แยมโรล (Jam Roll) ที่เราคุ้นเคย ในเมืองไทย มีลักษณะเป็นแผ่นขนมเค้กม้วน ตัดเป็นชิ้น หนา 1/2 นิ้ว ข้างในทาแยมรสต่าง ๆ เช่น แยมผิวส้ม แยมสตรอเบอรี่ แยมสัปปะรด หรือ ทาครีมหวาน ๆ เป็น ครีมโรล
(Cream Roll) อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ปะปนกัน และแม้ว่าใส้ในจะเป็นครีมฟูสีขาวรสชาติหวานมัน ไม่มีแยมเลยซักนิดเดียว ขนมชนิดนี้ก็ยังถูกเรียกขานว่า ‘แยมโรล’ ต่อท้ายด้วยคำว่า ‘ใส้ครีม’
แยมโรล มาจาก ขนมของฝรั่งที่ชื่อว่า สวิสโรล (Swiss Roll) ซึ่งไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศสวิสฯ แต่อย่างใด แต่ว่าแพร่หลายทั้งในยุโรป อังกฤษ ฮ่องกง (เอ็กโรล ‘Egg Roll’) อินเดีย (แยมโรล ‘Jam Roll’) อเมริกา (เจลลีโรล ‘Jelly Roll’) และ ทั่วโลก
สวิสโรลของฝรั่ง ใส้ในรองพื้นด้วยครีมฟู และ วางผลไม้สด ๆ หรือ ใส่เจลลี่ลักษณะคล้ายแยม
ลงไปด้านบน ใส่แบบหนา ๆ ทั้งครีมและแยม สำหรับอากาศเย็น ๆ ทานแล้วได้ทั้งความอบอุ่น
และรสชาติที่แสนอร่อย
http://eubaan.blogspot.com/2010/08/how-to-make-jam-roll-cake.html
"cupcake" ถูกพบครั้งแรกในปี 1828 ในหนังสือ Eliza Leslie's Receiptscookbook ในช่วงต้นศตวรรรษที่ 19 มีการเขียนทั้งแบบ Cup cake และ Cupcake เดิมที่สมัยก่อนจะอบ Cupcake ในถ้วยกระเบื้องกัน
คัพเค้ก ( Cupcake ) เริ่มแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ราวช่วงต้นศตวรรษที่ 19 คิดขึ้นมาเพื่อต้องการประหยัดเวลาในการทำจีงได้คิดทำเค้กเป็นถ้วยๆขึ้นมา ซึ่งจริงๆต้นกำเนิดแล้วคำว่า
Cupcake นั้น นักประวัติศาสตร์ด้านอาหารคิดว่าน่าจะมาจาก 2 ทฤษฏี คือ
- มาจากการทำเค้กในถ้วย จึงเรียกว่า คัพเค้ก (Cupcake)
- มาจากเวลาทำเค้กชนิดนี้ มาตราส่วนในการตวงใช้ เป็นถ้วย จึงเรียกว่า คัพเค้ก (Cupcake)
คัพเค้ก (Cupcake) ทำง่าย สะดวกรวดเร็วกว่า การทำเค้กทั่วไปที่มีขนาดใหญ่ หลังจากอบเสร็จมีการตั้งเอาไว้ให้หายร้อนในเตาอบ ทำให้เค้กไหม้ มัฟฟินทิน (Muffin tin) จึงได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในช่วงศตวรรษที่ 20 ถือเป็นช่วงในการเริ่มต้นทำ Cupcake ในถ้วยอลูมิเนียม , ถ้วยกระดาษสีสวยๆที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาทำให้ คัพเค้ก ( Cupcake) ได้รับความนิยมอย่างมากมายในปัจจุบัน มีร้านขาย Cupcake เปิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คัพเค้กยอดนิยม ก็ยังคงเป็นรสวานิลา (Vanilla)) และช็อคโกแล็ต ( Chocolate ) ส่วนรสอื่นๆ ก็มี ราสเบอรรี่ เมอแรง (raspberry meringue) ,เอสเพลสโซ่ ฟรัดจ์ (Espresso fudge)
http://www.foodietaste.com/mustknow_detail.asp?id=149
คุกกี้ คือขนมอบชิ้นเล็ก ๆ รูปร่างแบน ซึ่งทำจากแป้งสาลี คำว่าคุกกี้มีที่มาจากคำในภาษาดัตช์ koekje ซึ่งหมายถึง "เค้กชิ้นเล็ก ๆ" แรกเริ่มเดิมทีนั้น คุกกี้ทำโดยการแบ่งแป้งขนมเค้กที่ผสมแล้วออกมาส่วนหนึ่ง จากนั้นแบ่งออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำเข้าเตาอบ เพื่อทดสอบอุณหภูมิที่จะใช้อบขนมเค้ก คำว่า "คุกกี้" (cookie) ใช้กันในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในขณะที่ในสหราชอาณาจักรจะเรียกขนม
แบบเดียวกันนี้ว่า "บิสกิต" (biscuit)
ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่อีกประเภทหนึ่งซึ่งเราค่อนข้างจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีเพราะเป็นขนมที่มีกรรม
วิธีการทำที่ง่าย รสชาติอร่อย หอม หวานมัน และที่สำคัญคือความกรอบ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของขนม
ประเภทนี้ และสามารถเก็บเอาไว้ได้ในระยะยาว นิยมที่จะใช้เป็นของขวัญในวันปีใหม่ หรือเทศกาลต่าง ๆ นั้นก
็คือ คุกกี้(Cookies) นั่นเอง คุกกี้เป็นเบเกอรี่ที่มีส่วนผสมคล้ายคลึงกับเค้กคือ ประกอบด้วย แป้ง, เนย, นม, ไข่ และสิ่งที่ช่วยให้ขึ้นฟูอื่น ๆ แต่จะมีส่วนผสมของ ของเหลวน้อยกว่าและแตกต่างกับเค้กตรงที่ใช้แป้งที่มีปริมาณโปรตีนสูงกว่าเค้ก แต่น้อยกว่าขนมปังแป้งที่ว่าก็คือ แป้งสาลีเอนกประสงค์
https://sites.google.com/site/khukkikhnmesenxrxy/khwam-hmay-khxng-khnm-khu-kki
เอแคลร์ ที่รู้จักกันดีใน เมืองไทย เป็นขนมก้อนกลมๆ รีๆ ขนาดพอคำ หรือ สองคำ มีไส้ครีมอยู่ภายใน
อันที่จริง โดยทั่วๆ ไป ขนมลักษณะนี้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า โพรฟิเทอะโร (Profiterole) บ้างก็เรียกว่า
ชูส์ (Choux) ซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศส ส่วนชาวอังกฤษเรียกว่า ครีมพัฟ (Cream Puff)
ส่วนขนมเอแคลร์ (Eclair) ในความหมายของชาวต่างประเทศ มีลักษณะเป็นท่อนยาว รีๆ โดยมีเนื้อแป้งและไส้ข้างใน คล้ายกับโพรฟิเทอะโร ลักษณะเด่นของขนมเอแคลร์คือ เปลือกขนมคงรูป และภายในเป็นรูกลวง จึงใส่ไส้ต่างๆ ตามใจเราได้ เช่น ไส้ครีมวานิลลา ไส้ครีมช็อคโกแล็ต หรือ ไส้ครีมกาแฟ ด้วยการเจาะรูเล็ก ๆ ที่เปลือก แล้วบีบไส้ครีมต่าง ๆ ใส่เข้าไปในช่องว่างให้เต็ม หรือถ้าทำในแบบครีมพัฟ จะตัดด้านบนหรือตัดกลางผ่าครื่ง บีบครีมใส่ลงไปในตัวขนมให้พูนขึ้นมา แล้ววางฝาปิดทับไปบนขนม พร้อมจัดให้สวยงาม จากลักษณะของเปลือกขนมเอแคลร์ ที่ไม่เหมือนกับขนมอื่น จึงมีวิธีการเฉพาะ ในการทำให้แป้งขึ้นรูป แป้งที่พร้อมทำเอแคลร์ เรียกว่า ชูส์เพสท์ (Choux Paste) ขอบคุณข้อมูลจาก
http://eubaan.blogspot.com/2010/09/eclair-howtomakechouxpaste.html
|