4.1.2.1.3   โต๊ะงาน  (Table)  ส่วนใหญ่ทำด้วยเหล็กท่อ  เป็นส่วนที่รองรับชิ้นงานที่จะนำมาเจาะหรืออาจรองรับอุปกรณ์จับยึดสำหรับจับยึดชิ้นงาน 
เช่น  ปากกาจับงาน  เป็นต้น  สามารถเลื่อนขึ้นลงได้บนเสาเครื่องด้วยการหมุนแขนส่งกำลังด้วยชุดเฟืองสะพานเมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการก็สามารถยึด
ให้แน่นกับเสาเครื่องได้
4.1.2.1.4   ชุดหัวเครื่อง  (Drilling  Head)  จะอยู่บนสุดของเครื่องเจาะ  ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญดังนี้
-          มอเตอร์ส่งกำลัง  (Motor)
-          สายพานและล้อสายพานส่งกำลัง  (Belt & Pulley)
-          ฝาครอบ  (Pulley  Guard)  มีไว้ครอบสายพานเพื่อป้องกันอันตราย
4.1.2.2.4       ชุดหัวเครื่อง  (Drilling  Head)  จะอยู่บนสุดของเครื่องเจาะ  ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญดังนี้
-          มอเตอร์ส่งกำลัง  (Motor) 
-          สายพานและล้อสายพานส่งกำลัง  (Belt & Pulley)
-           ฝาครอบ  (Pulley  Guard)  มีไว้ครอบสายพานเพื่อป้องกันอันตราย
-         หัวจับดอกสว่าน  (Drill  Chuck)  ใช้จับดอกสว่านก้านตรงไม่    เกิน  ½  นิ้ว  หรือประมาณ  12.7  มม.
 -          แขนหมุนป้อนเจาะ  (Hand  Feed  Level)
-           สวิตซ์ปิดเปิด  (Switch)
4.1.2.3     ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องเจาะแบบรัศมี
4.1.2.3.1    ฐานเครื่อง  (Base) เป็นส่วนที่ติดตั้งอยู่กับพื้นโรงงานทำด้วยเหล็กหล่อเป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักทั้งหมดของเครื่อง
       4.1.2.3.2 เสาเครื่อง  (Columm) มีลักษณะเป็นเสากลมใหญ่กว่าเสาเครื่องเจาะธรรมดาจะยึดติดอยู่กับฐานเครื่องจะเป็นที่เคลื่อนขึ้นลงและจับยึดของ
แขนรัศมี
       4.1.2.3.3   แขนรัศมี  (Radial  Arm)  สามารถเลื่อนขึ้นลงได้บนเสาเครื่องและสามารถหมุนรอบเสาเครื่องได้เพื่อหาตำแหน่งเจาะงานเป็นส่วนที่รอง รับชุดหัวเครื่อง
       4.1.2.3.4   ชุดหัวเครื่อง  (Drilling  Head)  อยู่บนรัศมีสามารถเลื่อนเข้าออกได้ตามความยาวของแขนรัศมีเพื่อหาตำแหน่งเจาะรู
       4.1.2.3.5   แกนเพลา  (Spindle)  เป็นรูปทรงกระบอก  ภายในเป็นรูเรียวสำหรับจับยึดก้านเรียวของหัวจับดอกสว่านหรือจับก้านเรียวของดอกสว่าน  ที่มีขนาดใหญ่
       4.1.2.3.6   โต๊ะงาน  (Table)  เป็นอุปกรณ์ที่ยึดติดอยู่บนฐานเครื่อง  จะมีร่องตัว-ที เพื่อใช้จับยึดชิ้นงานโดยตรงหรือใช้สำหรับจับยึดปากกาจับงาน  หรืออุปกรณ์อื่น ๆ
     4.1.2.3.7     มอเตอร์  (Motor)  เป็นต้นกำลังที่ส่งกำลังไปหมุนแกนเพลาเพื่อหมุนดอกสว่านเจาะงานหรือส่งกำลังเพื่อขับเคลื่อนส่วนต่าง ๆ อัตโนมัติ
เนื่องจากชิ้นส่วนแต่ละส่วนมีขนาดใหญ่ 
ขั้นตอนการทำงานของเครื่องเจาะ
4.1.4.1   ศึกษาวิธีการใช้เครื่องเจาะให้เข้าใจถ้าไม่เข้าใจจะต้องปรึกษาอาจารย์ผู้ควบคุมพร้อมทั้งศึกษา  เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้เครื่องเจาะ  ด้วย
     4.1.4.2   นำชิ้นงานมาร่างแบบให้ได้แบบที่ถูกต้อง  พร้อมทั้งใช้เหล็กตอกร่างแบบและใช้เหล็กนำศูนย์ตอกนำศูนย์
     4.1.4.3  นำชิ้นงานมาจับยึดบนเครื่องเจาะให้แน่น  อาจจะจับยึดบนโต๊ะงาน  หรือจับยึดด้วยอุปกรณ์จับยึดงาน เช่น  ปากกา  C-Clamp  เป็นต้น
     4.1.4.4   นำดอกสว่านที่ต้องการเจาะจับยึดบนเครื่องเจาะ  กรณีต้องการเจาะรูที่มีขนาดใหญ่ควรมีการเจาะไล่ขนาดจากเล็กไปหาขนาดใหญ่
     4.1.4.5   ปรับระยะห่างระหว่างชิ้นงานกับปลายดอกสว่านให้เหมาะสมพร้อมปรับตำแหน่งที่จะเจาะให้ตรงตำแหน่ง
     4.1.4.6    ปรับความเร็วรอบให้ถูกต้อง  ซึ่งหาได้จากการคำนวณ  หรือจากตารางสำเร็จ
     4.1.4.7  ทำการป้อนเจาะงานตามความลึกที่ต้องการเจาะ  ถ้าเครื่องเจาะมีแขนตั้งระยะความลึกที่ต้องการเจาะ  หรือ สามารถป้อนอัตโนมัติได้ก็ทำ       การตั้ง  เพื่อความสะดวกในการเจาะ  ในการเจาะที่ต้องการตำแหน่งที่แน่นอนควรเจาะ  ด้วยดอกเจาะนำศูนย์ก่อน  จะได้ตำแหน่งของรูที่แม่นยำกว่า
วิธีการใช้งาน เครื่องเจาะแบบตั้งพื้น https://www.youtube.com/watch?v=sUmjxbttcbg
แนะนำการใช้เครื่องมิลลิ่งเบื้องต้น https://www.youtube.com/watch?v=CfazLCXpDG0