ประวัติความเป็นมาของจังหวัดบุรีรัมย์ (HISTORY)

เมืองบุรีรัมย์ มีลักษณะค่อนข้างแตกต่างจากเมืองโบราณทั่วไปของไทย เนื่องจากตัวเมืองบุรีรัมย์ปัจจุบันมิได้เป็นเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์รวมของเมืองน้อยต่างๆ เช่นกรณี เมืองอุบลราชธานี หรือเมืองนครราชสีมาแต่เป็นการรวมตัวของเมืองเล็กๆที่มีลักษณะเท่าเทียมกันหลายเมืองผนวกเขาเป็นเมืองเดียวกันแล้วพัฒนาเป็นจังหวัดบุรีรัมย์ดังทุกวันนี้ โดยสืบทอดมาจากความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่นดินแดนอันเป็นที่ตั้งจังหวัดบุรีรัมย์มีเมืองและชุมชนโบราณอยู่เป็นจำนวนมาก ดังปรากฏร่องรอยของคันดิน และคูเมืองเกินกว่า 140 แห่ง ลักษณะของเมืองเหล่านั้นเป็นรูปทรงกลมเกือบทั้งสิ้นมีคูน้ำคันดินล้อมรอบถึง 3 ชั้น พร้อมกับพบหลักฐานพระพุทธรูปสมัยทวารวดี เครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ นอกจากนี้หลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรม อาทิ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ รวมถึงศิลาจารึกซึ่งพบที่พนมรุ้ง

พื้นที่ตั้งของบุรีรัมย์เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรที่รุ่งเรืองมาแต่ครั้งสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) เชื่อมต่อจนถึงสมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 12-18) มีกษัตริย์ที่มีอำนาจปกครองเป็นอิสระมีประชาชนอยู่กันค่อนข้างหนาแน่นจนสามารถเกณฑ์แรงงานสร้างศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ได้ ต่อมาเมืองต่างๆดังกล่าวคงเริ่มเสื่อมอำนาจลงและแตกแยกด้วยเหตุจากภัยธรรมชาติหรือสงครามจึงได้ร้างไปประชาชนจำนวนหนึ่งที่รอดพ้นจากภัยได้กระจายตัวหลบตามป่าชายแดนตั้งเป็นชุมชนเล็กๆ เรียกว่าเขมรป่าแดง

สมัยที่ขอมมีอำนาจมากได้เขามาปกครองดินแดนแถบนี้เป็นเวลานาน และใช้เป็นต้นทางติดต่อระหว่างทาง พุทไธสมันกับหัวเมืองขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ เมืองพิมายและ สกลนคร โดยผ่านช่องเสม็ดและช่องอื่นๆ มีหลัดฐานจากรูปถนนโบราณจากข้างบ้านละลม พะเนา ที่ตำบลจันดุม อำเภอประโคนชัย ตรงไปทางบุรีรัมย์ผ่านเมืองโบราณหลายเมือง ขึ้นไปพุทไธสงและต่อจากนั้นมีศิลาปักเป็นระยะไปสกลนครทางด้านอำเภอพิมาย ยังมีหลักศิลาปักเป็นตอน ๆ มีซากเมืองโบราณเป็นระยะ ๆ ไปยังพิมายและพนมรุ้ง หลังจากขอมหมดอำนาจแล้ว ไทยจึงได้แผ่อาณาเขตเข้าครอบครองดินแดนแถบนี้

1 2