1.จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่
1.1 ไขควงสี่แฉก กล่องสำหรับใส่นอต คู่มือเมนบอร์ด คีมปากจิ้งจก คีมตัด
1.2เข็มรัดสายไฟและสัญญาณต่างๆ
1.3ซิลิโคน(Silicone) คือสารประกอบที่มีความหลากหลายในรูปร่างและการใช้งาน
โดยทั่วไปจะใช้กับงานที่ต้านทานความร้อนและงานที่เป็นวัสดุยืดหยุ่น
1.4คัตเตอร์(Cutter) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตัดสายไฟ
1.5บัตรเติมเงิน(พลาสติก)อุปกรณ์ใช้ปาดซิลิโคน
2.จัดเตรียมฮาร์ดแวร์ต่างๆ ดังนี้
2.1เคส คือ ตัวถังหรือกล่องคอมพิวเตอร์ หลายคนเรียกว่า ซีพียู ด้วยความเข้าใจผิดเคสใช้สำหรับบรรจุอุปกรณ
์อิเล็กทรอนิกส์หลักของคอมพิวเตอร์ เช่น เมนบอร์ด ซีพียู
การ์ดจอ ฮาร์ดดิสก์ พัดลมระบายความร้อน และสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ Power Supply
เมื่อซื้อเคส ส่วนมากจะมี Power Supplyติดมากับเคส
เพาเวอร์ซับพลาย Power Supply เมื่อซื้อเคสมักจะให้ เพาเวอร์ซับพลายติดมากับเคสด้วย
เพาเวอร์ซับพลาย Power Supply คือแหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์ 5 โวลต์
และ12โวลต์ขึ้นอยู่กับความต้องการกระแสไฟของอุปกรณ์นั้น
ประเภทของเพาเวอร์ซับพลาย
1. ATเป็นเพาเวอร์ซับพลายแบบเก่า การทำงานของเพาเวอร์ซับพลายแบบนี้จะต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟ
ทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์บางอย่างเช่น ซีพียู ฮาร์ดดิสก์ ที่ต้องอาศัยไฟในขณะหนึ่งก่อนที่จะเปิดเครื่อง
2. ATX Power Supply เป็นเพาเวอร์ซับพลายที่ใช้ในปัจจุบัน โดยพัฒนามาจากPower Supply
แบบ AT โดยเปลี่ยนปุ่มเปิด-ปิด
ต่อตรงกับเมนบอร์ดก่อน เพื่อให้มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนที่จะเปิดเครื่องทำให้ลดอัตราการเสีย
อุปกรณ์ลงไปได้มาก
Power Supply แบบ ATX มีหลายชนิดดังนี้
-ATX 2.01 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่ใช้ตัวถังแบบ ATX ใช้ได้กับเมนบอร์ดแบบ
ATX และ Micro ATX
-ATX 2.03 แบบ PS/2ใช้กับคอมพิวเตอร์ Server หรือ Workstation ที่ใช้ตัวถังแบบATX
-ATX 2.01 แบบ PS/3 ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวถังแบบ Micro ATX และ
เมนบอร์ดMicroATX เท่านั้น
หลักการทำงานของเพาเวอร์ซับพลาย
กระแสไฟฟ้าในประเทศไทยมาจากโรงงานไฟฟ้า อยู่ในรูปแบบของไฟสลับ
(AC : Alternating Current) แรงดันสูง 220 Volt แต่กระแสไฟที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
รวมทั้งอุปกรณือิเล็คทรอนิกส์ทุกชนิดใช้จะต้องเป็นกระแสไฟตรง (DC:Direct Current)
แรงดันต่ำ หน้าที่ของเพาเวอร์ซัพพลาย
คือ การแปลงกระแสไฟสลับแรงดันสูงให้เป็นกระแสไฟตรงแรงดันต่ำที่จำเป็น
ต้องใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การทำงานของเพาเวอร์ซัพพลาย
สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่ใช้วงจรแปลงไฟง่ายๆแบบที่ใช้ในอแดปเตอร์(Adapter) ทั่วไป
เนื่องจากกำลังไฟฟ้าที่ต้องจ่ายออกมานั้นสูงกว่ากันมาก ดังนั้น แม้จะมีหน้าที่เดียวกัน
แต่วิธีทำงานแตกต่างกันแทนที่จะทำงานแบบตรงๆ(Linear)คือการรับกระแสไฟเข้ามาแล้ว
แปลงออกไปเหมือนในอแดปเตอร์ซึ่งมีการสูญเสียพลังงานมากก็ใช้การทำงานสวิตซิ่ง
(Switching) แทนและมีความซับซ้อนกว่าอแดปเตอร์มากPower Supply
จะทำงานแบบ Closed-Loop Feedback
คือมีการป้อนสัญญาณขาออกกลับมาชดเชยเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพ
ราบเรียบ คงที่อแดปเตอร์(Adapter) คือ ตัวปรับต่อแผ่นวงจรชนิดหนึ่งที่ใช้เสียบเข้าไปในช่องเสียบเพิ่มเติมในคอมพิวเตอร์
แตกต่างจากแผ่นวงจรชนิดอื่นๆที่อาจจะใช้เพื่อเพิ่มความสามารถของคอมพิวเตอร์ขณะ
ที่อแดปเตอร์ใช้เพื่อติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกเช่น ฮาร์ดดิสก์ จอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ข้อดีการทำงานแบบ Closed-Loop Feedback มีประสิทธิภาพการแปลงไฟสูง
เมื่อต้องจ่ายกระแสไฟมากๆก็จะเกิดการสูญเสียพลังงานกลายเป็นความร้อนไม่มากนัก
ทำให้ระบายความร้อนออกไปได้ง่ายขึ้น
ส่วนข้อเสียของการทำงานแบบวงจรสวิตชิ่งจะทำงานที่ความถ่าสูงมาก
ทำให้เกิดสัญญาณความถี่สูงกระจายออกมารบกวนอุปกรณ
์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งในและนอกตัวเครื่องได้ เพาเวอร์ซัพพลายจึงบรรจุอยู่ในกล่องโลหะ
เพื่อให้มีสัญญาณรบกวนเล็ดลอดออกมาน้อยที่สุด
มาตรฐานของเพาเวอร์ซัพพลายในเครื่องพีซี(PC:Personal Computer)
ถูกกำหนดให้มีแรงดันขาออกไฟตรงเพื่อใช้สำหรับไฟชนิดต่างๆ
ที่มีความต้องการแรงดันไฟฟ้าต่างๆไม่เท่ากัน
ทั้งไฟบวกและไฟลบเมื่อเปรียบเทียบกับระดับไฟ 0 โวลต์หรือกราวด์ โดยมีกระแสที่ต้องจ่ายได้ไม่เท่ากัน
(เป็นแอมแปร์ หรือ แอมป์ เขียนย่อว่า A) ตามปริมาณความากน้อยในการใช้งาน
เพาเวอร์ซับพลาย ทั้งแบบ AT และ ATX มีลักษณะการทำงานเหมือนกัน
คือ รับแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์
โดยผ่านการควบคุมด้วยสวิตซ์สำหรับ AT และเมนบอร์ด แล้วส่งแรงดันไฟฟ้า
ส่วนหนึ่งกลับไปที่ช่อง AC output เพื่อเลี้ยงตัวมอนิเตอร์ จะจัดส่งแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์
อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่หน่วยการทำงานที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ่าสลับ 220 โวลต์
ให้เป็นกระแสไฟตรง 300 โวลต์ โดยไม่ผ่านหม้อแปลงไฟฟ้าระบบนี้เรียกว่า
Switching Power Supply
และผ่านหม้อแปลงที่ทำหน้าที่แปลงไฟตรงสูงให้เป็นไฟตรงต่ำ
โดยผ่านชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำหนดแรงดันไฟฟ้าอีกชุดหนึ่งแปลงให้เป็น 5และ 12
ก่อนที่จะส่งไปยังสายไฟและตัวส่งต่างๆ ด้วยความพิเศษของ Switching Power Supply
คือ มีชุด Switching ที่จะทำการตัดไฟออกทันทีเมื่อมีอุปกรณ์ท
ี่โหลดไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่งเกิดชำรุดเสียหาย
เคสคอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกัน ถูกกำหนดมาตรฐานบางอย่างที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของตัวเคสจากองค์กร
FORMFACTORS.ORG สังเกตได้จากเคสคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดตั้งเมนบอร์ดแบบATX ได้
เมื่อดูจากภายนอกแล้วจะเห็นว่ามีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันออกไป
ภายในอาจมีพื้นที่การใช้งาน
หรือส่วนประกอบอื่นๆที่แตกต่างกัน แต่สามารถนำเมนบอร์ด ATX เพาเวอร์ซัพพลาย
ATX มาติดตั้งในเคสและใช้งานได้โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใดเกิดขึ้น
2.2 เมนบอร์ด(MainBoard) หรือแผงวงจรหลัก หรือ Motherboard หรือSystem board
คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการ การทำงานของอุปกรณ์ทุกชนิดของคอมพิวเตอร์
เริ่มตั้งแต่ซีพียูไปจนถึงหน่วยความจำ
ฮาร์ดไดร์ฟ ดีวีดีรอมไดร์ฟ ผ่านทางสายเคเบิลหรือการ์ดแสดงผล
การ์ดเสียงที่ต้องทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีเสถียรภาพ
การจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำมาประกอบคอมพิวเตอร์จะต้องสัมพันธ์กับเมนบอร์ด
ปัจจุบันเมนบอร์ดที่ปรากฏให้เห็นมี 2 ค่าย คือ Intel และ AMD
การวัดประสิทธิภาพของเมนบอร์ดจะวัดกันที่ซอฟต์แวร์ยูทีลิตี้ที่มาพร้อมกับเมนบอร์ดว่า
สามารถทำประโยชน์และเพิ่มความสามารถในการใช้งานเมนบอร์ดในด้านใด
การเพิ่มความเร็วให้กับซีพียู การเพิ่มความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ
AMD : Advanced Micro Devices Inc.
บนเมนบอร์ดยังประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆอีกมากมาย เช่น
-ชุดชิปเซต มีหน้าที่เป็นทั้งอุปกรณ์และแปลภาษาให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดสามารถทำงานร่วมกันได้
ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานได้ตามต้องการ ชิปเซต ประกอบด้วย
-System Controller หรือ AGP Set หรือ North Bridgeทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน
ของอุปกรณ์หลัก ได้แก่ซีพียู หน่วยความจำแคชระดับสอง (SRAM)
หน่วยความจำหลัก (DRAM)
ระบบกราฟฟิกบัสแบบAGP และระบบบัสแบบPCI
-PCI to ISA Bridge หรือ South Bridge ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างบัสแบบPCI
กับอุปกรณ์อื่นๆที่มีความเร็วในการทำงานต่ำกว่า เช่น ระบบบัสแบบ ISAระบบบัสอนุกรมแบบ USB
ชิปคอนโทรลเลอร์ IDE ชิปหน่วยความจำรอมไบออส คีย์บอร์ด พอร์ตอนุกรม และพอร์ตขนาน
หลักในการเลือกซื้อเมนบอร์ด
1.พิจารณา Form Factors คือ ลักษณะโครงสร้างของเมนบอร์ด
ทั้งรูปร่างและขนาดเดิมจะเป็นแบบAT หรือแบบBaby AT (ลดยาวลงมา ขณะที่ความกว้างเท่าเดิม)
ส่วนมาตรฐานใหม่คือATXซึ่งเป็นBaby AT ที่กลับจากเดิม
คือมีการวางแนวสลอตและหน่วยความจำใหม่อยู่ใกล้ๆกัน
เพื่อวัตถุประสงค์การทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งยังช่วยระบายความร้อนได้ดีขึ้น เพราะกำหนดให้อยู่ใกล้กับแหล่งจ่ายไฟที่มีพัดลมอยู่
(ตัวเคส หรือเครื่องต้องเป็นแบบATXด้วย)
รวมทั้งขั้วต่อแหล่งจ่ายไฟแบบใหม่ที่ดีกว่าเดิม การเลือกซื้อเมนบอร์ดควรเลือกซื้อแบบATX
โดยเฉพาะอย่างยิ่งซีพียูความเร็วสูง
2.ต้องซื้อเมนบอร์ดที่มีซ็อกเก็ตตรงกับชนิดของซีพียู
เช่น ถ้าใช้ซีพียู core i7 ก็ต้องซื้อเมนบอร์ดที่มีช็อกเก็ตแบบ LGA1366
3.เมนบอร์ดสามารถรองรับแรมสูงสุดได้เท่าไหร่
4.ปัจจุบันการ์ดต่างๆจะใช้กับสลอต(Slot) แบบ PCI ดังนั้น
ควรเลือกเมนบอร์ดที่มีสลอตแบบ PCI มากๆ
5.ควรเลือกเมนบอร์ดที่มีความเร็วบัสและตัวคูณหลายค่าเพื่อความสะดวกในการอัพเกรด หรือเลือกเมนบอร์ดที่ใช้
slot menu ที่สามารถเปลี่ยนความเร็วผ่านทางSoftware
แทนการปรับเปลี่ยนความเร็วทางจัมพ์เปอร์ (Jumper) หรือดิพสวิตช์(Dip switch)
เพื่อความสะดวกในการอัพเกรด
6.เมนบอร์ดที่ควรเลือกใช้ ได้แก่ Intel TYAN Asus AOPEN Gigabyte MATSONICฯลฯ
2.3หน่วยประมวลผลกลาง(CPU : Central Processing Unit)
ของ AMD Athlon II Multi Core Processor)
ซ็อกเก็ตซีพียู เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด มีลักษณะตามรุ่น ตามยี่ห้อ
เมนบอร์ดที่ใช้กับซีพียูของอินเทล
คือ Pentium 4 และ Celeron จะเรียกซ็อกเก็ตว่าsocket 478 ส่วนเมนบอร์ดที่ใช้
กับซีพียูของ AMD จะมีซ็อกเก็ตแบบ socket 462 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Socket A
การสังเกตว่าเมน บอร์ดเป็นซ็อคเก็ตแบบใด ดูจากชื่อที่พิมพ์ไว้บนซ็อกเก็ต
ส่วนข้อแตกต่างอีกอย่างหนึ่ง คือ รอยมาร์คที่ มุม ซ็อกเก็ต ถ้าเป็นซ็อกเก็ต 478
จะมีรอยมาร์คที่มุมหนึ่งด้าน ซ็อกเก็ต462 จะมีรอยมาร์คที่มุม 2ด้าน
โดยรอยมาร์คจะตรงกับตำแหน่งของซีพียู เพื่อจะได้ติดตั้งซีพียูเข้ากับซ็อกเก็ตได้อย่างถูกต้อง
ฮีทซิงค์(Heat Sink) คือ อุปกรณ์เพิ่มความเย็นในระบบอิเล็กทรอนิกส์
ความร้อนจะสลายไปในอากาศ โดยรอบฮีทซิงค์ ใช้เพื่อเพิ่มความเย็นแก่ระบบอิเล็กทรอนิกส์
และระงับความร้อนของตัวซีพียู
ซ็อกเก็ตซีพียู(CPU Socket) คือตำแน่งสำหรับติดตั้งซีพียุรูปแบบซ็อกเก็ตจะแตกต่างกันไป
ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของซีพียู ดังนั้น เมื่อจะซื้อเมนบอร์ด
ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมี 4แบบ
-LGA 775 สำหรับ core 2 Core เป็นชื่อของ cpu ระดับกลาง-สูง
ซึ่งจะแรงกว่าCeleron และ Pentium Core 2 เป็นรุ่นที่พัฒนา Core ในแบบ 64 บิต
Solo/Duo/Quad คือ จำนวน CPU Solo =1Duo= 2 Quad=4
Extreme ถ้าทีคำนี้ห้อยท้ายจะเป็นCPU จะเป็น CPU รุ่นที่ Hz สูงเป็นพิเศษและเปิดโอกาสให้
Over clock ได้เพราะ ไม่มีระบบล็อก Clock Multiplier
Intel เลิกใช้จำนวน Core/Hz เพื่อลบสถานะ ปัจจุบัน Intel
เปลี่ยนมาเป็น Core i3 core i5 core i7 แทน
2.4ฮาร์ดดิสก์ ขนาด 500 GB
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) คือ อุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล มีหลายแบบด้วยกัน Hard Disk
หรือ Hard Drive เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้เก็บข้อมูลของระบบปฏิบัติกา
OS(Operating System) หรือ ระบบปฎิบัติการ Windows รวมถึงโปรแกรมใช้งาน
ความจุของฮาร์ดดิสก์มีหน่วยเป็น GB (Gigabyte) ฮาร์ดดิสก์ที่นิยมที่ใช้ในปัจจุบัน มี 2รูปแบบ
คือ1.ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE (Integrated Drive Electronics) ฮาร์ดดิสก์แบบนี้มีใช้กันมานานมาก
ปัจจุบันยังหาซื้อมาใช้งานได้อยู่ มีความจุตั้งแต่40-500GB(Gigabyte) ส่วนประกอบที่จำเป็นมี4ส่วนด้วยกัน คือ
1.1 IDE Port ที่ตัวเมนบอร์ด
1.2 สายสัญญาณ 80 pin IDE
1.3 ATX Power Connector คือ ขั้วต่อสายไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายเข้ากับเมนบอร์ด เป็นขั้นต่อแบบ ATX ()
ตัวเพาเวอร์ซัพพลายจะมีสายไฟหนึ่งชุดเอาไว้ต่อเข้ากับเมนบอร์ด และด้านหนึ่งของขั้วต่อ
จะมีสลักล็อกสายไฟเพื่อป้องกันไม่ให้สายไฟหลุดจากเมนบอร์ดได้ง่าย
1.4ตัวฮาร์ดดิสก์ IDE
สายสัญญาณของฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะมีลักษณะเป็นสาย Parallel หรือที่เรียกกันติดปากว่า
สายแพร ซึ่งสายแพรมี 2 แบบ คือ แบบ 40 Pin และ 80 Pin
หรือ 80 เส้น สายแบบ 40 Pin จะนำไปใช้สำหรับ CD Drive และ DVD Drive
ส่วน 80 Pin จะใช้กับฮาร์ดดิสก์ ไม่แนะนำให้ใช้สลับกันแม้จะใช้งานได้ก็ตาม
IDE Connector คือ อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อสายแพรกับฮาร์ดดิสก์แบบ IDE
รวมทั้งอุปกรณ์ประเภทไดร์ฟอ่าน-เขียนข้อมูล เช่น CD-ROM (Compact Disk Read Only Memory )
DVD(Digital Versatile Disc) ซิปไดร์ฟ(Zip Drive)ตัวเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์แบบ IDE อยู่2 ชุดด้วยกัน คือ IDE 1
และIDE 2 คอนเน็คเตอร์ 1ชุด จะรองรับอุปกรณ์ได้2 ชิ้น หมายความว่า
จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์และซีดีรอมได้สูงสุด 4ชุด
หรืออาจจะเป็นฮาร์ดดิสก์ 2ตัว CD-RW 1 ตัว และ DVD อีก1ตัว เช่นเดียวกับ FDD Connevtor
จะมีตัวอักษรพิมพ์กำกับว่าด้านใด คือpin 1 เพื่อให้ใส่สายแพรได้อย่างถูกต้อง IDE Connector จะมีจำนวน Pin 39 Pin
ดิสก์บันทึกข้อมูล(Platter)
เป็นจานโลหะแข็งแบนวางซ้อนกันอยู่ แต่ละแผ่นจะเคลือบด้วยสารแม่เหล็กบนผิวจาน
ทุกๆด้านและสามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน
Spindle คือ แกนที่ใช้ยึดแผ่นดิสก์บันทึกข้อมูล(Platter) ทุกแผ่นเข้าด้วยกันและทำหน้าที่ควบคุมให้ Platter
ทุกๆแผ่นมีความเร็วเท่ากัน โดยถูกควบคุมจากมอเตอร์ควบคุม Platter (Spindle Stepping Motor)
อีกต่อหนึ่ง Actuator และหัวอ่านเขียน (Read/Write Heads)
เป็นตัวควบคุมการอ่านเขียนและเขียนข้อมูลบน Platter ซึ่งจะมีแกนและแขนต่อไปยัง Platter โดยที่ปลายแขน Actuator จะมีหัวอ่านติดอยู่
ทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่น Platter โดยจะประกบทั้งด้านบน
และด้านล่างของแต่ละแผ่นดังนั้น Platter 1แผ่น จึงประกอบด้วยหัวอ่าน 2หัว
การเขียนข้อมูลทำได้โดยเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กที่หัวอ่าน/เขียน เพื่อให้เปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กบนแผ่น
Platter อีกครั้งหนึ่ง ส่วนการอ่านข้อมูลจะใช้การเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กที่หัวอ่านนี้เช่นเดียวกันJump และ
Cocnectorเชื่อมต่อสายสัญญาณต่างๆกรณีต่อฮาร์ดดิสก์มากกว่า1ตัว เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์
จำเป็นต้องเซต Jumper สำหรับกำหนดฮาร์ดดิสก์ที่จะใช้แต่ละตัวว่า
ต้องการให้คอมพิวเตอร์เครื่องบูตเครื่องจากฮาร์ดดิสก์ตัวไหนก่อน
การทำงานของหัวอ่าน Read/Write Heads
การทำงานของหัวอ่าน Read/Write Heads เป็นส่วนที่มีราคาแพงที่สุด อุปกรณ์ของหัวอ่าน/เขียน
จะเป็นแม่เหล็กมีเส้นคอยล์พันอยู่รอบหัวอ่านเขียนเพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า วิธีการเขียนข้อมูลจะใช้ส่งกระแสไฟฟ้า
ผ่านคอยล์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็ก
ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่แพล็ตเตอร
์ (Platter) ส่วนการอ่านข้อมูลนั้นจะได้รับค่าความเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กผ่าน
คอยล์ที่อยู่ที่หัวอ่าน/เขียนแล้วแปลงค่าที่ได้เป็นสัญญาณส่งไปให้ซีพียู
ปัจจุบันหัวอ่าน/เขียนจะอยู่เหนือแผ่นแพล็ตเตอร์เพียง 3 Micro inch
ที่สำคัญหัวอ่านเขียนไม่เคยสัมผัสแพล็ตเตอร์ที่กำลังหมุนอยู่เลย
เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกปิดฮาร์ดดิสก์จะหยุดหมุนแล้วหัวอ่าน/เขียนจะเคลื่อนที่
ไปยังพื้นที่ปลอดภัยและหยุดอยู่ตรงนั้น ซึ่งแยกอยู่ต่างหากจากพื้นที่ที่ใช้เก็บข้อมูล
Connector จะประกอบด้วยช่องเชื่อมต่อสัญญาณ(Interface)ซึ่งขึ้นอยากับ
ประเภทของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ เช่น ฮาร์ดดิสก์แบบIDE หรือ SCSI และ Power Connector
สำหรับเสียบต่อกับสายไฟซิปไดร์ฟ(Zip Drive) เป็นดิสก์ไดร์ฟขนาดเล็ก พกติดตัวได้
ใช้สำรองข้อมูลและไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
2.ฮาร์ดดิสก์แบบ SETA (SETA:Serial ATA Advanced Technilogy Attachment)
เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2545
งาน PC Expo ใน New York ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากที่มีการนำเสนอ Parallel ATA (IDE)
มากว่า 20 ปี รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น และพัฒนาให้เกิดเทคโนโลยี
Serial ATAขึ้นแทนที่ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE Serial ATA มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล
150 เมกะไบต์ ต่อวินาที
และผลตอบสนองการทำงานที่เร็วมากมีจำนวนPin น้อยกว่า Parallel ATA การเชื่อมต่อจะคล้ายคลึงกับแบบ IDE
จะต่างกันตรงหน้าตาของ Connector ของสายไฟและสัญญาณเท่านั้น
การเลือกใช้งานจะต้องตรวจสอบว่าเมนบอร์ดรองรับการทำงานกับฮาร์ดดิสก์แบบใด เชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์แบบใด
3.ฮาร์ดดิสก์แบบ EIDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)
คือฮาร์ดดิสก์ที่พัฒนามาจาก IDE ด้วยสายแพรขนาด 80 เส้น ผ่าน Connector 40 ขา เช่นเดียวกับ
IDE ช่วยเพิ่มศักยภาพการทำงานยิ่งขึ้น โดย Hard Disk ที่ทำงานแบบE-IDE นี้
มีขนาดความจุที่สูงกว่า 504 MB และมีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูง
ถึง 133 เมกะไบต์ต่อวินาที
การรับ-ส่งข้อมูลของ Hard Disk แบบ E-IDE มี 2ลักษณะ คือ
1.PIO (Programmed Input Output) เป็นการรับ-ส่งข้อมูลโดยผ่านการประมวลผลของซีพียู
คือ รับข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์เข้ามายังซีพียู หรือส่งข้อมูลจากซีพียูไปยังฮาร์ดดิสก์
การทำงานลักษณะนี้จะเน้นการทำงานกับซีพียู จึงไม่เหมาะสมกับงานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลใน
ฮาร์ดดิสก์บ่อยหรือการทำงานหลายๆงานพร้อมกัน ในเวลาเดียวกัน
เรียกว่า Multitasking Environment
2.DMA(Direct Memory Access) อนุญาตให้อุปกรณ์ต่างๆส่งผ่านข้อมูลหรือติดต่อไปยังหน่วยความจำหลัก
(RAM : Random Access Memory )
ได้โดยตรง โดยไม่ต้องติดต่อไปยังซีพียูก่อนเหมือนกระบวนการทำงานตามปกติ
ทำให้ซีพียูจัดการงานได้รวดเร็วขึ้น
4.ฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI (Small Computer System Interface) คือฮาร์ดดิสก์ที่มีอินเทอร์เฟซแตกต่างจาก IDE
ฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI จะมีการ์ดสำหรับควบคุมการทำงานโดยเฉพาะ
เรียกว่า Card SCSI การ์ด SCSIนี้สามารถที่จะควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่มีการทำงานแบบ SCSI ได้ถึง 7 ชิ้น
ผ่านสายแพรแบบSCSI มีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล แบบSCSI สูงสุด 320 MB/วินาที
กำลังรอบในการหมุนของจานดิสก์ ปัจจุบันแบ่งเป็น 10000 และ 15000 รอบ/นาท
ี มีความเร็วมากกว่า IDE ฮาร์ดดิสก์แบบSCSI มักจะนำมาใช้กับงานด้านเครือข่าย (Server)
1.5 DVD Writer ชนิดติดตั้งภายนอก
DVD ย่อมาจาก Digital Versatile Disc เป็นแผ่นที่บันทึกข้อมูลด้วยแสง (Optical Disc)
ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ ให้คุณภาพของภาพและเสียงดีขึ้น
ดีวีดีพัฒนามาเพื่อใช้แทนซีดีรอมใช้แผ่นขนาดเท่าชีด (เส้นผ่านศูนย์กลาง 12ซม.)
แต่ใช้บันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และแผ่นดีวีดีมีความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า
คุณสมบัติของดีวีดี
1.สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอที่มีความละเอียดสูงได้
2.สามารถมีเสียงในฟิล์มได้มากแต่ละภาษาอาจะเป็นระบบเสียงสเตอริโอ 2.0 ช่อง
(รูปแบบ PCM)หรือระบบเสียง รอบทิศทาง
3.มีคำบรรยายเป็นภาษาต่างๆ ได้ถึง 32 ภาษา
4.ภาพยนตร์ดีวีดีบางแผ่นสามารถเปลี่ยนมุมกล้องได้ด้วย
5.ทำภาพนิ่งได้สมบูรณ์เหมือนภาพสไลด์
6.ควบคุมระดับสิทธิการเล่น
7.มีรหัสพื้นที่ใช้งานเฉพาะพื้นที่ที่กำหนด |