1. ตรวจสอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ว่าอยู่ครบหรือไม่
2. ตรวจการทำงานของเครื่องว่าใช้ได้หรือไม่
3. หากพบว่าเครื่องทำงานไม่ปกติ ไห้ถอดปลั๊กและแจ้งครูผู้สอนทราบทันที
4. ทำความสะอาดภายนอกเคส คีย์บอร์ด จอ เมาส์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
5. ตรวจสอบสายไฟและสายสัญญาณต่างๆ เช่น ไฟติดๆ ดับๆ สายไฟ สายสัญญาณหลวมหรือหัก ควรเปลี่ยน ใหม่
6. ตรวจสอบสภาพอขงฮาร์ดดิสก์ว่ามี Bad Sector หรือไม่ โดยใช้โปรแกรมประเภทDisk Defragment Bad Sector คือ สัญญาณเตือนภัยอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าฮาร์ดดิสก์นั้นมีข้อบกพร่อง เช่น เกิดการชนกันของหัวอ่าน หัวอ่านการได้รับการเสียหาย อาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนแผ่นดิสก์เพิ่มขึ้น
7. เป่าฝุ่นหรือกำจัดฝุ่นที่อยู่บนเครื่อง โดยใช้แปรงทาสีที่มีชนอ่อน หรือเครื่องเป่าฝุ่นเครื่องเป่าลมไล่ฝุ่นออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์
8. ควรติดตั้งเครื่องสำรองไฟและปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ (UPC : Uninterruptable Power Supply)
9. ตรวจเช็คความเรียบร้อยภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ตรวจพัดลมระบบความร้อนและสายไฟที่อยู่ภายในว่าอยู่ในสภาพดีใช้งานได้
10. วางคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากกำแพง หรือมีช่องว่างด้านหลังประมาณ 1 ฟุต
11. ตรวจไวรัสและแสกนไวรัสสม่ำเสมอ
12. ลบโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้งาน ตลอดจนโฟลเดอร์และไฟล์ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว
13. ศึกษาวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง
14. การจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์
ข้อมูลจะถูกจัดเก็บไว้ในแทร็ค (Track) บนแพล็ตเตอร์ (Platter) โดยทั่วไปดิสก์ไดร์ฟจะมีแทร็คประมาณ 2000 ต่อนิ้ว (TPI :Track Per Inch) Cylinder คือ กลุ่มของแทร็คที่อยู่บริเวณหัวอ่านเขียนบนทุกๆ แพล็ตเตอร์ การเข้าอ่านช้อมูลแต่ละแทร็คจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ เรียกว่า Sector วิธีการในการจัดการดิสก์ให้มีแทร็คและแซกเตอร์ เรียกว่า การฟอร์แมต ฮาร์ดดิสก์ปัจจุบันจะได้รับการฟอร์แมต (Format) มาจากโรงงานเรียบร้อยแล้ว ปกติเซกเตอร์ (Sector) จะมีขนาด 512 ไบต์ (Byte) คอมพิวเตอร์จะใช้ข้อมูลการฟอร์แมตนี้เหมือนกัน คือ ใช้ระบุข้อมูลใดอยู่ที่ตำแหน่งใดของฮาร์ดดิส หากฮาร์ดดิสก์ไม่ได้รับการฟอร์แมต ไว้ที่ใด และจำนำข้อมูลมาจากที่ไหน ในการออกแบบฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน มีการใช้เทคโนโลยีการฟอร์แมตรูปแบบใหม่ เรียกว่า MultipleZoneRccording เพื่อบีบข้อมูลได้มากขึ้น ในการนำมาจัดเก็บบนฮาร์ดดิสก์ได้ Multiple Zone Recording จะอนุญาตให้พื้นที่แทร็คด้านนอกสามารถปรับจำนวนคลัสเตอร์ (Cluster) ได้ทำพื้นที่แทร็คด้านใน ข้อมูลสามารถจัดเก็บได้เต็มฮาร์ดดิสก์ ช่วยในการใช้เนื้อที่บนแทร็คเตอร์ได้อย่างคุ้มค่า และเป็นการเพิ่มความจุโดยใช้จำนวนแพล็ตเตอร์น้อยลงกว่าจำนวนเซกเตอร์ต่อแทร็ค
แทร็ค (Track) คือ ร่องบนจานบันทึกที่ใช้จัดเก็บข้อมูล มัลักษณะเป็นรอบวงจุกศูนย์กลางบนพื้นที่ผิวของจาน
คลัสเตอร์ (Cluster) คือเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC : Personal Computer) คลัสเตอร์เป็นหน่วยทางตรรกะของการเก็บไฟล์บนฮาร์ดดิสก์ คลัสเตอร์เป็นการจัดการโดยระบบปฎิบัติการ ไฟล์ต่างๆ ที่เก็บบนฮาร์ดดิสก์สามารถใช้พื้นที่มากกว่า 1 คลัสเตอร์ คลัสเตอร์ของไฟล์สามารถแยกเก็บในตำแหน่งต่างกันบนฮาร์ดดิสก์ก็ได้ คลัสเตอร์จะทำงานร่วมกับ Fat เพื่อค้นหาไฟล์เมื่อมีการอ่านไฟล์ Entire File จะเรียกไฟล์มาให้และป้องกันคลัสเตอร์ของไฟล์นั้น
คลัชเตอร์มีลักษณะทางตรรกะไม่ใช้กายภาพ ทำให้ขนาดคลัสเตอร์มีความแปรผันทามจำนวนคลัสเตอร์บนฮาร์ดดิสก์ ขึ้นอยู่กับขนาดของ FAT ใน DOS 4.0 ขนาดของ FAT มีความยาว 16 บิต และมีจำนวนคลัสเตอร์สูงสุก 65,536 คลัสเตอร์
FAT (File Allocation Table) คือ ระบบไฟล์ที่ใช้ในระบบปฎิบัติการตระกูล Microsoftเป็นระบบไฟล์ที่มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ระบบไฟล์ Mocrosoft กำหนดหมายเลขให้กับทุกๆ คลัสเตอร์ ในแต่ละ Partition แล้วทำการเสร้างตารางที่มีจำนวนช่องตามจำนวนคลัสเตอร์นั้น เพื่อระบุสถานที่หรือคลัสเตอร์ที่ทำการเก็บข้อมูลขอไฟล์แต่ละไฟล์ และมีตารางอีกตารางหนึ่งเรียกว่า Directory สำหรับเก็บรายละเอียดของไฟล์ เช่น Attribte ต่างๆ และหมายเลขคลัสเตอร์เริ่มต้นที่ตัวเก็บข้อมูลจริงๆ
ระบบไฟล์ FAT มีหลายรุ่น คือ
1)FAT 12 เป็นระบบไฟล์ที่ใช้ Floppy Disk และ Hard Disk ที่มีขนาดใหญ่ไม่เกิน 16 MBs หมายเลขของคลัสเตอร์มี 12 บิต สามารถอ้างถึงคลัสเตอร์ได้ 4,096 คลัสเตอร์
2)FAT 16 ใช้ตัวเลข 16 บิต ในการกำหนดหมายเลขของคลัสเตอร์ จึงกำหนดหมายเลขได้ 65,536 หมายเลข ระบบไฟล์นี้ใช้ในระบบปฎิบัติการของ Microsoft ทุกรุ่น Partition ที่จะให้ระบบไฟลินี้ได้ต้องมีขนาดไม่เกิน 2GBs FAT 16 ได้รับการปรับปรุงไห้มีความสามารถมากขึ้น
3)FAT 32 ระบบไฟล์ระบบนี้จะให้หมายเลข 28 บิต ซึ่งตามทฤษฏีสามารถกำนดคลัสเตอร์ได้ 268,435,456 คลัสเตอร์ และสามาระใช้กับ Partition ที่มีขนากใหญ่ได้ถึง 2 Terabytes ระบบไฟล์แบบ FAT 32 นี้มีใช้ใน Wndows 95 OSR 2 ขึ้นไป แต่ใช้ไม่ได้ใน Windows NT
เทระไบต์ (Tarabyte) หรือเทราไบต์ ใช้ตัวย่อว่า TB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำ หรือฮาร์ดดิสก์
ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์แต่ละแพล็ตฟอร์มจะมีการจัดการระบบไฟล์ใน Hard Disk ที่แตกต่างหัน บางระบบสามารถใช้ระบบไฟล์ได้หลายรูปแบบ โดยระบบไฟล์นั้นเป็นตารางที่ใช้บอกตำแหน่งของข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บนฮาร์ดดิสก์ ปกติเมื่อซื้อฮาร์ดดิสก์มาใหม่ ต้องทำ Format ฮาร์ดดิสก์ก่อนที่จะนำไปเก็บข้อมูล การ Format ฮาร์ดดิสก์ คือ การแบ่งฮาร์ดดิสก์ออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้คอมพิวเตอร์รู้ตำแหน่งของข้อมูลอยู่ตรงไหน |