website hits counter

 

***ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนออนไลน์วิชาธรรมาภิบาลเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร***

 

 

หน่วยที่ 3 ทรัพย์สินทางปัญญาและจรรยาบรรณของเทคโนโลยีสารสนเทศ
สื่อวิดีโอช่วยในการเรียนการสอน

     ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) คืออะไรทรัพย์สินทางปัญญาหมายถึงผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นหรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ซึ่งเน้นที่ผลผลิดของสติปัญญาและความชำนาญโดยไม่คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออกทรัพย์สินทางปัญญาอาจแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้เช่นสินค้าต่าง ๆหรือในรูปของสิ่งที่จับต้องไม่ได้เช่นบริการแนวคิดในการดำเนินธุรกิจกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรมเป็นต้น

  ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) หมายถึงความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ความคิดสร้างสรรค์นี้อาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้นซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการหรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างของตัวผลิตภัณฑ์นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้ารวมถึงแหล่งกำเนิดและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมจึงสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
สิทธิบัตร (Patent)
แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout-Designs of Integrated Circuit)
เครื่องหมายการค้า (Trademark) ความลับทางการค้า (Trade Secrets)
ชื่อทางการค้า (Trade Name)
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)
-สิทธิบัตร (Potent) คือหนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ สิทธิบัตรการประดิษฐ์สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์และอนุสิทธิบัตรผู้ทรงสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรมีสิทธิเด็ดขาดหรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาผลประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรนั้นภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด
- สิทธิบัตรการประดิษฐ์หมายถึงการให้ความคุ้มครองการคิดค้นเกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตรักษาหรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์
- สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์หมายถึงการให้ความคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์องค์ประกอบของลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้และแตกต่างไปจากเดิม
- อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) คือการให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์จากความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมากโดยอาจเป็นการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่หรือปรับปรุงจากการประดิษฐ์ที่มีอยู่ก่อนเพียงเล็กน้อย
-ลิขสิทธิ์ (Copyright) หมายถึงสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นตามประเภทลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ งานวรรณกรรมนาฏกรรมศิลปกรรมดนตรีกรรมโสตทัศนวัสดุภาพยนตร์สิ่งบันทึกเสียงงานแพร่เสียงแพร่ภาพหรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดีแผนกวิทยาศาสตร์หรือแผนกศิลปะไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใดนอกจากนั้นกฎหมายลิขสิทธิ์ยังให้ความคุ้มครองถึงสิทธิของนักแสดงด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่ครอบคลุมถึงความคิดหรือขั้นตอนกรรมวิธีหรือระบบหรือวิธีใช้หรือทำงานหรือแนวความคิดหลักการการค้นพบหรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์

     การละเมิดลิขสิทธิ์
การละเมิดลิขสิทธิ์ หมายถึงการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ เผยแพร่ ดัดแปลง ทำซ้ำ โดยผู้เป็นเจ้าของผลงานไม่อนุญาตหรือไม่ได้รับทราบ ปกติแล้วผลงานใด ๆ อาทิ สิ่งประดิษฐ์ วรรณกรรม ศิลปกรรม ฯลฯ เป็นกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์โดยปริยาย การนำผลงานมาใช้อาจมีเงื่อนไขบางประการเรียกว่าสัญญาอนุญาต ซึ่งกำหนดโดยเจ้าของผลงานหรือกำหนดตามกฎหมาย เมื่อไม่ทำตามเงื่อนไขจึงละเมิดลิขสิทธิ์
สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่มีจุดประสงค์มุ่งให้ความคุ้มครองในเรื่องลิขสิทธิ์ และป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น สนธิสัญญากรุงแบร์น (Berne three-step test) สนธิสัญญาลิขสิทธิ์ (WIPO Copyright Treaty) และสนธิสัญญาการแสดงและสิ่งบันทึกเสียง (WIPO Performances and Phonograms Treaty)
นอกจากสนธิสัญญาแล้ว ยังมีองค์กรที่ให้การคุ้มครองเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) และกรมทรัพย์สินทางปัญญา

  การยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 35 กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ไว้หลายประการ ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าวจะต้องภายใต้กฎเกณฑ์ของการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม 3 ประการ คือ 1) ต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ 2) ต้องไม่กระทบกระเทือนสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร และ 3) ไม่มีวัตถุปะสงค์เพื่อหากำไร ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์มีดังนี้
1.) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อาจรวมถึงการทำวิศวกรรมย้อนกลับ (reverse engineering) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อศึกษาดูรูปแบบวิธีการเขียนโปรแกรม โดยไม่ได้ทำประการอื่นใดแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นเพื่อหากำไร
2.) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้สำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาโดยถูกต้องตามกฎหมาย เช่น นำสำเนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับมาโดยชอบด้วยกฎหมายมาใช้เล่นส่วยตัว ไม่ได้นำออกแสวงหากำไรโดยการให้ผู้อื่นเช่าหรือเรียกเก็บเงินจากการให้ผู้อื่นได้เล่นเกม
3.) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น เช่น นักข่าวคอลัมน์เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) เขียนวิจารณ์ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ออกใหม่ลงในนิตยสาร โดยระบุชื่อผู้สร้างสรรค์และเจ้าของลิขสิทธิ์ไว้ด้วย
4.) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น เช่น ผู้สื่อข่าวเสนอรายงานข่าวการนำโปรแกรมต้านไวรัสชนิดใหม่ออกจำหน่ายโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
5.) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควรโดยผู้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย เช่น การทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องไว้สำรองใช้เฉพาะกรณีที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต้นฉบับสูญหายหรือเสียหายจนไม่สามมารถใช้งานได้
6.) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานที่มีอำนาจตามกฎหมายหรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว เช่น พนักงานอัยการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ออกแสดงถึงวิธีการทำงานเพื่อศาลพิจารณาในคดีละเมิดลิขสิทธิ์
7.) นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ เช่น ในการสอบเพื่อผ่านหลักสูตรวิชาคอมพิวเตอร์ อาจารย์ผู้สอนให้นักศึกษาตอบคำถามเกี่ยวกับโครงสร้างของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตามกรณีปัญหา
8.) ดัดแปลโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้ เช่น ผู้ใช้สามารถดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นได้ เพื่อให้สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่นที่มีอยู่ได้
9.) จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิงหรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน เช่น ห้องสมุดเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนเล็กน้อยรวบรวมไว้เพื่อเป็นข้อมูลให้สาธารณชนค้นคว้า โดยไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร

     จรรยาบรรณของงานสารสนเทศ
จรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำาหนดขึ้นเพื่อใช้เป็น แนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศความสำคัญ คือ จรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำาให้การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างสงบสุข ไม่เกิดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ อาชญากรรม การขโมยผลงานของคนอื่น การมีความเป็นส่วนตัวและการใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่สร้างความรำาคาญหรือรบกวนคนอื่น เป็นต้น ทำาให้สังคมเป็นสุข

บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท

 -จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(E-mail)
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีเมล์บ็อกซ์หรืออีเมล์แอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่ง จดหมาย ความรับผิดชอบต่อการใช้งานอีเมล์ในระบบจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ เพราะจดหมายมีการรับส่งโดยระบบ ซึ่งหากมีจดหมายค้างในระบบจำนวนมากจะทำให้พื้นที่ บัฟเฟอร์ของจดหมายในระบบหมด จะเป็นผลให้ระบบไม่สามารถรับส่งจดหมายต่อไปได้ หลายต่อหลายครั้งระบบปฏิเสธการรับส่งจดหมายเพราะไฟล์ระบบเต็ม ดังนั้นจึงควรมีความรับผิดชอบในการดูแลตู้จดหมาย (mail box) ของตนเองดังนี้
1. ตรวจสอบจดหมายทุกวันและจะต้องจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในตู้จดหมายของตนให้เลือกภายในโควต้า ที่กำหนด
2. ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการแล้วออกจากดิสต์เพื่อลดปริมาณการใช้ดิสก็ให้จำนวนจดหมายที่อยู่ในตู้จดหมาย (mail box) มีจำนวนน้อยที่สุด
3. ให้ทำการโอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังพีซีหรือฮาร์ดดิสก์ของตนเองเพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง
พึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ไม่ควรเก็บข้อมูลหรือจดหมายที่คุณคิดว่าไม่ใช้แล้วเสมือนเป็นประกาศไว้ในตู้จดหมาย

 -จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนา(Chat)
บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีคำสั่งให้ใช้ในการโต้ตอบกันอย่างออนไลน์หลายคำสั่งเช่น write, talk หรือมีการสนทนา เป็นกลุ่มเช่น IRC เป็นต้น ในการเรียกหาหรือเปิดการสนทนาตลอดจนการสนทนาจะต้องมีมารยาทที่สำคัญได้แก่
1. ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย ควรระลึกเสมอว่าการขัดจังหวะผู้อื่นที่กำลังทำงานอยู่อาจสร้างปัญหาให้ได้
2. ก่อนการเรียกคู่สนทนาควรสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียกเพราะการเรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฏบนจอภาพของฝ่ายถูกเรียกซึ่งก็สร้างปัญหาการทำงานได้ เช่น ขณะกำลังทำงานค้าง ftp ซึ่งไม่สามารถหยุดได้
3. หลังจากเรียกไปชั่วขณะคู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ ขอให้หยุดการเรียกเพราะข้อความที่เรียกไปปรากฏบนจออย่างแน่นอนแล้ว
4. ควรให้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน การแทรกอารมณ์ขัน ควรกระทำกับคนที่รู้จักคุ้นเคยแล้วเท่านั้น

 -จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าว ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
ระบบข่าวสารที่ให้บริการในสังคมอินเทอร์เน็ตมีหลายระบบ เช่น ยูสเน็ตนิสว์ (UseNet News) ระบบสมาชิกแจ้งข่าวหลายสมาคม บอกรับสมาชิกและให้ข่าวสารที่สม่ำเสมอกับสมาชิกด้วยการส่งเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า Mailing lists ผู้เสนอ ข่าวและผู้อภิปรายเรื่อง ต่าง ๆ ที่เขียนลงไปจะกระจายออกไปทั่วโลก เช่นข่าวบนยูสเน็ตนิวส์แต่ละกลุ่มเมื่อส่งออกจะกระจาย ไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่น ๆ ทั่วโลก ผู้ใช้บริการโดยเฉพาะที่ต้องการเขียนข่าวสารบนกระดาษ ข่าวจะต้องเคารพกฏกติกามารยาทโดยเคร่งครัดข้อปฏิบัติที่สำคัญได้แก่
1. ให้เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็กไม่กำกวม ใช้ภาษาที่เรียบงาน สุภาพเข้าใจได้
ในแต่ละเรื่องที่เขียนให้ตรงโดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง
2. ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น การให้อีเมล์อาจตรงประเด็นกว่า
3. ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เรียกว่าโคมลอยหรือข่าวลือหรือเขียนข่าวเพื่อความสนุกโดยขาดความรับผิดชอบ
4. จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่น ๆ เพราะหลายเครื่องที่อ่านข่าวอาจมีปัญหาในการแสดงผล
5. ข่าวบางข่าวมีการกระจายกันมาเป็นลำดับให้ และอ้างอิงต่อ ๆ กันมาการเขียนข่าวจึงควรพิจารณาในประเด็นนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่าส่งจดหมายตอบโต้ไปยังผู้รายงานข่าวผู้แรก
6. ไม่ควรให้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืองานเฉพาะของตนเพื่อประโยชน์ส่วนตนในเรื่อง การค้า
7. การเขียนข่าวทุกครั้งจะต้องลงชื่อ และลายเซ็นตอนล่างของข้อความเพื่อบอกชื่อ ตำแหน่งแอดเดรสที่อ้างอิงได้ทางอินเทอร์เน็ต หรือให้ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้
8. ในการทดสอบการส่งไม่ควรทำพร่ำเพื่อการทดสอบควรกระทำในกลุ่มข่าวท้องถิ่นที่เปิดให้ทดสอบการส่งข่าวอยู่แล้ว เพราะการส่งข่าวแต่ละครั้งจะกระจายไปทั่วโลก
9. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรใหญ่ตัวอักษรใหญ่ที่มีความหมายถึงการตะโกนหรือการแสดงความไม่พอใจใน 
10. การเน้น คำให้ใช้เครื่องหมาย * ข้อความ* แทน
11. ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง
12. ไม่ควรใช้ข้อความตลกขบขันหรือคำเฉพาะคำกำกวม หรือคำหยาบคายในการเขียนข่าว
13. ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
14. ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่นเช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมดโดยไม่มีการสรุปย่อและเมื่อส่งข่าวย่อจะต้องอ้างอิงที่มา
15. ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น
16. เมื่อต้องการใช้คำย่อ คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น
- IMHO-in my humble / honest opinion
- FYI-for your information
- BTW-by the way
17. การเขียนข้อความจะต้องไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวในการเขียนข่าว
18. อภิปรายนี้กระจายไปทั่วโลก และมีผู้อ่านข่าวจำนวนมาก ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องส่งลงในกลุ่มที่ตรงกับปัญหาที่เขียนนั้น และเมื่อจะตอบก็ต้องให้ตรงประเด็น
19. ในการบอกรับข่าวด้วย mailing list และมีข่าวเข้ามาจำนวนมากทางอีเมล์จะต้องอ่านข่าว และโอนมาไว้ที่เครื่องตน (พีซี) หรือลบออกจาก mail box และหากไม่อยู่หรือไม่ได้เปิดตู้จดหมายเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์จะต้องส่งไปบอกยกเลิกการรับ เพื่อว่าจะได้ไม่มีจดหมายส่งเข้ามามาก