บทที่ 3
เรื่อง หลักการจัดการโซ่อุปทาน

1.การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)
            ซัพพลายเชน (Supply Chain) หรือโว่อุปทาน ซึ่งผู้เขียนขอใช้คำว่า ซัพพลายเชน
ในตำราทุกเล่มในชุดนี้ หมายถึง โรงงาน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิต
การจัดส่งสินค้าจากผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือสินค้า (ผู้ขายชองผู้ขาย) ไปยังลูกค้า
(ลูกค้าของลูกค้า) การเชื่อมต่อกันหลายๆฝ่าย ทำให้เกิดวิกฤตทั้งในการประสานงานและการสื่อสาร ทำให้มีสินค้าคงคลังในระดับสูงเพื่อรองรับความไม่แน่นอนในซัพพลายเชน
การปรับปรุงซัพพลายเชนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น จะนำมาซึ่งความพึงพอใจของลูกค้าที่ได้รับสินค้าที่ต้องการ
ในเวลาที่ถูกต้อง และมีปริมาณตามที่กำหนดไว้ โดยเสียค่าใช้จ่ายรวมตลอดซัพพลายเชน
ที่ต่ำซึ่งจะส่งผลให้องค์การธุรกิจสามารถหมุนเวียนเงินสดได้รวดเร็ว มีกำไรเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม
ในระบบหรือเรียกว่าโซ่ข้อมูล (Value Chain) อุปสรรคในโซ่ข้อมูลค่าในธุรกิจไทยเกิดจาก
-ขาดการวางแผนในภาคการผลิต การใช้พลังงาน และจำนวนยานยนต์ในระยะยาว
-การบริโภค และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น
-ขาดการจัดระเบียบและการวางแผนอุปทานในระบบการขนส่งมวลชน
มีรถยนต์ส่วนบุคคลจำนวนมาก ทำให้การจราจรติดขัด
-ขาดการวางแผนเกี่ยวกับผังเมืองเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม
เพื่อให้สามารถใช้การขนส่งและคลังสินค้าร่วมกันได้ ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้าย
-ขาดระบบสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้านโลจิสติกส์
และการจัดการซัพพลายเชนอย่างเต็มรูปแบบ
ในซัพพลายเชนจะเกิดโซ่มูลค่า (Value Chain) ต่อเมื่อต้องสามารถสร้างระบบสื่อสาร
เพื่อควบคุมสินค้าคงคลังให้ทุกฝ่ายมีต้นทุนที่ต่ำ โดยเริ่มจากการสร้างการเชื่อมต่อ
ข้อมูลระหว่างคลังสินค้ากลางและคลังสินค้าในหน่วยงาน โดยถ้าเปรียบก็เสมือนการปิดหรือเปิดก๊อกสินค้าคงคลัง ที่เกี่ยวข้องกับการจัดส่งและความต้องการของผู้ใช้ โดยต้องสัมพันธ์กับความถี่ของการจัดส่ง
ขนาดที่บรรทุก ขนาดคลังสินค้า ความสามารถในการยกขนสินค้า
ความสามารถในการขนส่ง ซึ่งต้องเชื่อมต่อกันอย่างต่อเนื่อง
สรุป การที่ประยุกต์ใช้การจัดการซัพพลายเชนได้ การจัดการโลจิสติกส์ในแต่
ละบริษัทซึ่งเป็นการจัดการระดับยุทธวิธี (Tactical) ที่เกี่ยวข้องในซัพพลายเชนต้องมีการดำเนินการที่ดีและเป็นระบบจึงทำให้ผล
ดำเนินงานตลอดซัพพลายเชนมีประสิทธิผล
ระบบห่วงโซ่อุปทาน ( Supply Chain ) ที่ดีที่สุดไม่เพียงแต่จะมีความรวดเร็วและประหยัดค่า
ใช้จ่ายเท่านั้น แต่ยังต้องมีความคล้องตัวและมีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนได้ง่าย รวมทั้งต้องนำไปสู่ผลประโยชน์ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานด้วย

2.การยุกต์ใช้ซัพพลายเชนในธุรกิจและบริการ (Applied Logistics in Business and Services )
จากบทความเรื่อง The Triple-A Supply Chain ซึ่งตีพิมพ์ใน Harvard Business Review เดือนตุลาคม 2547
โดย ฮัว แอล ลี ( Hau L. Lee ) ได้ศึกษาในช่วง 15  ปี ที่ผ่านมาเกี่ยวกับระบบซัพพลายเชน เพื่อจะสรรสินค้าและบริการกับลูกค้าเพื่อให้เกิดความรวดเร็วและราคาที่ถูกที่สุด กว่า 60 แห่ง
ซึ่งพบว่าบริษัทเหล่านี้ได้ลงทุนในทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีที่สุด
จากการทำวิจัยพบว่าปัญหาเกิดจากการที่บริษัทที่พัฒนาระบบซัพพลายเชนให้มีความรวดเร็ว
และประหยัดไม่สามารถสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งในระยะยาวได้ เพราะความจริงแล้ว
ผลปฎิบัติงานของระบบดังกล่าวจะถดถอยลงอย่างต่อเนื่อง เช่น แม้ว่าจะมีการพัฒนาประสิทธิผลของระบบซัพพลายเชนทำให้สินค้าสามารถลดราคาจำหน่ายลงจาก
ไม่ถึงร้อยละ 10 ในปี 2523 แต่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ในปี 2543 และจากการสำรวจพบว่าความพอใจของ
ลูกค้าในตัวผลิตภัณฑ์นั้นได้ลดลงอย่างมากในช่วงดังกล่าว