website hits counter

 

***ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนออนไลน์วิชาธรรมาภิบาลเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร***

 

 

หน่วยที่ 6 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
สื่อวิดีโอช่วยในการเรียนการสอน
    นิยามศัพท์ที่ควรทราบ

ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์ หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์ หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หมายถึง ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
ผู้ให้บริการ มีความหมาย ดังนี้

  1. ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่นโดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนาม หรือประโยชน์ของบุคคลอื่น
  2. ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น

ผู้ใช้บริการ หมายถึง ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการ ทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายถึง ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรี หมายถึง รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรีผู้มีอำนาจออกกฎกระทรวงที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

    ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ. ศ. 2550 บัญญัติเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้
1. ผู้ที่เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ได้มีระบบมาตรการป้องกันโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้สำหรับตนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10, 000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 5)
2. ผู้ใดล่วงรู้ถึงมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นและได้นำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 20, 000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 6)
3. ผู้ที่เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง โดยข้อมูลเหล่านั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 40, 000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 7)
4. ผู้ที่ใช้การกระทำโดยมิชอบ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ระหว่างที่ทำการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลนั้นมิได้มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์และบุคคลทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 60, 000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา  8.)
5. ผู้ใดทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมบางส่วนหรือทั้งหมดของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100, 000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 9)
6. ผู้ที่ทำให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100, 000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 10)
ทั้งนี้หากผู้ใดกระทำความผิดตามข้อ 5 และข้อ 6 ซึ่งอยู่ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 9 และมาตรา 10 การก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทั้งเกิดความเสียหายขึ้นทันที หรือเกิดความเสียหายในภายหลัง หรือจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือปรับไม่เกิน 200, 000 บาท หรือการกระทำนั้นน่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยต่อสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือบริการสาธารณะหรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อสาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุก-15 ปีและปรับตั้งแต่ 60, 000-300, 000 บาท และหากการกระทำดังกล่าวทำให้ผู้อื่นเสียชีวิตต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10-20 ปี
7. ผู้ที่ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว ซึ่งเป็นการรบกวนความปกติสุขของผู้อื่น ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100, 000 บาท (มาตรา 11)
8. ผู้ที่จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำผิดดังนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 20, 000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 13)
- การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
- การนำการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไปเปิดเผยเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหาย•การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มิได้มีไว้สำหรับตน
- การใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับข้อมูลของผู้อื่นขณะที่อยู่ระหว่างการขนส่งทั้งที่ข้อมูลนั้นมิใช่ข้อมูลเพื่อสาธารณะหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลทั่วไป  
- การทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นทำให้ได้รับความเสียหายบางส่วนหรือทั้งหมด  
- การทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือเข้าไปรบกวนจนทำให้ผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
- การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยปกติสุข
9. ผู้ที่กระทำความผิดดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100, 000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 14)
1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมบางส่วนหรือทั้งหมด หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ อันจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลใด ๆ ที่จะก่อให้เกิดความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
4) การนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งประชาชนสามารถเข้าถึงได้
5) เผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยทราบอยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลปลอม ข้อมูลอันเป็นเท็จ ข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา และข้อมูลลามก
10) ผู้ที่ให้บริการจงใจ สนับสนุนหรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามข้อ 9 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100, 000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 15)
11) ผู้ที่นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่สร้างขึ้นโดยการตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออื่น ๆ ซึ่งทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีปรับไม่เกิน 60, 000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 16)
12) ผู้ที่กระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักร และผู้กระทำผิดนั้นเป็นคนไทยและรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษต้องได้รับโทษภายในราชอาณาจักร (มาตรา 17)

    พนักงานเจ้าหน้าที่
พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ. ศ. 2550 มีดังนี้
  1 เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวน เมื่อมีเหตุการณ์กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติดังนี้
   1) มีหนังสือสอบถาม เรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมาเพื่อให้ถ้อยคำส่งหนังสือชี้แจง เอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นที่เป็นที่เข้าใจได้
   2) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารระบบคอมพิวเตอร์ หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
   3) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการแก่พนักงานเจ้าหน้าที่  
   4) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นได้อยู่ในความครอบครองของเจ้าหน้าที่
   5) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวแก่เจ้าหน้าที่
   6) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
   7) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
   8) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
  2 การใช้อำนาจหน้าที่ของพนักงาน เมื่อพนักงานต้องใช้อำนาจหน้าที่ในเกี่ยวกับข้อมูลคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ในลักษณะต่าง ๆ ของผู้กระทำผิด ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ประกอบคำร้องด้วย ในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาค้าร้องดังกล่าวโดยเร็ว เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ วก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งบันทึกสำเนาให้เจ้าของผู้ครอบครองคอมพิวเตอร์ด้วย
การยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์ที่จะเป็นประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดนอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัตมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกิน 30 วัน มิได้ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัด ไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกิน 60 วัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ ที่ยึดหรือถอนการอายัดทันที
  3 กรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติทำให้ข้อมูลแพร่หลาย หากการกระทำตามพระราชบัญญัตินี้แพร่หลาย ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับ การทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเองหรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
 4 กรณีพบคำสั่งหรือข้อมูลไม่พึงประสงค์ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีขุดคำสั่ง ไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลาย หรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครองหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้
ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ หมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม ขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  5 ห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งข้อมูล ห้ามมิให้พนักงานหรือเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ ให้แก่บุคคลใดพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 60, 000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  6 กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่กระทำการโดยประมาท หากพนักงานเจ้าหน้าที่คนใด โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 20, 000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  7 กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยข้อมูล ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มา และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อ ผู้หนึ่งผู้ใดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 40, 000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  8 ข้อมูลข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการ จูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
  9 การเก็บรักษาข้อมูล ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่า 90 วันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่ง ให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกิน 90 วันแต่ไม่เกิน 1 ปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง คำสั่งดังกล่าวจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใดให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500, 000 บาท
  10 ผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สังต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200, 000 บาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละ 5, 000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
  11 การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
  12 การปฏิบัติหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษและมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงาน กับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้ค้ากับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐมนตรีมีอำนาจร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการ
  13 การแสดงบัตรประจำตัว ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องบัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา