บทที่ 2
เรื่อง กิจกรรมโลจิสติกส



1. กิจกรรมโลจิสติกส์ (Logistics Actvities)
กิจกรรมโลจิสติกส์ในต่ละบริษัทมีการประยุกต์ใช้ในระดับที่แตกต่างกัน บางบริษัทให้ความสนใจในส่วนใดส่วนหนึ่งของโลจิสติกส์ บางบริษัทก็ดำเนินการโดยครบถ้วนซึ่งมีหลายกิจกรรม
กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ สามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังต่อไปนี้

  1. การให้บริการลูกค้า
  2. การจัดการคำสั่งซื้อ
  3. การวางแผนเครือข่ายกระจายสินค้า
  4. การคืนสินค้าจากลูกค้า
  5. อะไหล่ชิ้นส่วน และการสนับสนุนการบริการ
  6. การขนส่งขาออกและการจราจร
  7. การควบคุมสินค้าคงคลัง
  8. คลังสิค้าและการจัดเก็บ
  9. การเคลื่อนย้ายสินค้า
  10. การขนส่งขาเข้า
  11. การกำจัดของเสีย
  12. บรรจุภัณฑ์
  13. การจัดซื้อ
  14. การวางแผน
  15. การพยากรณ์อุปสงค์

2. ประเภทของโลจิสติกส์ (Logistics Type)
            ปัจจุบันโลจิสติกส์มีหลายกิจกรรม ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ได้แก่ การพยากรณ์อุปสงค์ การวางแผนการผลิต การจัดซื้อ การบรรจุภัณฑ์ การเคลื่อนย้ายสินค้า การผลิต การคลังสินค้า การขนส่ง การกระจายสินค้า การบริการลูกค้า เป็นต้น ทุกกิจกรรมในโลจิสติกส์ต้องทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นกระบวนการ โดยสสามารถวัดผลงานในกระบวนการขององค์การทั้งระบบหรือทั้งซัพพลายเชน มีการแบ่งขอบเขตของโลจิสติกส์
2.1 แบ่งตามลักษณะการให้บริการ ในการศึกษาแบ่งตามหลักการให้บริการของจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดในการไหลของวัสดุ หรือสินค้า หรือผู้โดยสาร ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. โลจิสติกส์เพื่อการผลิต
                        2. โลจิสติกส์เพื่อการกระจายสินค้า
                        3. โลจิสติกส์สำหรับผู้โดยสาร
            2.2 แบ่งตามวัตถุประสงค์ นอกจากนั้นการแบ่งประเภทของโลจิสติกส์ จะพิจารณาจากวัตถุประสงค์ที่มีความสำคัญอันดับแรก โดยระบบโลจิสติกส์ในธุรกิจ คือ การสร้างประโยชน์จากเวลาและสถานที่ หรือการสร้างคุณค่าโดยการนำสินค้าจากจุดที่ผลิตไปยังจุดที่มีความต้องการของตลาด(อุปสงค์) เพื่อให้ส่งสินค้าได้อย่างถูกต้องทั้งรูปแบบ คุณภาพ ปริมาณ จังหวะเวลา ด้วยต้นทุนที่พอเหมาะไปสู่สถานที่ที่ถูกต้อง โดยมีพันธกิจของการจัดการโลจิสติกส์ คือ การวางแผน การดำเนินงาน และประสานการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งบรรลุผลในด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการนำเสนอบริการและคุณภาพในระดับที่เหนือกว่า ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ทำให้แบ่งประเภทโลจิสติกส์ ตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้
1. วิศวกรรมโลจิสติกส์
2. โลจิสติกส์การผลิต
3. โลจิสติกส์สำหรับผู้บริโภค
4. ผู้ให้บริการโลจิสติกส์จากภายนอก
                                    -ผู้ให้การขนส่ง
                                    -ผู้รับจองระวาง
                                    -สมาคมเพื่อขนส่งทางเรือ
                                    -บุคนที่ 3
                        5.โลจิสติกส์ในระดับสากล

3.ประเภทของโลจิสติกส์ของฮ่องกง (Homgkong Logistics Type)
            สำนักวิเคราะห์โครงการลงทุนภาครัฐ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พัฒนาการของระบบโลจิสติกส์ ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบโลจิสติกส์ในหลายประเทศ ผู้เขียนจึงขอยกเอาประเทศฮ่องกง ที่ในปี 2548  ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยภาครัฐทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุน และเอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อน โดยมีลักษณะโครงสร้าง
-ด้านการขนส่ง
            -ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
            -ด้านความรู้
            -ด้านปัจจัยพื้นฐาน