บทที่ 1 คอมพิวเตอร์และประเภทของคอมพิวเตอร์


ความหมายของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare หมายถึง การนับหรือการคำนวณ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ได้ว่า คอมพิวเตอร์ คือ “เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อน โดยมีวิธีทางคณิตศาสตร์” นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า “คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการเขียนคำสั่งให้ทำงานตามที่กำหนด เพื่ออำนวยความสะดวกและช่วยแบ่งเบาภาระการทำงานของมนุษย์ให้มีความถูกต้อง รวดเร็ว ละมีประสิทธิภาพมากขึ้น” คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูลทั้งตัวเลขและตัวอักษรเพื่อให้การเรียกใช้งานในครั้งต่อไปรวดเร็วขึ้น โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรมและยังความสามารถในด้านต่างๆ เช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่อง สามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆได้ เป็นต้น โดยสรุป คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อช่วยทำงานให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมนุษย์เป็นผู้เขียนชุดคำสั่ง สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตาม ชุดคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เรียกว่า โปรแกรม ซึ่งผลลัพธ์จากการทำงานของคอมพิวเตอร์จะถูกต้องหรือไม่ ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน มนุษย์จะเป็นผู้กำหนดข้อมูล วิธีการ สูตรการคำนวณ เพื่อรวบรวมเป็นโปรแกรมสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงาน จากนั้นทำการทดสอบการทำงานของโปรแกรมว่าถูกต้องหรือไม่ สามารถนำไปใช้งานได้จริงละให้ผลลัพธ์ถูกต้องตรงกับความต้องการหรือไม่ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานตามชุดคำสั่งหรือโปรกรมที่กำหนดไว้เท่านั้น จะไม่สามารถตัดสินปัญหาต่างๆได้เอง แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะทำงานแทนมนุษย์ได้รวดเร็วทันใจละม่นยำกว่ามนุษย์ทำเองก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องเสมอไป


ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์

เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีลักษณะหรือจุดเด่น 4 ประการ เพื่อทดแทนข้อจำกัดในการทำงานของมนุษย์ เรียกว่า 4 Special ดังนี้

  1. หน่วยเก็บ (Storage) หน่วยเก็บ หมายถึง ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากละเป็นเวลานาน นับเป็นจุดเด่นทางโครงสร้างและเป็นหัวใจของการทำงานแบบอัตโนมัติและเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องด้ว
  2. ความเร็ว (Speed) ความเร็ว หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลของข้อมูล (Processing Speed) ซึ่งความสามารถนี้จะใช้เวลาในการประมวลผลน้อย จึงเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญส่วนหนึ่งเช่นกัน
  3. ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting) ความเป็นอัตโนมัติ หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลของข้อมูลตามลำดับขั้นตอนได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องอย่างอัตโนมัติ โดยมนุษย์จะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในขั้นตอนการกำหนดโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลก่อนประมวลผลเท่านั้น
  4. ความน่าเชื่อถือ (Sure) ความน่าเชื่อถือ หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความสามารถนี้เกี่ยวข้องกับโปรแกรมคำสั่งละข้อมูลที่มนุษย์กำหนดละป้อนข้อมูลให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง กล่าวคือ หากมนุษย์ป้อนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ย่อมได้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีลักษณะหรือจุดเด่น 4 ประการ เพื่อทดแทนข้อจำกัดในการทำงานของมนุษย์ เรียกว่า 4 Special ดังนี้

  1. ด้านการศึกษา ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เสริมทักษะความรู้ การสืบค้นข้อมูล การค้นคว้า นอกจากนี้ยังมีเกมการศึกษาที่ให้ทั้งความรู้ ความสนุก ที่สามารถนำไปบูรณาการกับวิชาต่างๆ ใช้เพื่องานด้านการเรียนการสอนในหลายรูปแบบ เช่น การผลิตสื่อการสอน การใช้ซีดีรอมสำหรับการเรียนรู้ เกมเพื่อการศึกษาหรือคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น
  2. ด้านความบันเทิง ใช้ในการชมภาพยนตร์ ฟังเพลง ร้องเพลง จากแผ่น CD VCD และ MP3 พร้อมทั้งสามารถเล่นเกมเพื่อความสนุกสนานและแข่งขันเพื่อทดสอบความสามารถระหว่างผู้เล่นกับคอมพิวเตอร์ หรือผู้เล่นกับผู้เล่นด้วยกัน
  3. ด้านการเงิน การธนาคาร ใช้ในการฝากเงิน เบิกเงิน หรือถอนเงินอัตโนมัติผ่านเครื่อง ATM การดูข้อมูลตลาดหุ้น
  4. ด้านการสื่อสารและคมนาคม ใช้ในการสื่อสารและถ่ายทอดโดยผ่านสัญญาณดาวเทียม การติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต การติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์ การคมนาคมทางเรือ เครื่องบิน รถไฟฟ้า BTS เป็นต้น
  5. ด้านศิลปะและการออกแบบ ในการออกแบบป้าย อาคาร หรือสถานที่จำลองต่างๆออกแบบเสื้อผ้า ลายผ้า การปักในรูปแบบต่างๆ การออกแบบปกรายงาน ปกหนังสือ เป็นต้น
  6. ด้านการแพทย์ ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานด้านการแพทย์อย่างกว้างขวางหลายด้าน เช่น การเก็บประวัติคนไข้ ใช้ทดลองประกอบการการวินัยของแพทย์ ใช้ในการวิเคราะห์ตรวจเลือด ตรวจปัสสะวะ การผ่าตัดหัวใจ การตรวจสอบห้องพักผู้ป่วย การควบคุมการปล่อยรังสี แสงเลเซอร์ การเอกซเรย์ การตรวจคลื่นสมอง คลื่นหัวใจ เป็นต้น
  7. ด้านวิทยาศาสตร์และเคมี ในการวิเคราะห์สูตรทางเคมี การค้นคว้าละทดลองในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ การคิดคำนวณสูตรทางวิทยาศาสตร์ การคำนวณเกี่ยวกับระบบสุริยจักรวาลและการเกิดปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงดาวต่างๆ เช่น ดาวตก ดาวหาง กลุ่มดาวเคราะห์ ฝนดาวตก เป็นต้น

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์บ่งออกได้เป็นหลายประเภท เช่น แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งาน แบ่งตามลักษณะของข้อมูลที่ใช้ หรือแบ่งตามขนาด ดังนี้

    คอมพิวเตอร์แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  1. คอมพิวเตอร์ใช้งานทั่วไป (General Purpose Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเพื่อการใช้งานโดยทั่วไป ไม่มีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะ เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป
  2. คอมพิวเตอร์ใช้งานเพาะอย่าง (Specific Purpose Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้น โดยมีลักษณะพิเศษใช้สำหรับงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องคอมพิวเตอร์เอกซเรย์ เครื่องตรวจวัดสายตา เครื่องเบิกเงิน-ถอนเงินอัตโนมัติ เป็นต้น
    คอมพิวเตอร์แบ่งตามลักษณะของข้อมูลที่ใช้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
  1. คอมพิวเตอร์แบบอนาล็อก (Analog Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่คำนวณการใช้สภาพทางฟิสิกส์หรือทางคณิตศาสตร์เข้ามาเปรียบเทียบ เช่น ค่าของปริมาณไฟฟ้า อาจใช้แทนด้วยค่าอุณหภูมิ แรงเคลื่อนไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้า ค่าที่นำมาคำนวณกับอนาล็อกคอมพิวเตอร์จะเป็นค่าที่ต่อเนื่อง ผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปของการวัดและเปรียบเทียบค่าต่างๆ
  2. คอมพิวตอร์แบบดิจิทัล (Digital Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูลเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร และให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร คอมพิวเตอร์แบบดิจิทัลมีไว้สำหรับการนับ มีความสารถในการปฏิบัติงานทางด้านคณิตศาสตร์ (Mathematial Operration) กับข้อมูลการบวก ลบ คูณ หาร และการเปรียบเทียบ การทำงานของคอมพิวเตอร์แบบนี้ทำได้รวดเร็วถูกต้องกว่าคอมพิวเตอร์แบบอนาล็อกมาก
  3. คอมพิวเตอร์แบบผสม (Hybrid Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำเทคนิคและส่วนประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์แบบอนาล็อกและคอมพิวเตอร์แบบดิจิทัลมารวมกันจึงทำให้รับข้อมูลในลักษณะการวัดละคำนวณได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ เช่น ระบบจำลอง (Simulator System) ในการฝึกการบินของนักบิน ใช้คอมพิวเตอร์แบบอนาล็อกเพื่อควบคุมการเดินทางของยานอวกาศ ในขณะที่ส่วนดิจิทัลคอยกำหนดเส้นทางของยานอวกาศ
    คอมพิวเตอร์แบ่งตามขนาดของหน่วยความจำ โดยบ่งตามขนาดของหน่วยความจำหลักเป็นเกณฑ์ แต่ปัจจุบันเนื่องจากมีการพัฒนาทางอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์จำนวนมาก จึงไม่สามารถยึดเอาหน่วยความจำหลักเป็นเกณฑ์ได้อีก แต่ยังคงใช้คำแสดงขนาดอยู่บ้างง แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
  1. เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Large Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะการทำงานสลับซับซ้อนมาก มีอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์จำนวนมาก และมีขนาดใหญ่ เช่น หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำสำรอง เครื่องพิมพ์ความเร็วสูง มีระบบกลไกรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างดีการบันทึกประวัติการใช้เครื่อง การเรียกข้อมูลคืน การสำรองข้อมูล เครื่องประเภทนี้ได้แก่ เครื่องเมนเฟรม (Mainframe Computer) หรือซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
  2. เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Medium Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เล็กลงมา ตี่ประสิทธิภาพในการทำงานค่อนข้างสูงพอสมควร สามารถใช้งานได้หลายประเภท เครื่องขนาดนี้ได้แก่ มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)
  3. เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (Small Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการทำงานไม่สลับซับซ้อน อุปกรณ์ต่อพวงมีจำนวนไม่มาก สามารถใช้กับงานทั่วๆไป คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ได้แก่ เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก และคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก

นายลือเดช บุญโยดม
หัวหน้าแผนกวิชา

นางสาวขวัญเรือน นันทแสง
ครูประจำแผนกวิชา


นายผดุงศักดิ์ บุญยืน
ครูประจำแผนกวิชา


นายกิตติศักดิ์ แสวงสุข
ครูประจำแผนกวิชา


นางสาวจารุมาศ ยะบุญมี
ครูประจำแผนกวิชา
ครูที่ปรึกษาโครงการ


 

ติดต่อเรา :

วิทยาลัยการอาชีพสตึก 100 หมู่ที่ 23 ถ. บุรีรัมย์-มหาสารคาม ต.นิคม อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ 31150

โทร 0-4468-0114 , 08-1955-1489, Fax 0-4468-0208

SATUK INDUSTRIAL AND COMMUNITY EDUCATION COLLEGE_ _ _ _ Email: stuksticc@gmail.com