13.1 กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าหน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน คำทำงาน นกเรียน นักศึกษา ซึ่งล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษารู้และเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทำผิดทางคอมพิวเตอร์และให้การใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นไปในทางสร้างสรรค์ ประเทศไทยได้มีกฎหมายและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ดังนี้

  • พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 (บังคับใช้ 3 เมษายน 2545)
  • พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
  • กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
  • กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
  • กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียม

ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นระบบที่ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างบุคคลและสังคม ความถูกต้องและไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดการกระจายอำนาจในองค์กร การบุกรุกสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นและการประกอบอาชญากรรมต่อข้อมูล ระบบสารสนเทศโดยไม่สร้างความเดือดร้อนแก้ผู้อื่น ดังนี้

  • การยอมรับสิทธิบัตรและทรัพย์สินด้านลิขสิทธิ์
  • การมีส่วนขยายช่วยเหลือต่อชุมชนและความเป็นอยู่ที่ดีต่อมนุษย์
  • การเคารพความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น
  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารสนเทศทำลายผู้อื่น
  • การยอมรับเครดิตในทรัพย์สิน

13.2 จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกัน ย่อมมีผู้ที่มีความประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฎเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือและปฏิบัติตามการสร้างกฎเกณฑ์
ดังนั้น จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

  • ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมสารสนเทศ
  • ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
  • ไม่ใช้สารสนเทศทำร้าย ทำลาย หรือละเมิดผู้อื่น
  • ไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่นและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
  • ไม่ทำการแก้ไขข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • ไม่นำข้อมูลสารสนเทศมาสร้างหลักฐานเท็จ
  • ไม่สำเนาโปรแกรมผู้อื่นโดยไม่ซื้อลิขสิทธิ์
  • ไม่เข้าไปใช้สารสนเทศที่ไม่ใช่ของตนเอง

13.3 หน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองต่อการใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีเมลบ็อกซ์หรืออีเมลแอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่งจดหมาย ความรับผิดชอบต่อการใช้งานอีเมลในระบบจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ ซึ่งถ้าหากมีจดหมายค้างในระบบจำนวนมากจะทำให้พื้นที่บัฟเฟอร์ของจดหมายในระบบหมด เป็นผลให้ระบบไม่สามารถรับส่งจดหมายต่อไปได้
ความรับผิดชอบในการดูแลตู้จดหมายของแต่ละคน ควรมีความรับผิดชอบต่อสิ่งต่อไปนี้

  • ตรวจสอบจดหมายทุกวันและจะต้องจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในตู้จดหมายของตนให้อยู่ภายในโควตาที่กำหนด
  • พึงระลึกเสมอว่าจดหมายในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้
  • เมื่อผู้ใช้ได้บัญชีชื่อโอกาสเดียวกันก็จะได้รับสิทธิ์ให้ใช้พื้นที่ดิสก์
  • ควรหมั่นทำการสแกน ตรวจสอบไวรัส เพื่อช่วยลดการกระจายของไวรัส
  • พึงระลึกเสมอว่าไฟล์ที่เก็บไว้ในเครื่องอาจได้รับการตรวจสอบโดยผู้ที่มีสิทธิ์สูงกว่า

13.4 หน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองต่อการใช้บริการ Telnet
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่าย ที่ออนไลน์ และส่งข่าวสารถึงกันย่อม มีผู้ที่มีความประพฤติไม่ดีปะปน และสร้างปัญหา ให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภาย ในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตน ยึดถือ และปฏิบัติตามการสร้างกฏเกณฑ์ก็เพื่อให้สมาชิกโดยส่วนรวมได้รับประโยชน์สูงสุด ไม่เกิดปัญหาจากผู้ใช้บางคนที่สร้างความเดือดร้อนให้ ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อบังคับ ของเครือข่ายนั้นมี ความรับผิด ชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้อง รับผิดชอบ ต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่าง ๆ บน เครือข่ายบน ระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กร ที่ผู้ใช้สังกัดอยู่ แต่เป็นการเชื่อม โยงของเครือข่ายต่าง ๆ เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่าย มีข้อมูลข่าวสารวิ่ง อยู่ระหงเครือข่ายเป็นจำนวนมาก การ ส่งข่าวสาร ในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก หรือแม้แต่การส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่ง ก็อาจจะต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้บริการ อินเทอร์เน็ต ต้องให้ความสำคัญ และตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสาร ที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย

ในฐานะที่เป็นผู้ใช้งาน คุณได้รับสิทธิ์ให้เข้าใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่อย่างไรก็ดีจะต้อง เข้าใจ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่แต่ละ เครือข่ายย่อยวางไว้ด้วย ไม่พึงละเมิดสิทธิ์หรือกระทำการใด ๆ ที่สร้างปัญหา หรือไม่เคารพกฎเกณฑ์ที่แต่ละ เครือข่ายวางไว้ และจะต้องปฏิบัติตาม คำแนะนำ ของผู้บริหารเครือข่ายย่อย ๆ นั้นอย่างเคร่งครัด
13.5 หน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองต่อการใช้บริการ FTP
FTP เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับ upload/download หรือดูโครงสร้างของไฟล์และ directory ใน Server FTP (File Transfer Protocol) เป็นมาตรฐานในการถ่ายโอนไฟล์ และเป็นส่วนหนึ่งของชุดโปรโตคอล TCP/IP มีประโยชน์มากสำหรับการรับส่งไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่อง ลูก (FTP Client) กับเครื่องที่เป็นเครื่องให้บริการ (FTP Server) โดยเครื่องFTP Client อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่วไป ส่วนเครื่อง FTP Server ก็อาจจะเป็นเครื่อง PC ธรรมดาจนถึงเครื่องที่มีสมรรถภาพสูง
FTP (File Transfer Protocol) เป็นระบบโอนย้ายไฟล์ข้ามระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความปลอดภัยพอสมควร โดยใช้โปรโตคอล TCP เป็นกลไกขนส่งข้อมูล การเข้าใช้งานผู้ใช้จะต้องแนะนำตนเองต่อเซิร์ฟเวอร์ด้วยชื่อผู้ใช้และรหัส ผ่าน จากนั้นจะแสดงชื่อโฟล์เดอร์และชื่อไฟล์ที่มีอยู่ออกมา ความสามารถของ FTP ทำให้ไคลเอนต์โอนย้ายไฟล์ ระหว่างไคลเอนต์ และ FTP Server ได้ รวมทั้งระหว่างเครื่องสองเครื่องที่อยู่ห่างไกลกัน
13.6 หน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองต่อการใช้บริการ IRC
บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีคำสั่งให้ใช้ในการโต้ตอบกันอย่างออนไลน์ หลายคำสั่งเช่น write, talk หรือมีการสนทนา เป็นกลุ่มเช่น irc เป็นต้น ในการเรียกหาหรือเปิดการสนทนา ตลอดจนการสนทนาจะต้องมีมารยาทที่สำคัญได้แก่
ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย  หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย  ควรระลึกเสมอว่าการ ขัดจังหวะผู้อื่นที่กำลังทำงานอยู่อาจสร้างปัญหาให้ได้
ก่อนการเรียกคู่สนทนาควรสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียก เพราะการเรียกแต่ละครั้งจะ มีข้อความไปปรากฏบนจอภาพของฝ่ายถูกเรียกซึ่งก็สร้างปัญหาการทำงานได้  เช่น ขณะกำลังทำงานค้าง ftp ซึ่งไม่สามารถหยุดได้
หลังจากเรียกไปชั่วขณะคู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ ขอให้หยุดการเรียกเพราะ ข้อความที่เรียกไปปรากฏบนจออย่างแน่นอนแล้ว
ควรให้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน การแทรกอารมณ์ขัน ควรกระทำกับคนที่รู้จักคุ้นเคยแล้วเท่านั้น

13.7 หน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองต่อการใช้บริการ BBS
ระบบข่ายสารที่ให้บริการในสังคมอินเทอร์เน็ตมีหลายระบบ เช่นยูสเน็ตนิสว์  ระบบสมาชิกแจ้งข่าวหลายสมาคม บอกรับสมาชิกและให้ข่าวสารที่สม่ำเสมอกับสมาชิกด้วยการส่งเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า Mailing  lists ผู้เสนอ ข่าวและผู้อภิปรายเรื่องต่าง ๆ ที่เขียนลงไปจะกระจายออกไปทั่วโลก เช่นข่าวบนยูสเน็ตนิวส์แต่ละกลุ่มเมื่อส่งออก จะกระจาย ไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่น ๆ ทั่วโลก ผู้ใช้บริการโดยเฉพาะที่ต้องการเขียนข่าวสารบนกระดาษข่าวจะต้องเคารพกฏกติกามารยาท โดยเคร่งครัด  ข้อปฏิบัติที่สำคัญได้แก่
ให้เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็กไม่กำกวม ใช้ภาษาที่เรียบงาน สุภาพเข้าใจได้ ในแต่ละเรื่องที่เขียนให้ตรง โดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิด หรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น การให้อีเมล์อาจตรง ประเด็นกว่า ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เรียกว่าโคมลอยหรือข่าวลือ หรือเขียนข่าวเพื่อความสนุก โดยขาดความรับผิดชอบ
จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่น ๆ เพราะหลายเครื่องที่อ่านข่าวอาจมีปัญหาในการ แสดงผล ข่าวบางข่าวมีการกระจายกันมาเป็นลำดับให้  และอ้างอิงต่อ ๆ กันมา การเขียนข่าวจึงควรพิจารณาในประเด็นนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่าส่งจดหมายตอบโต้ไปยังผู้รายงานข่าวผู้แรก ไม่ควรให้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้า หรืองานเฉพาะของตนเพื่อประโยชน์ส่วนตน ในเรื่อง การค้า
การเขียนข่าวทุกครั้งจะต้องลงชื่อ และลายเซนต์ตอนล่างของข้อความเพื่อบอกชื่อ  ตำแหน่งแอดเดรสที่อ้างอิงได้ ทางอินเทอร์เน็ต หรือให้ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ ในการทดสอบการส่งไม่ควรทำพร่ำเพื่อการทดสอบควรกระทำในกลุ่มข่าวท้องถิ่นที่เปิดให้ทดสอบการส่งข่าวอยู่ แล้ว เพราะการส่งข่าวแต่ละครั้งจะกระจายไปทั่วโลก
หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรใหญ่ ตัวอักษรใหญ่ที่มีความหมายถึงการตะโกน หรือการแสดงความไม่พอใจ ในการเน้น คำให้ใช้เครื่องหมาย * ข้อความ* แทน ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง ไม่ควรใช้ข้อความตลกขบขันหรือคำเฉพาะ คำกำกวม หรือคำหยาบคายในการเขียนข่าว ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์  ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่น เช่นจากหนังสือพิมพ์ทั้งหมดโดยไม่มีการสรุปย่อและเมื่อส่งข่าวย่อจะต้องอ้างอิงที่มา ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น
เมื่อต้องการใช้คำย่อ คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น
– IMHO-in  my  humble /  honest  opinion
– FYI-for  your  information
– BTW-by  the  way
การเขียนข้อความจะต้องไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัว และระลึกเสมอว่าข่าวที่เขียนหรืออภิปลายนี้ กระจาย ไปทั่วโลก  และมีผู้อ่านข่าวจำนวนมาก ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าว จะต้องส่งลงในกลุ่มที่ตรงกับปัญหาที่เขียนนั้น  และเมื่อจะตอบก็ต้องให้ตรง ประเด็น ในการบอกรับข่าวด้วย mailing  list  และมีข่าวเข้ามาจำนวนมากทางอีเมล์จะต้องอ่านข่าว และโอนมาไว้ที่เครื่องตน (พีซี) หรือลบออกจาก mbox และหากไม่อยู่หรือไม่ได้เปิดตู้จดหมายเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์จะต้องส่งไปบอกยกเลิก การรับ เพื่อว่าจะได้ไม่มีจดหมายส่งเข้ามามาก