ายให้มีรูปแบบที่น่าสนใจยิ่งขึ้น รวมถึงการดัด,บิดรูปทรงแบบต่าง ๆ
Analysis
(Extended)
ใช้ในการนำข้อมูลจากการใช้เครื่องมือ เช่น Count Tool , Ruler Tool มาวิเคราะห์
3D (Extended)
ใช้ปรับแต่งไฟล์ 3D ที่นำมาทำงานใน Adobe Photoshop cs5 Extended รวมถึงการสร้างวัตถุ 3มิติ เพื่อใช้ร่วมกับการออกแบบอื่น ๆ
View
ใช้เลือกรูปแบบการแสดงผล เช่น การซูมภาพ,การแสดงไม้บรรทัด การแสดงเส้นกรีด หรือเส้นไกด์
Window
ใช้เลือกแสดงพาเนลที่ใช้ในการทำงาน รวมถึงกำหนดรูปแบบการแสดงวินโดว์ในแบบต่าง ๆ
Help
ใช้แสดงความช่วยเหลือของรายละเอียดการใช้โปรแกรมในรูปแบบต่าง ๆ
เครื่องมือ
Tool Panel
กล่องเครื่องมือ Tool Panel ประกอบด้วย เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการวาดภาพ ตกแตกแต่งภาพ และแก้ไข ภาพ โดยบนปุ่มหนึ่ง ๆ อาจมีปุ่มที่ซ่อนอยู่รวมกันหลายเครื่องมือ สังเกตหากปุ่มเครื่องมือใดมีเครื่องมือย่อยซ่อนอยู่อีก
จะปรากฏเป็นสัญลักษณ์ ที่มุมขวาล่างของเครื่องมือนั้น
ดังรูป
ข้อควรจำ
การเปิด / ปิด Toolbox ทำได้โดยเลือกคำสั่ง Window > Tools
เครื่องมือกลุ่มต่าง ๆ บนทูลพาเนล (
Tool Panel)
จากกลุ่มเครื่องมือหลักที่แสดงเมื่อเริ่มแรก หากเราคลิกที่ปุ่มเครื่องมือหลัก ก็จะมีเครื่องมือย่อย ในแต่ละกลุ่มแสดงออกมา ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้
1. เครื่องมือ Move
2. กลุ่ม Marquee
3. กลุ่ม Lasso
4. กลุ่ม Quick Select
5. กลุ่ม Slice
6. กลุ่ม Eyedropper
7. กลุ่ม Healing Brush
8. กลุ่ม Brush
9. กลุ่ม Stamp
10. กลุ่ม History Brush
11. กลุ่ม Eraser
12. กลุ่ม Gradient
13. กลุ่ม Blur
14. กลุ่ม Dodge
15. กลุ่ม Pen
16. กลุ่ม Type
17. กลุ่ม Path Selection
18. กลุ่ม Rectangle
19. กลุ่ม 3D Rotate
20. กลุ่ม 3D Camera
21. กลุ่ม Hand
22. เครื่องมือ Zoom
รายละเอียดของเครื่องมือที่ใช้สำหรับตกแต่งรูปภาพ มีดังนี้
กลุ่มเครื่องมือการเลือก (Selection) ประกอบด้วย
Marquee
ใช้สำหรับเลือกพื้นที่บนภาพเป็นรูปสี่เหลี่ยม วงกลม วงรี หรือเลือกเป็นแถวคอลัมน์ขนาด 1 พิเซล
Move
ใช้สำหรับย้ายพื้นที่ที่เลือกไว้ของภาพ หรือย้ายภาพในเลเยอร์หรือย้ายเส้นไกด์
Lasso
ใช้เลือกพื้นที่บนภาพเป็นแนวเขตแบบอิสระ
Magic Wand
ใช้เลือกพื้นที่ด้วยวิธีระบายบนภาพ หรือเลือกจากสีที่ใกล้เคียงกัน
Crop
ใช้ตัดขอบภาพ
Slice
ใช้ตัดแบ่งภาพเพื่อบันทึกไฟล์ภาพย่อย ๆ ที่เรียกว่าสไลซ์ (Slice) สำหรับนำไปสร้างเว็บเพจ
กลุ่มเครื่องมือการแก้ไข (Edit) ประกอบด้วย
Healing Brush
ใช้ตกแต่งลบรอยตำหนิในภาพ
Clone Stamp
ใช้ทำสำเนาภาพ โดยก๊อปปี้ภาพจากบริเวณอื่นมาระบาย หรือ ระบายด้วยลวดลาย
History Brush
ใช้ระบายภาพด้วยภาพของขั้นตอนเดิมที่ผ่านมา หรือภาพของสถานะเดิมที่บันทึกไว้
Eraser
ใช้ลบภาพบางส่วนที่ไม่ต้องการ
Gradient
ใช้เติมสีแบบไล่ระดับโทนสีหรือความทึบ
Blur
ใช้ระบายภาพให้เบลอ
Brush
ใช้ระบายลงบนภาพ
Dodge
ใช้ระบายเพื่อให้ภาพสว่างขึ้นหรือมืดลง
กลุ่มเครื่องมือการสร้าง (Create) ประกอบด้วย
Pen
ใช้วาดเส้นพาธ (Path)
Horizontal Type
ใช้พิมพ์ตัวอักษรหรือข้อความลงบนภาพ
Path Selection
ใช้เลือกและปรับแต่งรูปทรงของเส้นพาธ
Rectangle
ใช้วาดรูปทรงเรขาคณิตหรือรูปทรงสำเร็จรูป
กลุ่มเครื่องมือมุมมอง (View) ประกอบด้วย
Notes
ใช้บันทึกหมายเหตุกำกับภาพที่เป็นข้อความหรือเสียง
Eyedropper
ใช้เลือกสีจากสีต่าง ๆ บนภาพ
Hand
ใช้เลื่อนดูส่วนต่าง ๆ ของภาพ
Zoom
ใช้ย่อหรือขยายมุมมองภาพ
กลุ่มเครื่องมือเลือกสี (Color) ประกอบด้วย
Foreground Color และ Background Color
Set Foreground Color, Set Background Color ใช้สำหรับกำหนดสี
พาเล็ต (
Palette)
เมนูคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการควบคุมรายละเอียดของขั้นตอนการทำงานพาเล็ตแต่ละเมนูมีหน้าที่และ การใช้งานต่างกัน สำหรับพาเล็ตที่ใช้งานมาก ประกอบด้วย
1. Navigator เป็นพาเล็ตที่แสดงหน้าจอของรูปภาพที่ใช้งานอยู่ ทำหน้าที่สำหรับการปรับมุมมองของรูปภาพโดยสามารถคลิกที่ปุ่ม Zoom Slider เพื่อย่อหรือขยายมุมมองภาพได้
ปุ่ม Zoom Slider
ภาพที่ได้หลังจากเลื่อนปุ่ม Zoom Slider
2. info เป็นพาเล็ตสำหรับแสดงค่าสีแบบ RGB และ CMYK ของรูปภาพในรูปแบบของตัวเลข
3. History เป็นพาเล็ตที่เก็บรายละเอียดขั้นตอนการทำงานทั้งหมดเพื่ออำนวยความสะดวกเมื่อต้องการ ย้อนกลับ ไปใช้พาเล็ตเดิมหรือย้อนดูการทำงานที่ผ่านมา
4. Color เป็นพาเล็ตสำหรับกำหนดสี Foreground และ Background โดยการเลื่อนแถบเพื่อปรับสี ตามต้องการ
5. Swatches เป็นพาเล็ตที่กำหนดสีแบบสำเร็จรูปเพื่อความสะดวกในการเลือกสี ผู้ใช้สามารถดูสีที่ต้องการ และคลิกเลือกสีที่ต้องการ
6. Style เป็นพาเล็ตที่ใช้ในการกำหนดรูปแบบต่าง ๆ โดยการเลือกรูปแบบที่ต้องการ ได้แก่ ตัวอักษร
7. Layer เป็นพาเล็ตสำหรับใช้ควบคุมการใช้งานเลเยอร์ต่าง ๆ
8. Channels เป็นพาเล็ตที่แสดงการแยกสีของรูปภาพที่กำลังทำงานอยู่ ประกอบด้วยการแยกสีแบบ RGB, Red, Green, และ Blue
9. Paths เป็นพาเล็ตที่ใช้แสดง Path ที่ถูกสร้างขึ้นในรูปภาพที่กำลังทำงาน