วิทยาลัยการอาชีพสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ 31150

"ความรู้ดี ฝีมือเด่น เน้นคุณธรรม ก้าวล้ำเทคโนโลยี"

free hit counters 

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนออนไลน์ 

บทที่ 2 การทำงาของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

1.หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์


        การทำงานของคอมพิวเตอร์  จะต้องประกอบด้วย  หน่วยรับข้อมูล  (Input  Unit)  เพื่อรับข้อมูลและคำสั่งหรอโปรแกรมเข้าไปเก็บไว้ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำหลัก  คำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลักจะไปตีความ  และประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง  (CPU)  ซึ่งเปรียบเป็นสมองของคอมพิวเตอร์  ผลที่ได้จาการคำนวณหรือเปรียบเทียบจะไปเก็บยังหน่วยความจำแรมและพร้อมที่จะแสดงผล
https://sites.google.com/a/bicec.ac.th/e-learning/_/rsrc/1467100329304/yanee-hnwy-2/13152605_1018392268247390_1908125393_n.jpg?height=173&width=320
        ก่อนที่คอมพิวเตอร์จำทำงานได้จะต้องโหลดเอาระบบปฏิบัติการเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความ

จำของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน  กระบวนการนี้เรียกว่า  “การบูตเครื่อง  (Boot)”  มี  7  ขั้นตอนดังนี้
            1.  เมื่อปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์  Power  Supply  จะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปให้ซีพียู

 (CPU : Central  Processing  Unit)  เริ่มทำงาน
            2.  ซีพียู  สั่งให้ไบออส  (BIOS : Basic  Input  Output  System)  ทำงาน
            3.  เริ่มทำงานตามกระบวนการ  POST  เพื่อตรวจเช็ตอุปกรณ์ต่างๆ  

หากมีข้อผิดพลาดจะมีสัญญาณเตือน  เช่น  เสียงยาว  1  ครั้ง  และเสียงสั้น  3  ครั้ง  

แสดงว่าเกิดข้อผิดพลาดจากการ์ดจอ  ไบออสแต่ละรุ่น  จะมีรหัสสัญญาณที่แตกต่างกัน
            4.  ผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวนการ  POST  จะนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่อยู่ใน  CMOS

 (Complementary  Metal  Oxide  Semiconductor)  ข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ  ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่อง  

หรือ  ค่า  Configuration  จะเก็บไว้ในหน่วยความจำนี้ถ้าถูกต้องก็จะทำงานต่อไป  ถ้าเกิดผิดพลาดต้องแจ้งผู้ใช้ให้แก้ไขข้อมูลก่อน
https://sites.google.com/a/bicec.ac.th/e-learning/_/rsrc/1467100424950/yanee-hnwy-2/13090370_1015532868533330_1352094195_n%20-%20Copy%20-%20Copy.jpg?height=283&width=320
            5.  ไบออสจะอ่านโปรแกรมสำหรับบูตจากฮาร์ดดิสก์  ไปออสในรุ่นใหม่จะกำหนดได้ว่าจะบูตจากเซกเตอร์แรกของอุปกรณ์ตัวไหนก่อน
            6.  โปรแกรมส่วนสำคัญที่เรียกว่า  เคอร์เนล  (Kernel)  จะถูกถ่ายทอดค่าลงหน่วยความจำแรม  

(RAM : Random  Access  Memory)
            Kernel  คือ  ส่วนประกอบหลักของระบบปฏิบัติการ  

ซึ่งจะคอยดูแลบริหารจัดการทรัพยากรของระบบ  และติดต่อประสานงานกับฮาร์ดดิสก์และซอฟต์แวร์  เนื่องจากเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ  เคอร์เนลเป็นฐานร่างสุดในการติดต่อกับทรัพยากรต่างๆ  

เช่น  หน่วยความจำ  หน่วยประมวลผลกลาง  และอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต
            7.  ระบบปฏิบัติการในหน่วยความจำจะเข้าควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์และแสดงผลลัพธ์เคอร์เนล

ถูกถ่ายโอนลงสู่หน่วยความจำ  และเข้าไปควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยรวมและโหลดค่าของ  

Configuration  ต่างๆ  พร้อมทั้งแสดงผลลัพธ์มาที่เดสก์ทอปของผู้ใช้เพื่อรอรับคำสั่งการทำงานต่อไป  ซึ่งในปัจจุบันระบบปฏิบัติการใหม่ๆจะมี  GUI  ที่เหมาะสมกับผู้ใช้
            เดสก์ทอป  (Desktop)  คือ  พื้นที่ฉากหลังของ  Windows  ถูกจำลองมาจากการทำงานบน

โจฃต๊ะทำงาน  ซึ่งประกอบไปด้วย  เครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน  

โดยจะมีสัญลักษณ์ภาพแทนสิ่งต่างๆ  ในระบบให้มองเห็นเหมือนกับสิ่งของที่อยู่บนโต๊ะ  

ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งานได้สะดวก  รวดเร็ว  และยังสามารถปรับเปลี่ยนภาพบนเดสก์ทอปได้ตามความต้องการ
        GUI  (Graphic  User  Interface)  คือ  การใช้ภาพสัญลักษณ์ติดต่อกับผู้ใช้  เป็นการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้มีการโต้ตอบกับผู้ใช้  โดยใช้ไอคอน  (ICON)  รูปภาพ  

และสัญลักษณ์ต่างๆ  แทนการพิมพ์คำสั่งในการทำงานช่วยให้ผู้ใช้ทำงานได้ง่าย
การบูต  มี  2  ชนิด  คือ
            1.  โคลบูต  (Cold  Boot)  คือ  การบูตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์  

โดยการกดปุ่มสวิตช์เพาเวอร์
            2.  วอร์มบูต  (Warm  Boot)  คือ  การบูตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบูตใหม่หรือที่เรียกว่า 
 “รีสตาร์ตเครื่อง”  ส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดชะงัก  (Hang)  เมื่อคอมพิวเตอร์หยุดชะงัก  สามารถแก้ไขได้  3  วิธี  คือ
            1)  กดปุ่ม Reaet  บนเครื่อ
            2)  กด  Ctrl+Alt+Del
            3)  สั่งรีสตาร์ตเครื่องจากเมนูปฏิบัติการ

ถัดไป

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนออนไลน์