ธุรกิจ (Business) หมายถึงกิจกรรมต่างๆที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการโดยมีการซื้อ
ขายแลกเปลี่ยนกัน และมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการประหรือกำไรจากการกระทำกิจกรรมนั้น
ความหมายของธุรกิจ ทุกคนมีความต้องอยู่ 2 ประการ คือความต้องการขั้นพื้นฐานต่อการดำรง
ชีวิต
ได้แก่ปัจจัย 4 คือ อาหารเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค และความต้องการของ
มนุษย์อยากมีถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้มนุษย์ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น รถยนต์ โทรทัศน์ เครื่องปรับ
อากาศ เป็นต้น ดังนั้น ธุรกิจจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของมนุษย์ เพราะธุรกิจเป็นแหล่ง
ผลิตสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์
การเกิดธุรกิจขึ้นจึงมีความสำคัญดังนี้
1. สร้างความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี เนื่องจากการจะผลิตสินค้าและบริการใหม่ๆเกิดขึ้น
หมายความว่าสินค้านั้นต้องจำหน่ายให้กับประชากรในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ต้องมีการ
ใช้เครื่องจักร เครื่องมือที่ทันสมัยหรือใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ในบริเวณที่ทำการประกอบธุรกิจจะ
เจริญก้าวหน้า เช่น การคมนาคมจะมีการสร้างถนน เพื่อความสะดวกในการขนย้ายสินค้าและ
วัตถุดิบนำเข้าจะเกิดความเจริญด้านสาธารณูปโภค ระบบไฟฟ้า ประปาและโทรศัพท์
2. ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นจากผลของการเกิดธุรกิจนั้น ประชาชนที่อยู่รอบบริเวณที่ธุรกิจตั้งอยู่ก็
จะมีงานทำก่อให้เกิดรายได้มีกระแสเงินหมุนเวียน ส่งผลให้เศรษฐกิจดีขึ้น เมื่อมีการประกอบธุรกิจ
เกิดขึ้นภายในประเทศมากๆ จะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศดีขึ้นด้วย
3. ยกระดับค่าครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้น เมื่อมีธุรกิจเกิดขึ้นในชุมชนหรือเขตพื้นที่ใดจะ
ทำให้เกิดรายได้ไปสู่ในเขตและชุมชนนั้น เมื่อประชาชนมีรายได้ดี สาธารณูปโภคตลอดจนระบบ
การสื่อสารติดต่อกันดีจะทำให้ระบบค่าครองชีพของประชาชนและชุมชนนั้นสูงขึ้นด้วย
4. เพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล เนื่องจากธุรกิจที่เกิดขึ้นจะต้องมีการส่งสินค้าออกไปขายทุกภูมิภาค
ของประเทศหรือส่งขายตามประเทศต่างๆ เช่น กัมพูชา พม่า ลาวและเวียดนาม การส่งสินค้าออกไป
ขายจะทำให้ได้เงินตราของต่างประเทศหมุนเวียนเข้ามาสู่ประเทศได้ ทำให้มีรายได้จากการส่งสิน
ค้า ออกไปขายเงินต่างประเทศไหลเข้าประเทศไทยจึงเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล
5. ช่วยเหลือด้านสวัสดิการต่างๆ ให้กับสังคม การที่ประชาชนมีงานทำทำให้มีรายได้มาเลี้ยง
ครอบครัว รัฐบาลไม่ต้องเสียงบประมาณที่ช่วยเหลือผู้ว่างงานหรือตกงานสามารถนำเงินนี้มาจัด
สวัสดิการต่างๆ ให้กับประชาชนทั้งประเทศ เช่น ประกันสังคม สาธารณสุขและการศึกษาเป็นต้น
ความสำคัญของธุรกิจที่มีต่อสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ยอมรับกันที่การเกิดกิจกรรมทางธุรกิจทำให้เกิด
ประโยชน์ต่อมนุษย์ในแต่ละสังคมหลายลักษณะดังนี้
1. ผลิตสินค้าและบริการเพื่อที่จะให้ประชาชนโดยทั่วไปได้ใช้ให้เกิดประโยชน์
2. หน่วยงานธุรกิจนั้นช่วยให้ประชาชนมีงานทำและมีรายได้ในการจับจ่ายใช้สอยในการซื้อสินค้า
และบริการมาใช้ ทำให้เกิดการกินดีอยู่ดี
3. ทำให้เศรษฐกิจของประเทศชาติดีขึ้นคือมีรายได้เข้าประเทศในการจัดจำหน่ายสินค้าออกต่าง
ประเทศ
4. สินค้าและบริการที่ธุรกิจผลิตขึ้นมานั้นต้องมีมาตรฐานและมีคุณภาพที่ดี่ไม่เป็นอันตรายต่อ
ประชาชนหรือผู้ใช้
5. ในการปฏิบัติกิจกรรมทางธุรกิจภายในระบบธุรกิจก่อให้เกิดพันธมิตรนานาประการ ทั้งภายใน
และภายนอกที่ธุรกิจตั้งอยู่ทำให้มีการเกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นพันธมิตรกัน
6. การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีซึ่งกันและกันจากผลิตภัณฑ์ที่แลกเปลี่ยนกันใช้
ประโยชน์ของธุรกิจจำแนกได้ดังนี้
1. ธุรกิจผลิตสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ในสังคม เนื่องจากความต้องการ
ของคนแตกต่างกันและไม่มีที่สิ้นสุดเพื่อสร้างความพึงพอใจและความสะดวกสบายแก่ตนเองดังนั้น
ธุรกิจจึงมีหน้้าที่ในการจัดหาสิ่งต่างๆ มาบริการสนองความต้องการ
2. ธุรกิจช่วยกระจายสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค เมื่อธุรกิจประเภทผู้ผลิตสินค้า เช่นโรงงาน
อุตสาหกรรมผลิตสินค้าออกมาแล้ว การที่สินค้ากระจายไปสู่ผู้บริโภคได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยธุรกิจ
ประเภทอื่นช่วยกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภค เช่น ธุรกิจการขนส่ง พ่อค้าคนกลาง การประชาสัมพันธ์ การบริการด้านการเงินของธนาคาร การสื่อสาร ฯลฯ
3. ธุรกิจเป็นแหล่งตลาดแรงงาน ในการดำเนินการธุรกิจมีความจำเป็นต้องใช้แรงงานเพื่อทำการ
ผลิตสินค้าหรือบริการจึงทำให้คนมีงานทำสมารถหารายได้เพื่อเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ ทำให้
ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมดีขึ้น นอกจากนั้นการที่ธุรกิจกระจายไปอยู่ตามส่วนต่างๆของ
ประเทศ ก็เป็นการกระจายรายได้และตลาดแรงงานไปสู่ท้องถิ่นด้วย
4. ธุรกิจเป็นแหล่งเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐบาล เมื่อธุรกิจมีกำไรผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีให้
รัฐบาลตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้รายได้ของรัฐเพิ่มขึ้นและรัฐนำรายได้ไปใช้ในการพัฒนา
ประเทศได้แก่ การสร้างโรงพยาบาล สร้างถนน สร้างโรงเรียน ซึ่งเป็นการสร้างคุณภาพชีวิต
ให้แก่ประชาชน
5. ธุรกิจช่วยพัฒนาเศรษฐของประเทศ ในการผลิตสินค้าและบริการของธูรกิจในระยะแรกๆก็เพื่อ
สนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น จังหวัดและประเทศ แต่เมื่อธุรกิจขยายตัวเติบโตขึ้น
สามารถผลิตสินค้าและบริการได้มาก จนเกินความต้องการของคนในประเทศจึงต้องส่งสินค้าออก
จำหน่ายยังต่างประเทศ ทำให้มีรายได้เข้าสู่ประเทศ ถือเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้อีก
ทางหนึ่ง
วัตถุประสงค์และหน้าที่ในการประกอบธุรกิจ
ธุรกิจเป็นสถาบันทางสังคมที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ทั้งความชำนาญและการ
ดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ธุรกิจทุกประเภทย่อมมีวัตถุประสงค์ตรงกันดังนี้
1. เพื่อต้องการแสวงหาผลกำไร ซึ่งถือเป็นแรงจูงใจในการลงทุนที่เป็นเจ้าของต้นทุนต้องการเป็น
สิ่งตอบแทน
2.เพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภค โดยคำนึงถึงความพึงพอใจของผู้บริโภคเป็นหลัก
3. เพื่อเปิดโอกาสให้คนมีงานทำ เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน
4. เพื่อให้บริการแก่ชุมชนและสร้างเสริมสร้างความเจริญให้แก่สังคมโดยรวม
หน้าที่ในการประกอบธุรกิจ
1. หน้าที่ด้านการตลาด การตลาดเป็นกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้สินค้าหรือการบริการเคลื่อนย้าย
จากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งได้รับความพึงพอใจด้วยการจำหน่ายและกระจายสินค้าได้อย่าง
รวดเร็วเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ ผู้ประกอบการมีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
การกำหนดราคา การเลือกช่องทางจัดจำหน่าย การขนส่ง การเก็บรักษาสินค้าและการส่งเสริม
การตลาดเป็นต้น
การจำหน่ายสินค้า
การให้บริการ
การผลิตสินค้า
2. หน้าที่ด้านการผลิตสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกสบาย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบ
สินค้ากึ่งสำเร็จรูป สินค้าสำเร็จรูป ฯลฯ ล้วนเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นทั้งสิ้นการผลิต
เป็นกิจกรรมหลักของธุรกิจการผลิตและธุรกิจอุสาหกรรม ซึ่งทำให้เกิดสินค้าและบริการ เพื่อตอบ
สนองความต้องการของผู้บริโภค นอกจากนี้ยังรวมถึงการเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน การติดตั้งเครื่อง
จักร การซื้อวัตถุดิบ การดำเนินการผลิต การเก็บรักษาสินค้า ตลอดจน การให้ บริการและการ
อำนวยความสะดวกต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภค
3. หน้าที่ด้านการเงิน ธุรกิจจะเริ่มต้นและเจริญก้าวหน้าได้อย่างต่อเนื่องขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงิน
ของธุรกิจนั้น หากบุคคลที่เกี่ยวข้องจัดการด้านการเงินให้มีความสัมพันธ์กันระหว่างรายรับและ
รายจ่ายแล้วจะลดปัญหาด้านการเงินลงได้ หน้าที่ด้านการเงินหมายรวมถึงการจัดหาเงินทุน การเก็บรักษาการใช้เงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนที่เหมาะสมเป็นการ
สร้างสภาพคล่องทางการเงินให้แก่กิจการ
4. หน้าที่ด้านข้อมูลข่าวสาร ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้หรือไม่นั้นย่อมอาศัย
ข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจเป็นหลัก โดยมุ่งสื่อสารอย่างรวดเร็วและแม่นยำ ในยุคโลกาภิวัตน์ข่าวสาร
ทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการจะต้องศึกษาค้นคว้าผ่านสื่อต่างๆ ได้มาก เช่น หนังสือพิมพ์ทาง
ธุรกิจ วารสารอุตสาหกรรม โทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
รูปแบบองค์กรธุรกิจ
ได้จำแนกประเภทธุรกิจตามกิจกรรมเศรษฐกิจไว้ดังนี้
- 1. ธุรกิจด้านเกษตรกรรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้
- 2. ธุรกิจด้านการประมง
- 3. ธุรกิจด้านการทำเหมืองแร่และเหมืองถ่านหิน
- 4. ธุรกิจด้านการผลิต
- 5. ธุรกิจด้ารการไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา
- 6. ธุรกิจด้านการก่อสร้าง
- 7. ธุรกิจด้านการขายส่ง ขายปลีก
- 8 ธุรกิจด้านโรงแรม ภัตตาคาร
- 9. ธุรกิจด้านการขนส่ง การคมนาคม
- 10. ธุรกิจด้านการเป็นตัวกลางทางการเงิน
- 11. ธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์
- 12. ธุรกิจด้านการบริหารราชการ การป้องกันประเทศ
- 13. ธุรกกิจด้านการศึกษา
- 14. ธุรกิจด้านงานด้านสุขภาพและสังคมสงเคราะห์
ระบบธุรกิจ
ระบบธุกิจ หมายถึงระบบที่ทำงานเพื่อจุดประสงค์ด้านธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรม เป็นระบบธุรกิจ
เพื่อจุดประสงค์ด้านการผลิต ระบบขนส่ง ระบบโรงแรม ระบบการพิมพ์ ระบบธนาคาร และอื่นๆ
ล้วนแล้วแต่เป็นระบบธุรกิจทั้งสิ้น แต่ระบบจะมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน
ระบบธุรกิจประกอบด้วยระบบย่อยพื้นฐาน เช่น ระบบการผลิต ระบบการตลาด ระบบบัญชี
การเงินระบบสินค้าคงคลังและระบบริหารงานทรัพยากรบุคคล เป็นต้น ซึ่งมีความสัมพันธ์กันทั้ง
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องและการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ โดยต้องอาศัยกระบวนการ คือ การแสดงถึงการ
ทำงานแต่ละขั้นตอน ซึ่งควรพิจารณา 4 ด้าน คือ
1. สิ่งที่ถูกกระทำ(What) วัตถุประสงค์ของระบบคืออะไร มีแผนงานขั้นตอนอย่างไรเพื่อนำไปสู่
ความสำเร็จตามเป้าหมาย
2. วิธีการทำงานจำทำอย่างไร (How)
ต้องใช้เครื่องมือใดเพื่อให้งานสำเร็จได้รวดเร็ว
3. จะทำอย่างไร (When)
การเริ่มดดำเนินงานและผลสำเร็จของงานจะสำเร็จได้เมื่อใด
4.ใครเป็นคนทำ (Who)
บุคคลหรือคณะใดที่ก่อเป็นผู้รับผิดชอบ หมายถึง การมีบุคคลที่ทำหน้าที่
รับผิดชอบในขอบเขตงานของตนที่แน่นอน
โครงสร้างของระบบธุรกิจ
โครงสร้างของระบบธุรกิจประกอบด้วย
1. ลักษณะภายนอกของโครงสร้างระบบธุรกิจ
2. ลักษณะภายในของโครงการสร้างระบบธุรกิจ
3. ธุรกิจที่มีลักษณะไม่หยุดนิ่ง
|