หน่วยที่ 9 จริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ต
ความหมายของจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต
จริยธรรม หมายถึง หลักการที่มนุษย์ในสังคมยึดถือปฏิบัติ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคม และเมื่อนำไปใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่นิยมใช้มากที่สุดของมนุษย์ในขณะนี้ ย่อมหมายถึงมนุษย์จะต้องมีจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต เพราะในการใช้อินเทอร์เน็ต มนุษย์ย่อยต้องมีสังคม ซึ่งประกอบด้วยคนหลายคนทั่วโลก ดังนั้น จึงสมควรที่จะมีการวางกรอบให้มนุษย์ประพฤติ เพื่อการใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกันอย่างมีความสุข โดยการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติหรือควบคุมการใช้ ซึ่งเมื่อพิจารณาจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว สรุปได้ 4 ประเด็น ดังนี้
1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพังและเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อน่าสังเกต ดังนี้
1.1 การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล
1.2 การใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล
1.3 การใช้ข้อมูลของลูกค้าระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
1.4 การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล เช่น หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ
2. ความถูกต้อง (Information Accuracy) ในการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ประเด็นด้านจริยธรรมเกี่ยวกับความถูกต้องจองข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคลหรือองค์กร
3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property) ในสังคมของโลกอินเทอร์เน็ต มักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ ลิขสิทธิ์เพลง ภาพยนตร์ รูปภาพ วิดีโอ และข้อมูลข่าวสาร ซึ่งผู้ที่เป็นเจ้าของย่อมมีสิทธิ์ในการปกป้องเป็นเจ้าของ
4.การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) เป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการกับข้อมูลผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบ เช่น การซื้อของขายสินค้าด้วยบัตรเครดิต การสั่งจองสินค้าที่จะต้องระบุรายละเอียดส่วนบุคคล เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ต จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ถือว่าเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกัน หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้วการผิดจริยธรรมตามประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น
คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มีความประพฤติไม่ดีบ้าง และมักจะสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฎเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่าย จะต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ข้อบังคับของเครือข่ายนั้น มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆบนเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์
เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข Arlene H. Rinaldiแห่งมหาวิทยาลัย ฟอร์ริดาแอตแลนติก จึงรวบรวมกฎกติกา มารยาทและกำหนดเป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า Netiquette ไว้ดังนี้
1.จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีเมลบ็อกซ์ (mail box) หรือเมลแอดเดรส (E-mail Address) ที่ใช้อ้างอิงในการรับ-ส่งจดหมายความรับผิดชอบต่อการใช้งานอีเมลในระบบจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนตองให้ความสำคัญเพราะจดหมายมีการรับ-ส่งโดยระบบหากมีจดหมายค้างในระบบจำนวนมากจำทำให้พื้นที่ของจดหมาะในระบบหมดจะเป็นผลให้ระบบไม่สามารถรับ-ส่งจดหมายต่อไปได้หลายต่อหลายครั้งระบบปฏิเสธ การรับ-ส่งจดหมายเพราะไฟล์ระบบเต็มดังนั้น จึงควรมีความรับผิดชอบในการดูแลกล่องจดหมาย (Inbox) ของตนเอง ดังนี้
1.ตรวจจดหมายให้บ่อยครั้ง และจะต้องจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในกล่องจดหมายของตนให้เลือกภายในโควตาที่กำหนด เพราะในปัจจุบันมักจะมีจดหมายขยะหรือจดหมายจาก Face book เข้ามาเป็นจำนวนมาก
2.ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการออกจากระบบกล่องจดหมาย เพื่อลดปริมาณจำนวนจดหมายที่อยู่ในกล่องจดหมาย (Inbox) ให้มีจำนวนน้อยที่สุด
3.ทำการโอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังแหล่งเก็บข้อมูลอื่น เช่น ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง แต่ต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัย
4.พึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในกล่องจดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ไม่ควรเก็บข้อมูลหรือจดหมายที่คุณคิดว่าไม่ใช้แล้วเสมือนเป็นประกาศไว้ในตู้จดหมาย
2.จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนา บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีคำสั่งให้ใช้ในการสนทนาออนไลน์ เช่น chat, line, facebookในการเรียกหาหรือเปิดการสนทนา ดังนั้น การสนทนาจะต้องมีมารยาทที่สำคัญ ได้แก่
1.ควรสนทนากับผู้ที่เรารู้จักและต้องสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย ควรระลึกเสมอว่าการขัดจังหวะผู้อื่นที่กำลังทำงานอยู่อาจสร้างปัญหาได้
2. ก่อนการเรียนคู่สนทนาควรตรวจสอบสถานการณ์ใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียก เพราะการเรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฏบนจอภาพของฝ่ายถูกเรียกซึ่งก็สร้างปัญหาการทำงานได้
3. หลังจากเรียนเรียกไปชั่วคณะคู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจจะติดงานสำคัญ ขอให้หยุดการเรียนเพราะข้อความที่เรียกไปปรากฏบนจออย่างแน่นอน
4. ควรใช้วาจาสุขภาพ และให้เกียติซึ่งกันและกัน การแทรกอารมณ์ขัน ควรกระทำกับคนที่รู้จักคุ้นเคยแล้วเท่านั้น
3.จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าว เว็บบอร์ด หรือสื่อทางข่าวสาร ข่าวและผู้อภิปรายเรื่องต่างๆ ที่เขียนลงไปจะกระจายออกไปทั่วโลก ผู้ใช้บริการโดยเฉพาะที่ต้องการเขียนข่าวสารบนกระดานข่าว จะต้องเคารพกฎกติกามารยาทโดยเคร่งครัด ข้อปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่
1. เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็นไม่กำกวม ใช้ภาษาที่สุขภาพ
2. ในแต่ละเรื่องที่เขียนให้ตรงโดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อต่อเรื่อง
3. การเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น การให้อีเมลอาจจะตรงประเด็นกว่า
4. ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ โคมลอยหรือข่าวลือ หรือเขียนข่าวเพื่อความสนุกโดยขาดความรับผิดชอบ
5. จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่น ๆ เพราะหลายครั้งที่อ่านข่าว อาจจะมีปัญหาในการแสดงผล
6. ข่าวบางข่าวมีการกระจายกันมาเป็นลำดับใช้ และอ้างอิงต่อ ๆ กันมา การเขียนข่าวจึงควรพิจารณาในประเด็นนี้ด้วย
7. ไม่ควรใช้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืองานเฉพาะของตน เพื่อประโยชน์ส่วนตัวในเรื่องการค้า
8. การเขียนภาพข่าวทุกครั้งจะต้องลงชื่อไว้ตอนล่างของข้อความ เพื่อบอกชื่อ อีเมลแอดเดรสที่อ้างอิงได้ทางอินเทอร์เน็ตหรือให้ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้
9. ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง
10. ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
11. ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่น เช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมด โดยไม่มีการสรุปย่อและเมื่อส่งข่าวย่อจะต้องอ้างอิงที่มา
12. ไม่ควรใช้กระดาษข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น
4. บัญญัติ 10 ประการ เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติ ดังนี้คือ
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นตนเอง
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท
จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบ ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝัง กฎเกณฑ์ของแต่ละเครือข่าย จึงต้องมีการวางระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษและจรรยาบรรณที่ชัดเจน เพื่อช่วยให้สังคมสงบสุขและหากการละเมิดรุนแรงกฎหมายก็จะเข้ามาบทบาทได้เช่นกัน
อินเทอร์เน็ตกับผลกระทบต่อสังคมไทย
อินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย เห็นได้จากหนังสือพิมพ์ วารสาร รายการโทรทัศน์ วิทยุต่าง ๆ ได้นำเรื่องของอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่นำเสนอต่อสาธารณะในแง่มุมต่าง ๆ การเผยแพร่ข่าวสารทางอินเทอร์เน็ตเริ่มมีมากขึ้นและในรูปแบบที่หลากหลายกว่าเดิม ผลกระทบต่อสังคมไทยมีทั้งด้านบวกและด้านลบ เช่น
อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบทางบวกต่อสังคม ดังนี้
1.ทำให้มีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารในเครือข่ายขนาดใหญ่ กล่าวคือ ทำให้คนในสังคมติดต่อสื่อสารได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา
2.ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน เช่น การติดต่อสื่อสารผ่านอีเมล การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย
3.ช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทำให้เกิดการศึกษารูปแบบใหม่ที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้เกิดความสนุกสนานในการเรียนรู้ อีกทั้งทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ได้แก่ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต ( E-Learning)
อินเทอร์เน็ตมีผลชกระทบทางลบต่อสังคม ดังนี้
1.ก่อให้เกิดความเครียดคนในสังคม กล่าวคือ อินเทอร์เน็ตทำให้คนในสังคมเข้าถึงข้อมูลมากมายมหาศาล สภาพสังคมจึงเปลี่ยนเป็นสังคมฐานความรู้ หรือสังคมที่ใช้ความรู้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดังนั้น จึงเกิดการแข่งขันด้านเศรษฐกิจกันอย่างรุนแรง ซึ่งการตัดสินใจในการทำงานต้องใช้ข้อมูลที่มีคุณภาพเพื่อให้ตัดสินใจได้ถูกต้อง ทำให้คนในสังคมเกิดความกดดันและเกิดความเครียดสูงขึ้น
2.เกิดความแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดค่านิยมที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นในสังคม เช่น การแต่งกายที่ไม่เหมาะสมของเยาวชน การติดเกมประเภทความรุนแรง เป็นต้น
3.เกิดช่องว่างระหว่างคนในสังคม เนื่องจากคนในสังคมใช้เวลาในการเล่นอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมลดลง จนเกิดคำพูดที่ว่า “เทคโนโลยีทำให้คนไกลใกล้กันมากขึ้น แต่เทคโนโลยีก็ทำให้คนใกล้ไกลกันมากขึ้น “ หรือที่นิยมเรียกกันว่า “เป็นสังคมก้มหน้า” กล่าวคือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้คนที่อยู่ไกลกันสามารถสื่อสารได้เหมือนอยู่ใกล้กัน ในขณะที่ทำให้คนที่อยู่ใกล้กันเกิดความห่างไกลกันมากขึ้น เช่น คนในครอบครัวที่ต่างคนต่างคุยกับเพื่อนในอินเทอร์เน็ต จึงมีเวลาพูดคุยกับคนในครอบครัวน้อยลง
4.เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นโลกเสรีที่ให้ผู้คนสามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้ แต่การแสดงความคิดเห็นที่ไร้ขอบเขต ย่อมส่งผลต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่นการนำข้อมูลส่วนบุคคลออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นจริงหรือไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้อง การแสดงความคิดเห็นด้วยถ้อยคำที่รุนแรงต่อบุคคลผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
5.อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ผู้ไม่หวังดีอาจใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด เช่นการล่อลวงผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ตและก่อคดีล่วงละเมิดทางเพศ การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งภาพลามกอนาจาร การพนันออนไลน์ การจำหน่ายของผิดกฎหมาย การส่งไวรัสไปทำลายข้อมูลของผู้อื่น เป็นต้น
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ต
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตที่สำคัญ นอกจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ก็คือ กฎหมายที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ เพราะข้อมูลข่าวสารในอินเทอร์เน็ตเป็นอิสระของผู้ใช้ แต่ก็มีส่วนที่ทำให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่บ่อยครั้ง จึงควรที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ด้วย
ลิขสิทธิ์ ( Copyright ) คืออะไร
ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง ที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ที่ตนได้กระทำขึ้น
งานอันมีลิขสิทธิ์ งานสร้างสรรค์ที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ต้องเป็นงานในสาขา วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ รวมถึงงานอื่น ๆ ในแผนกวรรคดี วิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ งานเหล่านี้ถือเป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ สิทธิในลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันที นับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างผลงานออกมาโดยไม่ต้องจดทะเบียน หรือผ่านพิธีการใด ๆ
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้ประโยชน์จากผลงานสร้างสรรค์ของตนในการทำซ้ำดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมทั้งสินสิทธิในการเช่า โดยทั่วไปอายุการคุ้มครองสิทธิจะมีผลเกิดขึ้นทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน โดยความคุ้มครองนี้จะมีตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต
ประโยชน์ต่อผู้บริโภค การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิในผลงานลิขสิทธิ์ มีผลให้เกิดแรงจูงใจแก่ผู้สร้างสรรค์ ทำการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางวรรณกรรมและศิลปกรรมออกสู่ตลาด ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับความรู้ ความบันเทิง และได้ใช้ผลงานที่มีคุณภาพ
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
กฎหมายลิขสิทธิ์มีวัตถุประสงค์ให้ความคุ้มครองป้องกันผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจแบะทางศีลธรรมซึ่งบุคคลพึงได้รับจากผลงานสร้างสรรค์อันเกิดจากความนึกคิดและสติปัญญาของตน นอกจากนี้ ยังมุ่งที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงาน กล่าวคือ เมื่อผู้สร้างสรรค์ได้รับผลตอบแทนจากหยาดเหงื่อแรงกายและสติปัญญาของตน ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการลงทุน ก็ย่อมจะเกิดกำลังใจที่จะคิดค้นสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานให้แพร่หลายออกไปมากยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี การกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาสติปัญญาของคนในชาติ เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยังยืนต่อไปในอนาคต
ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2557 เพื่อใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2538 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ให้ความคุ้มครองต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยจัดเป็นผลงานทางวรรณกรรมประเภทหนึ่ง และงานที่ได้จัดทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ จะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
แม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์มาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่ความเข้าใจของประชาชนโดยทั่วไปในเรื่องลิขสิทธิ์ยังไม่ใช่เจน ความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการคุ้มครองลิขสิทธิ์และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะนำไปสู่การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ยั่งยืนกว่าการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้ให้ความหมายคำว่า “ลิขสิทธิ์” ว่า หมายถึง สิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวที่จะทำการการใดๆตามพระราชบัญญัตินี้ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น นั่นก็หมายความว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่มีสิทธิ์ของตนเอง
การละเมิดลิขสิทธิ์
การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง : คือ การทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์แก่สาธารณชนรวมทั้งการนำต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าวออกให้เช่า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ของตนเอง
การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม : คือ การกระทำทางการค้า หรือการกระทำที่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวข้างต้นโดยผู้กระทำรู้อยู่แล้วว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น แต่ก็ยังกระทำเพื่อหากำไรจากงานนั้น ได้แก่ การขาย มีไว้เพื่อขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ เผยแพร่ต่อสาธารณชน แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ และนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร
บทกำหนดโทษ
1.การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง : มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท หากเป็นการกระทำเพื่อการค้า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 80,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม : มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท หากเป็นการการกระทำเพื่อการค้า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดกระทำความผิดต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับนี้ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปีกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้อีก จะต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นปรับ
กรณีที่นิติบุคคลกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่ากรรมการหรือผู้จัดการทุกคนของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้กระทำความผิดกับนิติบุคคลนั้น เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่ามิได้รู้เห็นหรือยินยอม
ค่าปรับที่ได้มีการชำระตามคำพิพากษานั้น ครึ่งหนึ่งจะตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ดี การได้ค่าปรับดังกล่าวไม่กระทบต่อสิทธิ์ของเจ้าของสิทธิ์ ที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งสำหรับส่วนที่เกินจำนวนเงินค่าปรับที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับไว้แล้ว
สาระน่ารู้
จริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะได้ป้องกันการกระทำผิดอันเนื่องมาจากการใช้คอมพิวเตอร์ โดยเบื้องต้น เพียงแค่ไม่ทำการรูปแล้วส่งข้อสอบทางไลน์ หรือการกล่าวหา ใส่ร้าย เพื่อนๆ ทางFace bookและที่สำคัญ ไม่มีการเข้าไปในโลกอินเทอร์เน็ตระหว่างที่กำลังเรียน ก็แสดงว่า ในเบื้องต้น ถือเป็นผู้จริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาตามระดับคุณวุฒิอาชีวศึกษา
คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม
และคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์
|
พฤติกรรมบ่งชี้ |
1. รับผิดชอบ หมายถึง การยอมรับผลการกระทำของตนเองทั้งในสิ่งที่ดีและไม่ดี และสามารถควบคุมตนเองได้ มีความมุ่งมั่นและเพียรพยามยาม ในการเรียนและการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ทันกำหนดเวลา มีการวางแผนการปฏิบัติงาน การใช้เวลาอย่างมีระบบและเหมาะสม ตลอดทั้งการปฏิบัติอย่างครบถ้วน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อตนเอง ผู้อื่นและสังคม |
1.1 ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายสำเร็จตามที่กำหนด
1.2 ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่น
1.3 ยอมรับผลการกระทำของตนเอง |
2. ขยัน หมายถึง ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมออดทน ไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องปฏิบัติควบคู่กับการใช้สติปัญญาแก้ปัญหาและหรือพัฒนาสิ่งใหม่ๆจนเกิดผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย |
2.1 ศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ใหม่ๆด้วยตนเอง
2.2 แสวงหาประสบการณ์เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานอาชีพ
2.3 ตั้งใจทำหน้าที่การทำงานอย่างต่อเนื่องจนเกิดผลสำเร็จ
2.4 คิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
2.5 มีความคิดหลายหลายในการแก้ปัญหา |
3. ประหยัด หมายถึง การรู้จักเก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของ แต่พอควรพอประมาณ ให้เกิดประโยชน์ คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ |
3.1 ใช้วัสดุถูกต้อง เพียงพอและเหมาะสมกับงาน
3.2 ปิดน้ำ ปิดไฟทุกครั้งเมื่อเลิกใช้
3.3 เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า |
4. ซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง ความประพฤติที่ตรงและจริงใจ ทั้งต่อหน้าที่และวิชาชีพ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คอโกง ไม่หลอกหลวง ไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรือคติ |
4.1ประพฤติตรง ทั้งต่อหน้าที่และต่อวิชาชีพ
4.2ไม่โกหก
4.3ไม่ลักขโมย
4.4ไม่ทุจริตในการสอบ
4.5ไม่นำผลงานของคนอื่นมาแอบอ้างเป็นของตนเองทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
4.6ปฏิบัติหน้าที่และรักษาประโยชน์ขององค์กร
4.7ไม่เพิกเฉยต่อสิ่งที่ได้รับรู้และการกระทำที่ไม่ถูกต้อง |
5. จิตอาสา หมายถึง การมีจิตใจเป็นผู้ให้มีน้ำใจ เห็นอกเห็นใจในเพื่อนมนุษย์ เอื้ออาทรช่วยเหลือด้วยกำลังแรงกาย สติปัญญา และเสียสละเพื่อส่วนรวม |
5.1 ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยกำลังแรงกายและสติปัญญา
5.2 อุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม
5.3 แบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่น
5.4 อาสาช่วยเหลืองานครูอาจารย์ |
6. สามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพรียงกันความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกันร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามที่ต้องการเกิดจากงานอย่างสร้างสรรค์ ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกันเป็นการยอมรับความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ |
6.1ร่วมมือในการทำงานด้วยความกลมเกลียวและปรองดอง
6.2 รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
6.3 ปฏิบัติตนตามบทบาทผู้นำและผู้ตามที่ดี
6.4 ยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อที่หลากหลาย พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ
6.5 ไม่ทะเลาะวิวาท |
7. มีวินัย หมายถึง การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยต่อสถานศึกษา สถาบันองค์กร สังคมและประเทศ |
7.1ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของสถานศึกษา และสังคม
7.2 ปฏิบัติตามกติกาและมารยาทของสังคม
7.3 ประพฤติตนตามหลักศีลธรรมอันดีงาม
7.4 ประพฤติตนตรงต่อเวลา |
8. สะอาด หมายถึง การปราศจากความมั่วหมอง ทั้งกายใจและสภาพแวดล้อม ความผ่องใสเป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น |
8.1 คิดดี พูดดี ทำดี
8.2 รักษาสุขภาพร่างกายตามหลักสุขอนามัย
8.3 รักษาที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมตามคุณลักษณะที่ดี |
9.สุภาพ หมายถึง ความเรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อมมีกริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ และสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างบุคคล |
9.1ประพฤติตน สุภาพ เรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตน ตามสถานภาพและกาลเทศะ
9.2 ประพฤติตนเหมาะสมตามมารยาทของวัฒนธรรมไทย
9.3 ไม่ประพฤติก้าวร้าวรุนแรง วางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทาง
9.4 ควบคุมกริยามารยาทในสถานการณ์ที่ไม่พึ่งประสงค์
9.5 แสดงสัมมาคารวะต่อครู อาจารย์อย่างสม่ำเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง
9.6 แสดงความมีมนุษย์สัมพันธ์ |
10. ละเว้นอบายมุข หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงหนทางแห่งความเสื่อม |
10.1 ไม่เสพสิ่งเสพติดและของมึนเมา
10.2 ไม่เล่นการพนัน
10.3 หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในแหล่งมั่วสุม |
|