เครื่องเลื่อยกล  (Sawing  Machine)
 
งานเจาะจัดเป็นกระบวนการผลิตขั้นพื้นฐาน  ที่มีลักษณะการทำงานแบบง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน แต่มีความสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  
ในงานโลหะ  การเจาะเป็นกระบวนการตัดเฉือนวัสดุงานออก  โดยใช้ดอกสว่านรูที่ได้จากการเจาะด้วยดอกสว่านจะมีลักษณะเป็นรูกลม  
  เช่น  รูยึดเหล็กดัดประตูหน้าต่างบานพับ  กลอนประตูบ้าน  ตลอดจนชิ้นส่วนรถจักรยาน  รถยนต์ต่างๆ มีรูสำหรับการจับยึดมากมายมาก
มายในการเจาะรูบนชิ้นงานสามารถทำได้ด้วยเครื่องจักรกลหลายชนิด  เช่น  การเจาะรูบนเครื่องกลึง  เครื่องกัด  เป็นต้น 
แต่ในการเจาะรูที่ประหยัด  รวดเร็ว  และนิยมใช้กันมากที่สุด  คือ  การเจาะรูด้วยเครื่องเจาะ  ดังนั้น  เครื่องจักรกลพื้นฐานที่จะกล่าวในบทนี้
  คือ เครื่องเจาะ
4.1.1    ชนิดของเครื่องเจาะ เครื่องเจาะมีหลายชนิดแต่สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ คือ  เครื่องเจาะตั้งพื้น
   4.1.1.1     เครื่องเจาะตั้งโต๊ะ  (Bench – model Sensitive DrillingMachine) เป็นเครื่องเจาะขนาด
เล็กเจาะรูขนาดไม่เกิน  13 มม. จะมีความเร็วรอบสูง  ใช้เจาะงานที่มีขนาดรูเล็ก ๆ ทั่ว ๆ ไป การส่งกำลัง
โดยทั่วไปจะใช้สายพานและปรับความเร็วรอบด้วยล้อสายพาน 2-3  ขั้นเครื่องเจาะแบรัศมและเครื่องี 
เจาะในงานอุตสาหกรรม
   4.1.1.2      เครื่องเจาะตั้งพื้น  (Plan Vertical  Spindle  Drilling  Machine)เป็นเครื่องเจาะขนาดใหญ่และเจาะรูบนชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่  เจาะรูได้ตั้งแต่ขนาด
เล็กจนถึงขนาดใหญ่สุดเท่าที่ดอกสว่านมี  และใช้งานอื่น ๆได้อย่างกว้างขวางการส่งกำลัง
ปกติจะใช้ชุดเฟืองทด  จึงสามารถปรับความเร็วรอบได้หลายระดับ  และรับแรงบิดได้สูง
4.1.1.3    เครื่องเจาะรัศมี  (Radial  Drilling  Machine)เป็นเครื่องเจาะขนาดใหญ่และเจาะรูบนชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่กว่าเครื่องเจาะตั้งพื้น
โดยที่หัวจับดอกสว่านจะเลื่อนไป-มาบนแขนเจาะ  (Arm)  จึงสามารถเจาะงานได้ทุกตำแหน่ง  โดยติดตั้งงานอยู่กับที่การส่งกำลังปกตจะใช้
ชุดเฟืองทด
    4.1.1.4       เครื่องเจาะหลายหัว  (Multiple-spindle or Gang-type Drilling Machine)เป็นเครื่องเจาะที่ออกแบบมาสำหรับการทำงาน
อุตสาหกรรมโดยเฉพาะ  เครื่องเจาะจะมีหลายหัวจับ  ดังนั้นจึงสามารถจับดอกสว่านได้หลายขนาด  หรือจับเครื่องมือตัดอื่น ๆ
เช่น รีมเมอร์  หรือหัวจับทำเกลียวใน  จึงทำงานได้อย่างรวดเร็ว
   4.1.1.5    เครื่องเจาะแนวนอน  (Horizontal  Drilling  Machine)เป็นเครื่องเจาะที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถทำงานได้หลายลักษณะ
  ทั้งการเจาะรู  การคว้านรู  การกัดและการกลึง  มักจะพบในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
4.1.2 ส่วนประกอบที่สำคัญและหน้าที่การใช้งานของเครื่องเจาะ
       4.1.2.1       ส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องเจาะตั้งโต๊ะ
       4.1.2.1.1   ฐานเครื่อง  (Base)  ทำด้วยเหล็กหล่อ  เป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักทั้งหมดองเครื่องจะยึดติดแน่นบนโต๊ะป้องกันการสั่น
สะเทือนในขณะปฏิบัติงาน
       4.1.2.1.2    เสาเครื่องเจาะ  (Column)  จะเป็นเหล็กรูปทรงกระบอกกลวง  เป็นส่วนที่ยึดติดกับฐานเครื่อง 
เพื่อรองรับชุดหัวเครื่องและรองรับโต๊ะงาน