อุปกรณ์ต่อพ่วง คือ อุปกรณ์ที่สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล กลางและประกอบเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. แผงแป้นอักขระ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงใน เครื่องคอมพิวเตอร์มีลักษณะป็นแป้นตัวอักษรเหมือนแป้นเครื่องพิมพ์ดีด เป็นอุปกรณ์นำข้อมูลเข้าพื้นฐานที่ต้องใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง คีย์บอร์ดจะมีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อความสะดวกในการป้อนข้อมูลท ี่เป็นตัวเลขและสะดวก การวางตำแหน่งแป้นอักษรจะเป็นไปตามมาตรฐาน ของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีดที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (Shift) เพื่อใช้พิมพ์ตัวอักษรบน ตัวพิมพ์ใหญ่ และตัวพิมพ์เล็ก ระบบรหัสตัวอักษรที่ใช้ ในทางคอมพิวเตอร์จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ เครื่องจะส่งรหัส 7 หรือ 8 บิตเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ ภายในแป้นพิมพ์จะมีแผงวงจรหลักที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวน มากมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ที่ถูกฉาบด้วยหมึกที่เป็นตัวนำไฟฟ้า เมื่อแป้นพิมพ์ถูกกดจนติดกับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ก็จะมีกระแสไฟฟ้าไหลในตัววงจร ข้อมูลในรูปของสัญญาณไฟฟ้าจากแป้นที่ถูกกดแต่ละแป้นจะถูกเปรียบเทียบรหัส (Scan Code) กับรหัสมาตรฐานของแต่ละแป้นที่กดเพื่อปลี่ยนให้เป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ไปปรากฏที่จอคอมพิวเตอร์ ระบบรหัสที่ใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ คือ รหัส ASCII (American Standard Conde for Information Interchange) เป็นรหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ เป็นรหัสอักขระที่ประกอบด้วย อักษรละติน เลขอารบิก เครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ต่างๆโดยแต่ละรหัสจะแทนด้วยตัวอักขระหนึ่งตัว เช่น รหัส 65 (เลขฐานสิบ) ใช้แทนอักษรเอ (A) พิมพ์ใหญ่ เป็นต้น คีย์บอร์ด มี 5 แบบ คือ · Desktop Keyboard มี 101 แป้น Desktop Keyboard with Hot Keys คือ คีย์บอร์ดที่มีจำนวนแป้นมากกว่า 101 แป้นขึ้นไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งจะมีปุ่มพิเศษสำหรับระบบปฏิบัติการ Windows Wireless Keyboard คือ คีย์บอร์ดไร้สายไม่ต้องต่อสายเข้ากับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่จะมีอุปกรณ์รับสัญญรจากคีย์บอร์ด การทำงานจะใช้ความถี่วิทยุในการสื่อสาร ซึ่งความถี่ที่ใช้จะอยู่ที่ 27 MHZ (Megahertz) อุปกรณ์ชนิดนี้มักจะมาคู่กับอุปกรณ์เม้าส์ MHZ (Megahertz) เป็นหน่วยวัดกระแสไฟฟ้าชนิดกระแสไฟสลับ (AC : Alternating Current Bectricity) Security Keyboard คือ คีย์บอร์ดที่มีช่องเสียบ Smart Card เพื่อป้องกันการใช้งานจากผู้ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของคีย์บอร์ด คีย์บอร์ดชนิดนี้เหมาะสมกับการ ใช้งานที่ต้องการความปลอดภัยสูงหรือใช้ควบคุมเครื่อง Server ที่ยอมให้เฉพาะ Admin ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ Update ข้อมูล การเลือกซื้อแผงแป้นอักขระควรพิจารณารุ่นใหม่ที่เป็นมาตรฐานและสามารถ ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ สำหรับเครื่องขนาดกระเป๋าหิ้ว ไม่ว่าจะเป็นโน็ตบุ๊ค แล็ปท็อป ขนาดแผงแป้นอักขระยังไม่มีการกำหนดเป็นมาตรฐาน เพราะผู้ผลิตมีความต้องการให้เครื่องมีขนาดเล็กลง โดยลดจำนวนแป้นแล้วใช้แป้นหลาย แป้นพร้อมกันแทนการทำงานในแป้นเดียว แผงแป้นอักขระ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน 1. Typing Keys คือ กลุ่มแป้นอักขระการวางแป้นอักขระจะเหมือนกับการวางแป้นอักขระบนเครื่องพิมพ์ดีด 2. Numeric Keypad คือ กลุ่มแป้นตัวเลขและเครื่องหมายที่ใช้ในการคำนวณ
3. Function Keys คือ กลุ่มฟังก์ชันมี 12 แป้น คือ F1-F12 4. Control Keys คือ แป้นควบคุมต่างๆ เช่น Ctrl, Alt เป็นต้น การทำงานของแผงแป้นอักขระจะเกิดจากการเปลี่ยนกลไลการกดแป้น ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเพื่อส่งให้กับคอมพิวเตอร์ โดยสัญญาณดังกล่าวจะแจ้งให้คอมพิวเตอร ์ทราบว่าผู้ใช้กดแป้นอะไรซึ่งการทำงานของแผงแป้นอักขระทั้งหมดจะถูกควบคุมด้วย ไมโครโปรเซสเซอร์ ขนาดเล็กที่บรรจุในแผงแป้นอักขระ ซึ่งสัญญาณต่างๆจะส่งผ่านสาย สัญญาณผ่านทางขั้วต่อ ขั้วต่อมี 4 ประเภท คือ 5-pin DIN (Deutsche Institute fur Normung) Connector เป็นขั้วต่อที่มีขนาดใหญ่ใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ 6-pin IBM PS/2 Mini-DIN Connector เป็นขั้วต่อขนาดเล็กใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน 4-pin USB (Universal Serial Bus) Connector เป็นขั้วต่อรุ่นใหม่ ปุ่มต่างๆบนคีย์บอร์ดเพื่อการใช้งานในเบื้องต้น 1. ~ (Grave Accent) ใช้สลับภาษาที่พิมพ์ 2. Enter ใช้ในการขึ้นบรรทัดใหม่ หรือยืนยันการสั่งงาน 3. ESC (Escape) ใช้ยกเลิกหรือหยุดทำงาน 4. Backspace ใช้ลบตัวอักษรที่อยู่ด้านซ้ายของ Cursor 5. Delete ใช้ลบตัวอักษรที่อยู่ด้านขวาของ Cursor 6. Num Lock ใช้เปิดและปิดการใช้งานปุ่มตัวเลขที่อยู่ทางด้านขวาของคีย์บอร์ด
2. เม้าส์ (Mouse) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลอย่างหนึ่ง แต่ที่เห็นการทำงานโดยทั่วไปจะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ เหมาะกับการใช้งานที่ต้องเลือกหรือเลื่อนวัตถุต่างๆ บนจอคอมพิวเตอร์ การทำงานของเม้าส์ มี 3 ประเภท คือ 1. เม้าส์ทางกล (Mechanical Mouse) อาศัยลูกบอลยางที่กลิ้งไปมาได้ เมื่อเคลื่อนย้ายเม้าส์ ลูกบอลจะกดแนบอยู่กับลูกกลิ้ง แกนของลูกกลิ้งจะต่อกับจานแปลรหัส บนจานจะมีหน้าสัมผัสเป็นจุดๆ เมื่อจุดสัมผัสเลื่อนมาตรงแกนสัมผัสก ็จะสร้างสัญญาณแจ้งไปยังคอมพิวเตอร์โปรแกรมควบคุมเม้าส์จะทำหน้า ที่แปลคำสั่งเพื่อเคลื่อนย้าย Cursor บนจอภาพต่อไป 2. เม้าส์ใช้แสง (Optical Mouse) การทำงานคล้ายกับ Mechanical ต่างกันที่ตัวรับการเคลื่อนที่ของจาน Encoder จะมี LED อยู่อีกด้านหนึ่งของจานไว้กำหนดแสงและอีกด้านหนึ่งจะมีทรานซิสเตอร์ไวแสง (OPTP-Transistor) ไว้ตรวจจับแสงแทนการใช้การสัมผัส 3. เม้าส์ไร้สาย (Wireless Mouse) คือ เม้าส์ที่มีการทำงานเหมือนเม้าส์ทั่วๆไป แต่จะไม่มีสายต่อออกมาจากตัวเม้าส์ เม้าส์ชนิดนี้จะมีตัวรับและตัวส่งสัญญาณ ตัวรับสัญญาณอาจเป็นหัวต่อแบบ PS/2 หรือแบบ USB ที่เรียกว่า Thumb USB Receiver ซึ่งใช้ค่าความถี่วิทยุอยู่ที่ 27 MHz และปัจจุบันใช้แบบ Nano Receiver ซึ่งใช้ความถี่วิทยุที่ 2.4 GHz MHz (Megaheriz) คือ หน่วยวัดกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ (AC : Alternating Current) หรือ ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EM) = 1,000,000 hertz (1 ล้านเฮิรตซ์) หน่วยนี้ใช้ในการแสดงความเร็ว นาฬิกา ไมโครโปรเซสเซอร์ และพบในการวัดสัญาณ Bandwidth สำหรับข้อมูลดิจิตอล ความเร็วสูง สัญญาณวิดีโอ อนาล็อก และสัญญาณการกระจายสเปกตรัม GHz (Gighertz) คือ หน่วยวัดกระแสไฟฟ้าสลับ (AC : Alternating Current) หรือความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EM) = พันล้านเฮิรตซ์ (1,000,000,000Hz) Gigahertz ได้รับการใช้เป็นตัวชี้ความถี่ของ Ultra-High-Frequency (UHF) และสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไมโครเวฟ (Microwave) รวมถึงคอมพิวเตอร์บางเรื่องที่ใช้แสดงความเร็วของนาฬิกาของ ไมโครโปรเซสเซอร์บนเม้าส์จะมีปุ่ม 2-3 ปุ่มขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิตว่าต้องการจะผลิตเม้าส์เพื่อรองรับโปรแกรมอะไรบ้าง บางโปรแกรมอาจต้องใช้ปุ่มกลางเพื่อการใช้งาน แต่การใช้งานโดยทั่วๆไปนิยม ใช้ส่วนนิ้วกลางวางไว้ที่ปุ่มขวาของเม้าส์ อุ้งมือใช้สำหรับเคลื่อนเม้าส์ไปมาได้สะดวก เมื่อเลื่อนเม้าส์ จะพบตัวชี้เม้าส์เลื่อนไปมาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ การใช้เม้าส์ 1. คลิก (Click) คือ การกดปุ่มซ้ายของเม้าส์ 1 ครั้ง เพื่อใช้เลือกรายการหรือคำสั่งต่างๆ 2. ดับเบิ้ลคลิก (Double Click) คือ การกดปุ่มซ้ายของเม้าส์ 2 ครั้งติดๆ กันเพื่อเปิดไอคอนหรือชอร์ตคัตของโปรแกรมขึ้นมาทำงาน 3. แดรกเม้าส์ (Drag Mouse) คือ การกดปุ่มซ้ายของเม้าส์ค้างไว้ แล้วลากไปให้คลุมข้อความที่ต้องการ 4. กดปุ่มขวาของเม้าส์ (Right Chick) คือ การเข้าสู่เมนูหลัก 5. ทริเปิลคลิก (Triple-click) คือ การคลิกปุ่มซ้ายของเม้าส์ 3 ครั้ง ติดต่อกันอย่างรวดเร็วใช้มากที่สุดใน Microsoft Word และใน Web Browsers เพื่อเลือกข้อความทั้งย่อหน้า หลักการทำงานของเครื่องอ่านบาร์โค้ด 1. เครื่องอ่านจะฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค้ดหรือแหล่งกำเนิดแสง (Light Source) ภายในเครื่องอ่านบาร์โค้ดจะฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค้ดและกวาดแสงอ่านผ่านแท่งบาร์โค้ด 2. รีบแสงที่สะท้อนกลับมาที่ตัวบาร์โค้ดฉายการอ่านบาร์โค้ดจะใช้หลักการสะท้อนแสงกลับ มาที่ตัวรับแสง 3. เปลี่ยนปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมาให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าภายในเครื่องอ่านบาร์โค้ด จะมีอุปกรณ์เปลี่ยนปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมาให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า 4. เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นข้อมูลที่นำไปใช้งานได้ สัญญาณไฟฟ้าจะไปเปรียบเทียบกับตารางบาร์โค้ดที่ตัวถอดรหัส (Decoder) และเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้ 2.11 สแกนเนอร์ (Scanner) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนภาพต้นฉบับ (ภาพถ่าย ตัวอักษรบนหน้ากระดาษ ภาพวาด) ให้เป็นข้อมูล เพื่อให้คอมพิวเตอร์นำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์เพื่อการแสดงผลที่จอคอมพิวเตอร์ รวมทั้งแก้ไข ตกแต่ง เพิ่มเติม และจัดเก็บได้ หลักการทำงานของสแกนเนอร์ เครื่องอ่านภาพจะทำการอ่านภาพโดยอาศัยการสะท้อน หรือการส่องผ่านของแสงกับภาพต้นฉบับที่ทึบแสง หรือโปร่งแสงให้ตกมากระทบกับแถบของอุปกรณ์ไวแสง (Photosensitive) มีชื่อในทางเทคนิคว่า Charge-Couple Device (CCD) ตัว CCD จะรับแสงลงไปเก็บไว้ในเส้นเล็กของเซลล์ และจะแปลงคลื่นแสงของแต่ละเซลล์เล็กๆ ให้กลายเป็นคลื่นความต่างศักย์ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามอัตราส่วนของระดับ ความเข้มของแสงแต่ละจุดตัวแปลสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอลจะแปลงคลื่น ความต่างศักย์ให้เป็นข้อมูลและอยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ ในเวลาเดียวกันโปรแกรม ในการอ่านที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องอ่านภาพให้รับข้อมูลเข้าและจัดรูปแบบ เป็นแฟ้มข้อมูลของภาพ ในระบบคอมพิวเตอร์ต่อไป ภาพในคอมพิวเตอร์จะอยู่ในรูปแบบดิจิตอลคอมพิวเตอร์จะแทนส่วนเล็กๆ ของภาพที่เรียกว่า “พิกเซล (Pixels)” ขนาดของไฟล์ภาพ ประกอบด้วย จำนวนพิกเซล คอมพิวเตอร์จะบันทึกค่าความเข้มและค่าสีของพิกเซลแต่เซลล์ด้วยจำนวน 1 บิต หรือหลายๆ บิต จำนวนของพิกเซลจะบอกถึงความละเอียดของภาพ บิต (Bit : Binary Digit) คือ ลำดับชั้นของข้อมูลที่เล็กที่สุด ข้อมูลที่จะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์จะต้องแปลงให้อยู่ในรูปแบบของเลขฐานสอง คอมพิวเตอร์ถึงจะเข้าใจและทำงานตามที่ต้องการได้ เลขฐานสองถูกนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ เพราะเลขฐานสอง ประกอบด้วย 0 กับ 1 ซึ่งสามารถแทนสถานการณ์ 2 อย่าง คือ เปิดและปิด หรือจริงกับเท็จ (ไม่จริง) สามารถนำไปใช้กับระดับแรงดันไฟฟ้า ในวงจรของเครื่องมือที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ได้พอดีรูปแบบการเก็บข้อมูลมีหลายระบบ เช่น 1 บิต 8 บิต และ 24 บิต ถ้าเป็นข้อมูลชนิด 1 บิต จะใช้เก็บข้อมูลต่อพิกเซล 2 สถานะ คือ 0 และ 1 จะแสดงได้เฉพาะสีขาว-ดำ ถ้า 8 บิต จะใช้ความแตกต่างของสีถึง 256 ระดับ (2*2*2*2*2*2*2*2) การรวมแม่สีใช้เทคนิค ที่เรียกว่า Dithering ซึ่งจะแสดงสีที่มองเห็นได้ไม่เหมือนจริง สำหรับ 24 บิต จะให้ภาพที่มีสีที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่เรียกว่า Photo-Realistic โดยจะแบ่ง 24 บิต เป็น 3 ส่วน คือ แดง เขียว น้ำเงิน ส่วนละ 8 บิต เมื่อรวมทั้ง 3 ส่วน เข้าด้วยกันแล้วจะแสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี 2.12 กล้องดิจิตอล (Digotal Camera) คือ กล้องถ่ายรูปที่ไม่ต้องใช้ฟิล์ม ภาพที่ถ่ายจากกล้องดิจิตอลจะถูกบันทึกแบบดิจิตอลโดยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในกล้อง โดยอยู่ในรูปแบบของไฟล์ภาพที่สามารถส่งเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อพิมพ์ออกมาเป็นภาพ กล้องดิจิตอลแบ่งตามการใช้งานของ CCD (Charge Coupled Device) และลักษณะการใช้เลนส์ได้ 3 ประเภท ได้แก่ 1. กล้องคอมแพค (Compact Camera) เป็นกล้องที่ใช้ CCD ตลอกเวลาเพื่อส่งภาพไปที่จอ LCD (Liquid Crystal Display) มี CCD ทำให้เกิดความร้อนใน CCD น้อยที่สุด เมื่อต้องการบันทึกภาพก็คัดลอกข้อมูลบน CCD ในวินาทีที่ต้องการ แล้วนำไปประมวลผลต่อ มีเลนส์ที่ติดตั้งคู่กับ CCD ตลอดเวลาไม่สามารถถอดออกได้ ในการใช้งานปกติภาพที่เห็นในช่องมองภาพเป็นคนละภาพ (ใกล้เคียง) กับภาพที่ต้องการถ่าย สามารถปรับรูรับแสงและความเร็วของชัตเตอร์ได้น้อย ตัวกล้องมีขนาดเล็ก การทำงานเพื่อบันทึกภาพของกล้องดิจิตอลคอมแพคก็ใช้หลักการเดียวกับกล้อง DSLR เพียงแต่กล้องดิจิตอลคอมแพคจะไม่มีกระจกสะท้อนภาพ ไม่มีม่านชัตเตอร์ และไม่มี Pentaprism จะถ่ายรูปออกมาได้เมื่อแสงลอดผ่านเลนส์เข้ามาตกกระทบบนเซลเซอร์รับภาพ นั่นก็คือ เซนเซอร์จะได้รับแสงตลอดเวลาที่เปิดกล้องข้อดีก็คือ สามารถนำมาทำเป็นระบบ Live View อย่างที่ใช้กันอยู่ได้ CCD ย่อมาจาก Charge Coupled Device เป็น Sensor ที่ทำงานโดยส่วนที่เป็น Sensor แต่ละพิกเซลจะทำหน้าที่รับแสงและเปลี่ยนค่าแสงเป็นสัญญาณอนาล็อกส่งเข้าสู่วงจร เปลี่ยนค่าอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิตอลอีกครั้ง ซึ่งการรับแสงเป็นไปได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องเสียพื้นที่ในการแปลงสัญญาณอย่าง CMOS ซึ่งตัวแปลงสัญญาณก็อยู่แยกกันทำให้ ้เกิดสัญญาณรบกวนน้อยกว่า แต่ก็มีข้อเสียในด้านความร้อนและเปลืองพลังงาน CMOS ย่อมาจาก Complementary Metal Oxide Semiconductor เป็น Sensor ที่มีลักษณะการทำงานโดยแตะละพิกเซล จะมีวงจรย่อยๆเปลี่ยนค่าแสงที่เข้ามาเป็นสัญญาณดิจิตอล ทันทีไม่ต้องส่งออกไปแปลงเหมือน CCD 2. กล้องคอมแพคระดับสูง (Prosumer) (DSLR-Like) พัฒนาขึ้นมาจากคอมแพค ให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น CCD ใหญ่ขึ้นเมื่อ CCD ใหญ่ขึ้นเลนส์ก็ต้องใหญ่ขึ้น ทำให้สามารถเก็บแสงได้มากขึ้นสีสันและมิติภาพจึงมีมากกว่าคอมแพค แต่การเก็บภาพยังใช้หลักการของคอมแพค คือ CCD รับภาพตลอดเวลาส่งให้ช่องมองภาพกและจอ LCD การที่ CCD ต้องรับภาพตลอดเวลา กลายเป็นข้อจำกัดของกล้องชนิดนี้ทำให้ไม่สามารถขยายขนาด CCD ให้ใหญ่ทัดเทียมกับ DSLR ได้ เลนส์ที่ติดตั้งก็จะติดตั้งมากับตัวกล้อง ภาพที่เห็นในช่องมองภาพเป็นภาพเดียวกับภพที่ต้องการถ่ายสามารถปรับรูรับ แสงและความเร็วชัตเตอร์ได้แต่อยู่ในวงแคบ 3. กล้อง Digital Single Lens Reflex ZDSLR) (SLR : Single Lens Reflex) หมายถึง ใช้การสะท้อนของเลนส์ชุดเดียวทั้งแสงที่จะตกลงใน CCD และแสงที่เข้าสู่ตาในช่องมองภาพ ส่วนใหญ่ภาพที่เกิดในช่องมองภาพจะเกิดจากแสงจริงสะท้อนผ่านชิ้นเลนส์เข้าสู่ตา ไม่ได้เกิดจากการรับภาพของ CCD จึงไม่สามารถมองภาพผ่านทาง LCD ได้มีเลนส์ขนาดใหญ่ เพราะมีขนาด CCD ที่ใหญ่ CCD รับแสงเฉพาะตอนที่ม่านชัตเตอร์ปิดให้แสงผ่านเท่านั้น สามารถถอดเลนส์เปลี่ยนได้ เพื่อให้ได้ภาพที่ต้องการ มีทั้งเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสที่ตายตัว หรือเปลี่ยนความยาวโฟกัสได้ แต่มีกล้อง DSLR บางชนิดที่สามารถมองภาพจาก LCD ได้ โดยแยก CCD ออกเป็น 2 ชุด ชุดแรกสำหรับประมวลผลภาพออกทาง LCD ชุดที่สองไว้บันทึกภาพ กล้องประเภทนี้มีตัวกล้องที่ใหญ่กลไลการทำงานของกล้องประเภท นี้ถือว่าเป็นพื้นฐานไปสู่การทำงานของกล้องอื่นๆด้วย กล้อง DSLR (Digital Single Lens Reflect) การโอนภาพจากกล้องดิจิตอลมาไว้ในคอมพิวเตอร์ การโอนย้ายภาพจากกล้องดิจิตอลไปไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อจะ ได้มีพื้นที่ในการถ่ายภาพต่างๆไป การโอนภาพ มี 2 วิธี คือ 1. เชื่อมต่อกล้องด้วยสาย USB เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อซื้อกล้องดิจิตอล ผู้ขายจะให้สาย USB มา 1 เส้น ผู้ใช้สามารถเสียบสายข้างหนึ่งเข้ากับตัวกล้อง และเสียบสายอีกข้างหนึ่งเข้ากับพอร์ต USB ของคอมพิวเตอร์ได้ทันทีหลังการเชื่อมต่อ ผู้ใช้จะมองเห็นไดร์ฟเพิ่มขึ้นมาอีกไดร์ฟหนึ่งของคอมพิวเตอร์ 2. เชื่อมต่อด้วยการ์ดหน่วยความจำ (Card Reader) หรือ คอมพิวเตอร์โดยตรง คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆมักจะมีช่องเสียบการ์ดหน่วยความจำมาให้แล้ว และเช่นเดียวกับการใช้งานผ่านสาย USB ผู้ใช้เลือกรูปภาพและสั่งทำสำเนามาเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ 2.13 ไมโครโฟน (Microphone) คือ อุปกรณ์ที่เปลี่ยนสี่ยงเป็นสัญญาณไฟฟ้า ไมโครโฟนที่ดีจะต้องเปลี่ยนพลังเสียงได้ดีตลอดอย่านความถี่เสียง ซึ่งมีความจำกัดมาก จึงมีเทคโนโลยีที่หลากหลายเกิดขึ้นเพื่อให้ได้สัญญาณเสียงที่ดีเหมือนต้นกำเนิดของเสียง หลักการทำงานของไมโครโฟน เมื่อมีเสียงมากระทบที่แผ่นไดอะเฟรมบางๆ จะเกิดการสั่นสะเทือนขึ้น ผลจากการสั่นสะเทือนเพียงเล็กน้อยจะทำให้ขดลวดเขย่า เกิดการเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็ก ทำให้ขดลวดเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นตามผลการสั่นของไดอะเฟรม แต่สัญญาณที่ได้จากไมโครโฟนที่เรียกว่า พรีไมโครโฟน (Pre Microphone) เท่านั้นไมโครโฟนชนิดนี้มี Impedance 600 โอห์ม มีความไวในทิศทางด้านหน้า และในรัศมีสั้นๆ ประมาณ 4 เซนติเมตร จนบางครั้งเรียกว่า “ไมร้อง” เหมาะสำหรับการขับร้อง 2.14 หูฟัง (Headphone) คือ อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลข้อมูลในรูปแบบของเสียง โดยมีหน้าที่คล้ายกับลำโพง ประกอบด้วย หูฟัง จะได้ยินเสียงเมื่อนำหูฟังไปแนบกับหู 2.15 ลำโพง (Loudspeaker) คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าเชิงกลอย่างหนึ่งทำหน้าที่แปลง สัญญาณไฟฟ้าให้เป็นเสียประเภทของลำโพง 1.ทวิตเตอร์ คือ ลำโพงที่มีขนาดเล็กสุดของตู้ลำโพง ออกแบบมาเพื่อให้เสียงที่มีความถี่สูง 2.มิดเรนจ์ คือ ลำโพงขนาดกลางของตู้ลำโพง ออกแบบมาเพื่อให้เสียงในช่วงความถี่ เป็นกลางๆ คือ ไม่สูงและไม่ต่ำจนเกินไป 3.วูฟเฟอร์ คือลำโพงทีทมีขนาดใหญ่สุดของตู้ลำโพง ออกแบบมาเพื่อให้เสียงที่มีความถี่ต่ำ 4. ซับวูฟเฟอร์ คือลำโพงที่ทำหน้าที่ขับความถี่เสี่ยงต่ำสุด มักมีตู้แยกต่างหาก และใช้วงจรขยายสัญญาณในตัว 2.16 อุปกรณ์สำรองไฟ (UPS : Uninterruptible Power Supply) คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งสามารถทำการจ่ายพลังงานไฟฟ้า ให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์ได้อย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งในเวลาที่ไฟดับหรือเกิดปัญหาทางไฟฟ้า โดยสามารถรับพลังงานไฟฟ้าได้ทุกสภาพ แล้วจ่ายพลังงานไฟฟ้าออกมาเป็นปกติ อุปกรณ์สำรองไฟฟ้า มีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้ · เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้าตรง (DC : Direct Current) จากเครื่องแปลงกระแสไฟสลับ (AC : Alternating Current) เป็น DC หรือ แบตเตอรี่และแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า AC สำหรับใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าลุอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ · แบตเตอรี่ (Battery) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ เก็บพลังงานไฟฟ้าสำรองไว้ใช้ในกรณีเกิดปัญหาทางไฟฟ้า โดยจ่ายกระแสไฟฟ้า DC ให้กับเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าใน กรณีที่ไม่สามารถรับกระแสไฟฟ้า AC จากระบบจ่ายไฟได้ · เครื่องประจุแบตเตอรี่ (Charger) หรือเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า AC เป็น DC ทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้า AC จากระบบจ่ายไฟแปลง เป็นกระแสไฟฟ้า DC จากนั้นประจุเก็บไว้ในแบตเตอรี่ · ระบบปรับแสงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ ทำหน้าที่ปรับแรงดันไฟฟ้า ให้คงที่และสม่ำเสมออยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า ประโยชน์ของ Uninterruptible Power Supply 1. ช่วยป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง สาเหตุมาจากกระแสไฟฟ้าผิดปกติ เช่น ความบกพร่องของระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าเอง หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติ ฝนตก ฟ้าคะนอง UPS จะทำหน้าที่ป้องกัน 2. เมื่อไฟฟ้าดับ UPS จะจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองให้แก่อุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ผู้ใช้มีเวลาสำหรับการบันทึกข้อมูล และไม่ทำให้ฮาร์ดดิสก์เสียหาย 3. ปรับแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เมื่อเกิดปัญหาทางไฟฟ้า เช่น ไฟตก ไฟกระชาก ไฟดับ และไฟเกิน เป็นต้น 4. ป้องกันสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าที่สามารถสร้างความเสียหาย ต่อข้อมูลและอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง 2.17 เว็บแคม (Web Cam) หรือ เว็บแคมเมรา (Web Camera) คือ กล้องถ่ายรูปวิดีโอที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ บางท่านเรียก Web Cam ว่า Video Camera ปกติ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ๆ จะติดตั้งกล้องมาพร้อมกับเครื่อง การใช้งานเว็บแคม คือ การ Chat ทาง MSN (Microsoft Network), Skype เพื่อให้มองเห็นหน้าผู้ร่วมสนทนา ซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับการประยุกต์ใช้งาน อื่นก็สามารถทำได้ เช่น ใช้เป็นกล้องถ่ายรูปหรือใช้ทำเป็นกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV : Closed-Circuit Television) 2.18 หน่วยแสดงผล (Dutput Unit) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) คือ การแสดงผลให้ผู้ใช้ได้ทราบในขณะนั้นเมื่อเลิกการทำงานผลที่แสดงอยู่นั้นจะหายไป ประเภทของจอคอมพิวเตอร์ · จอ CRT (Cathode Ray Tube) พ.ศ. 2524 บริษัท IBM (International Business Machine) เป็นบริษัทที่พัฒนาการแสดงผลที่ใช้กับจอภาพสีเดียว เรียกว่า จอแบบเอ็มดีเอ (MDA : Monochrome Display Adapter) แสดงผลได้เฉพาะตัวอักษรและตัวเลข หากต้องการแสดงผลในโหมดกราฟิก ก็ต้องเลือกภาวการณ์แสดงผลอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า ซีจีเอ (Color Graphic Adapter) สามารถแสดงสีและกราฟิกได้ แต่มีความละเอียดน้อยเมื่อมีผู้ผลิตเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ออกสู่ท้องตลาดมากมายหลายยี่ห้อที่มีระบบการทำงานแบบเดียว กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็ม ทางบริษัทจึงกำหนดมาตรฐานการแสดงผลไว้ ในเวลาต่อมาบริษัทเฮอร์คิวลิส ซึ่งเห็นปัญหาของระบบการแสดงผลทั้งสองนี้ จึงออกแบบแผงวงจรแสดงผล เรียกกันติดปากว่า “แผงวงจรเฮอร์คิวลิส (Hercules Card) หรือ HGA (Hercules Graphic Adapter)” บางครั้งเรียกว่า “ไมโนโครกราฟิกอแดปเตอร์” การแสดงผลแบบเฮอร์คิวลิส เป็นที่แพร่หลายมานาน ในเวลาต่อมาบริษัทไอบีเอ็มเล็งเห็นความต้องการงานทางด้านกราฟิก สูงขึ้นการแสดงผลที่เป็นสีควรจะมีความละเอียดและมีจำนวนสีมากขึ้น จึงได้พัฒนามาตรฐานการแสดงผลบนจอภาพโดยปรับปรุงจากเดิม เรียกว่า EGA (Enhance Graphic Adapter) การเพิ่มเติมจำนวนส ียังไม่เพียงพอกับซอฟต์แวร์ที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้กับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และโอเอส (OS/2) บริษัทไอบีเอ็มจึงพัฒนามาตรฐานการแสดงผล ที่มีความละเอียดและเพิ่มจำนวนสีให้มากขึ้น เรียกว่า เอ็กซ์วีจีเอ (XVGA : Extra Video Graphic Array) การทำงานของจอคอมพิวเตอร์ CRT (Cathode Ray Tube) การทำงานของจอคอมพิวเตอร์เริ่มจากการกระตุ้นอุปกรณ์หลอดภาพให้ร้อน เกิดเป็นอิเล็กตรอนชิ้น และถูกยิงด้วยปืนอิเล็กตรอนไปยังจุดที่ต้องการแสดงผล บนจอคอมพิวเตอร์ ที่จอคอมพิวเตอร์จะมีการเคลือบสารฟอสฟอรัสเรืองแสง เมื่ออิเล็กตรอนเหล่านี้วิ่งไปชน ก็จะทำให้เกิดแสงสว่าง ซึ่งประกอบกันเป็นรูปภาพ การยิงลำแสงอิเล็กตรอน ลำแสงจะเคลื่อนที่ไปตามแนวขวาง เมื่อกวาดภาพมาถึงสุดขอบด้านหนึ่ง ปืนลำแสงก็จะหยุดยิง และปรับปืนอิเล็กตรอนลงมา 1 Line และเคลื่อนที่ไปยังขอบอีกด้านหนึ่งทำการยิงใหญ่ ลักษณะการยิงจะเป็นแบบฟันเลื่อย Cathode Ray Tube (CRT) เป็นหลอดสุญญากาศพิเศษที่ภาพสามารถสร้างขึ้นได้ เมื่อลำแสงอิเล็กตรอนชนกับแสง Phosphorescent จอของคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ส่วนใหญ่จะใช้จอ CRT ซึ่งหลอด CRT จะคล้ายกับหลอดภาพในเครื่องรับโทรทัศน์ หลอด Cathode Ray Tube ประกอบด้วย อุปกรณ์พื้นฐานหลายแบบปืนยิงอิเล็กตรอน (Electron Gun) จะสร้างลำแสงอิเล็กตรอน Anode จะเร่งอิเล็กตรอน Deflecting Coil เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กแบบความถี่ต่ำ ซึ่งยินยอมให้มีการปรับค่าความคงที่ของ ทิศทางของลำแสงอิเล็กตรอน Reftecting Coil มี 2 กลุ่มคือ กลุ่มแนวนอน และกลุ่มแนวตั้ง ความหนาแน่นของลำแสงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ลำแสงอิเล็กตรอนจะสร้างจุดสว่างขนาดเล็ก เมื่อชนจอภาพที่เคลื่อนด้วยฟอสฟอรัส ข้อดีของจอ CRT : Cathode Ray Tube · แสดงผลได้หลากหลาย · มีอัตราความเร็วในการสร้างภาพได้ (Refresh Rate) สูงกว่า · คมชัดกว่า สีสันสดใสกว่า ข้อเสีย · มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก · สิ้นเปลืองพลังงานมากกว่า · มีความร้อนสูง Refresh Rate คือ อัตราความถี่ในการแสดงภาพการทำงานของจอคอมพิวเตอร์สามารถ แสดงผลได้โดยการใช้การเรืองแสงของสารประกอบฟอสฟอรัสที่ฉาบอยู่บนจอภาพคอมพิวเตอร์สารนี้จะเรืองแสงเมื่อมีการยิงอิเล็กตรอนมาตกกระทบสารจะไม่มีการเรืองแสงอยู่ตลอดเวลา จึงต้องอาศัยการยิงลำแสงซ้ำที่เดิมบ่อยๆการยิงลำแสงนั้นจะยิงไล่กวาดจากซ้ายบนใหม่ โดยจะทำวนซ้ำแบบนี้ไปเรื่อยๆจึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของภาพเมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนนี้เรียกว่า Raster Scan โดยที่อัตรา Refresh Rateคือ อัตราความถี่ของการยิงลำแสงอิเล็กตรอนจาก มุมซ้ายบนสุดไปจนมุมขวาล่างสุดหรือครบทั้งหน้าจอว่าสามารถทำการยิงได้กี่รอบใน 1 วินาที ซึ่งเรียกว่าVertical Refresh Rate หรือเรียกสั้นๆ ว่า Refresh Rateการเลือกซื้อจอคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องเลือกที่อัตรา Refresh Rateที่สูงเนื่องจากอัตรา Refresh ที่สูงจะทำให้การให้ภาพนิ่งไม่สั่นไหวแต่ต้องขึ้นอยู่กับขนาดของจอคอมพิวเตอร์ด้วยว่ามีขนาดเท่าใดจอคอมพิวเตอร์ยิ่งมีขนาดใหญ่ อัตรา Refresh Rateควรมีอัตราที่สูงพอสมควรเพราะจำเป็นต้องใช้ความละเอียด หรือResolution ที่สูง อัตราที่ทำให้เกิดการสบายตาหรือมีความนิ่งของภาพควรอยู่ที่ 65-75 Hz โดยอัตรา Refresh Rateจะมีผลต่อสายตาเราโดยตรง ถ้าอัตรา Refresh Rate ต่ำจะทำให้ภาพที่ได้มีอาการสั่น กะพริบ ทำให้เกิดผลเสียกับสายตาได้
|