จำนวนผู้เข้าชม
 

 

หน่วยที่ 7 การเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

    ความหมายของเครือข่ายการเรียนรู้
ความหมายของเครือข่ายการเรียนรู้  (Web  Based  Instruction)   หมายถึง   การเรียนรู้ในระบบคอมพิวเตอร์   เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมทางการศึกษาทุกระดับ   โดยมีองค์ประกอบสำคัญ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์   โปรแกรมที่ใช้ควบคุมระบบการทำงานและเครือข่ายการสื่อสาร   นอกจากนี้   การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนยังแตกต่างกันออกไปตามความสามารถในการสื่อสาร   และสภาวะแวดล้อมในการเชื่อมโยงข้อมูลอีกด้วย

    คุณลักษณะพิเศษของเครือข่ายการเรียนรู้
            1.สามารถเข้าถึงได้กว้างขวาง  ง่าย  สะดวก  เรียกข้อมูลมาใช้ได้ง่าย   เชื่อมโยงเข้าหานักเรียนคนอื่นได้ง่าย  รวดเร็ว  และสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกเวลา  ทุกสถานที่มีเครือข่าย
            2.เป็นการเรียนแบบร่วมกันและทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  คุณลักษณะพื้นฐานของเครือข่ายการเรียนรู้  คือ  การเรียนแบบร่วมมือกัน   ดังนั้น  ระบบเครือข่ายจึงควรเป็นกลุ่มของการเรียนรู้โดยผ่านระบบการสื่อสารที่สังคมยอมรับ   เครือข่ายการเรียนรู้จึงมีรูปแบบของการร่วมกันบนพื้นฐานนของการแบ่งปันความน่าสนใจของข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน
            3.สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำมากกว่าเป็นผู้ถูกกระทำ
            4.ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน   และเน้นบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป
            5.จัดให้เครือขายการเรียนรู้เป็นเสมือนชุมชนของการเรียนรู้แบบออนไลน์

    แนวทางการบริหารจัดการและพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้
แนวทางการบริหารจัดการและพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้  แบ่งออกเป็น  4  ขั้น  ดังนี้
1.ขั้นการก่อรูปเครือข่ายการเรียนรู้   (Learning  Network  Forming)  เป็นการก่อตัวขึ้นโดยมี แนวทางสำคัญที่ควรดำเนินการ  4 ประการ  ได้แก่
1.1การสร้างความตระหนักในปัญหา
1.2การสร้างสำนึกในการรวมตัว
1.3 การสร้างจุดรวมของผลประโยชน์ในเครือข่ายการแสวงหาแกนนำที่ดีของเครือข่าย
1.4 การสร้างแนวร่วมของสมาชิกเครือข่าย   ถ้าเครือข่ายแห่งใดปฏิบัติได้ตามแนวทางดังกล่าวก็เชื่อได้ว่าจะสามารถก่อตั้งเครือข่ายในชุมชนได้อย่างแน่นอน
2.ขั้นการจัดระบบบริหารเครือข่ายการเรียนรู้   (Learning  Network  Organizing)  การจัดระบบบริหารเครือข่ายการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ  มีองค์ประกอบสำคัญที่ควรพิจารณา  5  ประการ  คือ
1.การจัดผังกลุ่มเครือข่าย
2.การจัดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในเครือข่าย
3.การจัดระบบการติดต่อสื่อสาร
4.การจัดระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
5.การจัดระบบสารสนเทศ
ดังนั้น  ถ้าสามารถจัดระบบบริหารเครือข่ายได้ครบถ้วนดังกล่าว  ผลที่ตามมาก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น

3.ขั้นการใช้เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning  Network  Utilizing)   การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายการเรียนรู้จากการดำเนินงานด้านต่างๆ  ที่สำคัญ  5  ประการ  ได้แก่
1.การใช้เครือข่ายเพื่อให้เป็นเวทีกลางประสานงานร่วมกันระหว่างสมาชิกภายในและภายนอกเครือข่าย
2.การใช้เครือข่ายเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนสารสนเทศและความรู้ของสมาชิกเครือข่ายและผู้สนใจ
3.การใช้เครือข่ายเพื่อให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนระดมทรัพยากรร่วมกันของสมาชิกเครือข่าย
4.การใช้เครือข่ายเพื่อให้เป็นเวทีร่วมสร้างสรรค์และพัฒนาความรู้ใหม่ๆให้แก่สมาชิกทั้งภายในและภายนอกเครือข่าย
5.การใช้เครือข่ายเพื่อให้เป็นเวทีสร้างกระแสผลักดันประเด็นใหม่ๆที่เป็นปัญหาของชุมชนและสังคม
4.ขั้นการธำรงรักษาเครือข่ายการเรียนรู้  (Learning  Network  Maintaining)  การธำรงรักษาเครือข่ายเพื่อให้ดำเนินการไปสู่ความสำเร็จ  มีแนวทางปฏิบัติ  6  ประการ  คือ
1.การจัดดำเนินการกิจกรรมต่างๆ  ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
2.การรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกันระหว่างสมาชิกเครือข่าย
3.การกำหนดกลไก
4.การสร้างระบบแรงจูงใจให้แก่สมาชิกของเครือข่าย
5.การให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
6.การสร้างผู้นำรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง

    กระบวนการและวิธีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้
ก่อนที่จะตัดสินใจสร้างเครือข่ายการเรียนรู้หรือเข้าไปอยู่ในกลุ่มของเครือข่ายการเรียนรู้   ต้องเข้าใจกระบวนการต่างๆ  ที่จะทำให้การเรียนรู้ประสบผลสำเร็จและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เข้าร่วมในเครือข่ายการเรียนรู้   กระบวนการและวิธีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ประกอบด้วยขั้นตอนและวิธีการต่างๆ  ดังนี้
1.การตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างเครือข่าย   เป็นขั้นตอนที่ผู้ปฏิบัติงานหรือฝ่ายจัดการตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างเครือข่าย   เพื่อที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมาย   รวมทั้งพิจารณาถึงองค์กรต่างๆ  ที่เห็นว่าเหมาะสม   เพื่อรวมเข้าเป็นเครือข่ายในการทำงานร่วมกัน
2.การติดต่อกับองค์กรที่จะร่วมเป็นเครือข่าย   หลังจากตัดสินใจเกี่ยวกับองค์กรที่เห็นว่าเหมาะสมในการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายแล้ว   ก็จะเป็นขั้นตอนการติดต่อสัมพันธ์   เพื่อชักชวนให้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการเรียนรู้โดยสร้างความคุ้นเคย   การยอมรับและความไว้วางใจระหว่างกัน   มีการให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลกระตุ้นให้คิดร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาในเรื่องเดียวกันของเครือข่าย   ถือว่าเป็นการเตรียมกลุ่มเครือข่าย
3.การสร้างพันธกรณีร่วมกัน  เป็นขั้นตอนการสร้างความผูกพันร่วมกัน   มีการตกลงใจในความสัมพันธ์ต่อกันและตกลงที่จะทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย   ซึ่งการทำกิจกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาร่วมกัน   จะต้องมีความรู้เพียงพอในการทำกิจกรรม   การเชิญวิทยากรมาถ่ายทอดเพิ่มพูนความรู้การไปศึกษาดูงาน  เป็นต้น  ทำให้เกิดเป็นกลุ่มศึกษาเรียนรู้ขึ้นในองค์กรเครือข่าย
4.การพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกัน  เป็นขั้นตอนที่สร้างเครือข่ายให้เกิดผลงานเป็นรูปธรรมโดยเริ่มทำกิจกรรมที่ใช้ทรัพยากรร่วมกัน  มีการตกลงในเรื่องของการบริหารจัดการขององค์กรเครือข่าย   ซึ่งเริ่มด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์  กำหนดกิจกรรม  กำหนดบทบาทของสมาชิก  รวมทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องชัดเจนขึ้น  เกิดเป็นกลุ่มกิจกรรมขึ้นในองค์กรเครือข่าย
5.การทำกิจกรรมร่วมกัน  เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากมีการพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกันแล้ว   นำไปสู่การทำกิจกรรมร่วมกันจนมีผลงานเป็นที่ปรากฏชัดเจน   เกิดประโยชน์ร่วมกันในองค์กรเครือข่าย  จนเกิดการขยายกลุ่มเครือข่ายมากยิ่งขึ้น
6.การรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรใหม่ร่วมกัน   เพื่อรองรับจำนวนสมาชิกใหม่ที่เพิ่มมากขึ้น

    ความหมายของ   E-Learning 
E-Learning  หมายถึง   การเรียนการสอนในลักษณะใดก็ได้   ที่ใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  หรือระบบอื่นๆที่คล้ายคลึงกัน   ซึ่งเนื้อหา  หรือสารสนเทศสำหรับการสอนหรือการอบรม  ใช้การนำเสนอด้วยตัวอักษร  ภาพนิ่ง  ผสมผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหววีดีทัศน์และเสียง  โดยอาศัยเทคโนโลยีของเว็บ  (Web  Technology)  ในการถ่ายทอดเนื้อหา  ทั้งนี้โดยภาพรวมของ  E-Learning  พิจารณาได้จากคุณลักษณะ  ดังนี้
1.เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
         2.เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นอย่างน้อย   หรือการศึกษาตามอธัยาศัย
         3.ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง   จากทุกที่ทุกเวลาโดยอิสระ
         4.ผู้เรียนมีอิสระในการเรียน   การบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละเนื้อหา  ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันหรือพร้อมกับผู้เรียนรายอื่น
         5.มีระบบปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน   และสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้
         6.มีเครื่องมือที่วัดผลการเรียนได้
         กล่าวโดยสรุป  E-Learning   เป็นระบบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเว็บ   และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  มีสภาวะแวดล้ออมที่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา  (Active  Learning)  และการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child  Center  Learning)  ผู้เรียนเป็นผู้คิด  ตัดสินใจเรียน  โดยการสร้างความรู้และความเข้าใจใหม่ๆ  ด้วยตนเอง   สามารถเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับชีวิตจริง   ครอบคลุมการเรียนทุกรูปแบบ  ทั้งการเรียนทางไกลและการเรียนผ่านเครือข่ายระบบต่างๆ

    E-Learning  ในประเทศไทย
การจัดระบบการเรียนการสอนทางไกลในประเทศไทยในปัจจุบัน  ได้ก้าวเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการนำเสนอ  โดยมีรูปแบบการนำเสนอผลงานแบ่งได้  2  รูปแบบใหญ่ๆๆ  คือ
·       การนำเสนอในลักษณะ  Web  Based  Instruction  (WBI)
·       การนำเสนอในลักษณะ  E-Learning 

    ปัญหาการพัฒนาระบบการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
การพัฒนา  WBI  และ  E-Learning    ในประเทศไทย  ประสบกับปัญหาต่างๆสรุปได้ดังนี้
1.ปัญหาการสนับสนุนด้านงบประมาณและบุคลากร  และการสนับสนุนจากผู้บริหาร
2.ปัญหาการขาดความรู้ด้านเทคโนโลยี  E-Learning  และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
3.ปัญหาเรื่องราคาของซอฟต์แวร์  CMS/LMS  และการลิขสิทธิ์
4.ปัญหาเรื่องทีมงานดำเนินการ  ทั้งด้านความรู้  ความคิดสร้างสรรค์  และเงินสนับสนุน
5.ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาที่นำเสนอ  แหล่งที่มา  ผลตอบแทน  ปละการละเมิดเมื่อเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์
6.ปัญหาเกี่ยวกับ  Infrastructure  ของประเทศที่ยังขาดความพร้อม
7.ปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการพัฒนาเว็บไซต์ภาษาไทย  ทั้งการเข้ารหัส  การใช้ฟอนต์  และรูปแบบ
8.ปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดทำระบบ  CMS/LMS

    ข้อดีและข้อเสียของการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ข้อดี
          1.เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว  ไม่จำกัดเวลาสถานที่  รวมทั้งบุคคล
          2.ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน 
          3.ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน
          4.ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา  ระยะทางในการเรียนได้เป็นอย่างดี
          5.ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ  กลัวการตอบคำถาม  ตั้งคำถาม  ตั้งประเด็นการเรียนรู้ในห้องเรียน  มีความกล้ามากกว่าเดิม  เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้น  โดยอาศัยเครื่องมือ  เช่น  E-Mail , Webboard , Chat , Newsgroup  แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ
ข้อเสีย
         1.ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก   ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน
         2.ไม่สามารถสื่อความรู้สึก  อารมณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
         3.ผู้เรียนและผู้สอนจะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต  ทั้งด้านอุปกรณ์ทักษะการใช้งาน

    ข้อคำนึงในการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ในการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์หรือผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ควรคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.ความพร้อมของอุปกรณ์และระบบเครือข่าย  เนื่องจากการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์  เป็นการปรับเนื้อหาเดิมสู่รูปแบบใหม่  จำเป็นต้องมีเครื่องมือ  อุปกรณ์  และระบบเครือข่ายที่พร้อมและสมบูรณ์  เพื่อให้ได้บทเรียนดิจิตอลที่มีคุณภาพ  และทันต่อความต้องการ  ผู้เรียนสามารถเลือกเวลาเรียนได้ทุกช่วงเวลาตามที่ต้องการเรียน  ซึ่งในประเทศไทยพบว่ามีปัญหาในด้านนี้มาก  โดยเฉพาะในเขตนอกเมืองใหญ่
 2.ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต  ผู้เรียนและผู้สอนต้องมีความรู้และทักษะทั้งด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพอสมควร  โดยเฉพาะผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะอื่นๆ  ประกอบเพื่อสร้างเว็บไซต์การสอนที่น่าสนใจให้กับผู้เรียน
3.ความพร้อมของผู้เรียน  ผู้เรียนจะต้องมีความพร้อมทั้งทางด้านจิตใจและความรู้  คือ  จะต้องยอมรับในเทคโนโลยีรูปแบบนี้  ยอมรับการเรียนด้วยตนเอง  มีความกระตือรือร้น  ตื่นตัว  ใฝ่รู้  มีความรับผิดชอบ  กล้าแสดงความคิดเห็นและศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ
4.ความพร้อมของผู้สอน  ผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้แนะนำมาเป็นผู้อำนวยความสะดวก  ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น  อยากเรียนรู้  กระตุ้นการทำกิจกรรมออนไลน์  และการเผยแพร่บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
5.เนื้อหา  บทเรียน  เนื้อหาบทเรียนจะต้องเหมาะสมกับผู้เรียนให้มากกลุ่มที่สุด  มีหลากหลายให้และผู้เรียนแต่ละกลุ่มเลือกเรียนได้ด้วยตนเอง  มีกิจกรรม  วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน  เลือกใช้สื่อการสอนที่เหมาะสมและเหมาะสมกับความพร้อมของเทคโนโลยี  การลำดับเนื้อหาไม่ซับซ้อน  ไม่ก่อให้เกิดความสับสน  ระบุแหล่งค้นคว้าอื่นๆที่ชัดเจน

    เว็บไซค์ที่เป็นเครือข่ายการเรียนรู้
Trueplookpanya.com

https://sites.google.com/a/bicec.ac.th/e-learning/_/rsrc/1462001515372/wan-wi-sakh-hnwy-thi-1-hnathi-5/2.png?height=134&width=320https://sites.google.com/a/bicec.ac.th/e-learning/_/rsrc/1462366167804/wan-wi-sakh-hnwy-thi-1-hnathi-5/1.jpg?height=215&width=400

 

TKpark.com
                
https://sites.google.com/a/bicec.ac.th/e-learning/_/rsrc/1462366224965/wan-wi-sakh-hnwy-thi-1-hnathi-5/3.jpghttps://sites.google.com/a/bicec.ac.th/e-learning/_/rsrc/1462001657213/wan-wi-sakh-hnwy-thi-1-hnathi-5/4.jpg?height=400&width=394
        
Kroobannok.com

https://sites.google.com/a/bicec.ac.th/e-learning/_/rsrc/1462001809760/wan-wi-sakh-hnwy-thi-1-hnathi-5/7.jpghttps://sites.google.com/a/bicec.ac.th/e-learning/_/rsrc/1462366565242/wan-wi-sakh-hnwy-thi-1-hnathi-5/6.png?height=229&width=400

 

 

          Cabinetthaigov.go.th

https://sites.google.com/a/bicec.ac.th/e-learning/_/rsrc/1462366167804/wan-wi-sakh-hnwy-thi-1-hnathi-5/1.jpg?height=266&width=400

            Ndmi.or.th
https://sites.google.com/a/bicec.ac.th/e-learning/_/rsrc/1462366224965/wan-wi-sakh-hnwy-thi-1-hnathi-5/3.jpg?height=151&width=200https://sites.google.com/a/bicec.ac.th/e-learning/_/rsrc/1462366245911/wan-wi-sakh-hnwy-thi-1-hnathi-5/2.jpg?height=167&width=400

             
Glf.or.th

            https://sites.google.com/a/bicec.ac.th/e-learning/_/rsrc/1462366546220/wan-wi-sakh-hnwy-thi-1-hnathi-5/5.pnghttps://sites.google.com/a/bicec.ac.th/e-learning/_/rsrc/1462366565242/wan-wi-sakh-hnwy-thi-1-hnathi-5/6.png?height=229&width=400   

 

                    
Thaigoodview.com
         
https://sites.google.com/a/bicec.ac.th/e-learning/_/rsrc/1462366709142/wan-wi-sakh-hnwy-thi-1-hnathi-5/9.jpg?height=200&width=200https://sites.google.com/a/bicec.ac.th/e-learning/_/rsrc/1462367064571/wan-wi-sakh-hnwy-thi-1-hnathi-5/8.jpg?height=262&width=400

 



แบบฝึกหัด
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 1
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 2
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 3
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 5
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 6
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 7
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 8
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 9
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 10
 
ผู้จัดทำ
 
 
หน้าแรก
วิทยาลัยการอาชีพสตึก 100 หมู่ที่ 23 ถ. บุรีรัมย์-มหาสารคาม ต.นิคม อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ 31150 โทร. 0-4468-0114 , 08-1955-1489 Fax 0-4468-0208
SATUK INDUSTRIAL AND COMMUNITY EDUCATION COLLEGE ----Email: stuksticc@gmail.com