ยินดีต้อนรับ เข้าสู่บทเรียนออนไลน์วิชา การใช้โปรแกรมสำนักงานขั้นสูง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.1 ความหมายของโปรแกรมแบบฟรีแวร์

ฟรีแวร์ (freeware) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้ในทุกจุดประสงค์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย[1] (เช่นราคาขายหรือค่าลิขสิทธิ์) ฟรีแวร์เป็นลักษณะก้ำกึ่งระหว่างซอฟต์แวร์พาณิชย ์และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ คืออนุญาตให้กลุ่มผู้พัฒนามีส่วนร่วมในการสร้างซอฟต์แวร์ แต่ก็ไม่เผยแพร่รหัสต้นฉบับสู่สาธารณชนเพื่อรักษาความลับทางการค้า
ฟรีแวร์นั้นคล้ายกับแชร์แวร์ (shareware) คือสามารถใช้ได้ทุกจุดประสงค์เหมือนกัน แต่แชร์แวร์อาจมีระยะเวลาทดลองใช้และต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเพื่อต่ออายุ หรือเปิดฟังก์ชันการใช้งานที่สมบูรณ์ และฟรีแวร์ต่างจากซอฟต์แวร์เสรี (free software) คือ ซอฟต์แวร์เสรีอนุญาตให้เปิดเผยรหัสต้นฉบับและอนุญาตให้ผู้อื่นนำไปพัฒนาต่อได้ ในขณะที่ฟรีแวร์ไม่อนุญาต

 

2.2 ปรแกรมชุดสำนักงานประเภทฟรีแวร์
    - โปรแกรม Star Office Office

     เป็นโปรแกรมชุดสำนัก งานที่บริษัท Sun Microsystems พัฒนาขึ้นมา สามารถใช้งาน
ได้กับระบบปฎิบัติการที่หลากหลาย เช่น Windows, Linux และ Solaris (TM) เป็น
ต้น โปรแกรม StarOffice สามารถใช้งานได้หลายภาษา เช่น ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อิตาลี, สเปน,
สวีเดนฯลฯ
เป็นโปรแกรมชุดสำนัก งานที่บริษัท Sun Microsystems พัฒนาขึ้นมา สามารถใช้งาน
ได้กับระบบปฎิบัติการที่หลากหลาย เช่น Windows, Linux และ Solaris (TM) เป็น
ต้น โปรแกรม StarOffice สามารถใช้งานได้หลายภาษา เช่น ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อิตาลี, สเปน,
สวีเดนฯลฯ
 เป็นโปรแกรมชุด สำนักงานภาษาไทยที่บริษัทซัน ไมโครซสิ เต็มส์ (ประเทศไทย) และ  
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้ร่วมมือกันในโครงการ
พัฒนาโปรแกรมชุดนี้ขึ้น โดยพัฒนาต่อยอดมาจากโปรแกรม Star Office ของบริษัท Sun
Microsystems ซึ่งเป็นโปรแกรมชุดสำนักงาน Open Source
โปรแกรมหลักในโปรแกรมปลาดาวออฟฟิศ (Pladao Office) ประกอบด้วย
- Writer โปรแกรมประมวลผลคำ(Word Processor)
    - Calc โปรแกรมตารางคำนวณ (Spreadsheet)
    - Impress โปรแกรมนำเสนองาน (Presentation)
    - Draw โปรแกรมวาดภาพแบบเวกเตอร์ (Drawing)
    - Math โปรแกรมพิมพ์สมการคณิตศาสตร์ (Equation)

 

2.3 ตัวอย่างของโปรแกรมแบบฟรีแวร์

1. Avidemux เครื่องมืออเนกประสงค์สำหรับไฟล์วิดีโอเวลาเราไปคนหารายชื่อโปรแกรมตัดต่อวิดีโอ (Video Editing) แบบฟรีแวร์ เราก็มักจะพบชื่อของ Avidemux ด้วยอยู่เป็นประจำ แต่ในความเห็นของเราแล้ว Avidemux น่าจะจัดว่าเป็นโปรแกรมประเภท “Video Tools” มากกว่าครับ แต่ถ้าเราตีความคำว่า “Editing” แบบตรงตัวว่าเป็นการแก้ไข Avidemux

 
 

Avidemux ไม่ได้เป็นโปรแกรมสำหรับการตัดต่อในลักษณะของ Non-Linear  แต่ว่าเป็นการทำงานโดยตรงกับไฟล์วิดีโอนั้น ๆ เลย ดังนั้นการทำงานกับ Avidemux เราควรจะทำสำเนาไฟล์มาใช้ แล้วเก็บต้นฉบับแยกออกไปจะดีที่สุด เพราะถ้าพลาดมานี่ทำอะไรไม่ได้ แม้ว่าตอนที่ Export ไฟล์โปรแกรมจะถามชื่อไฟล์ชนิดไฟล์ที่ต้องการ Export บางครั้งเราก็ลืม Export ไฟล์ต้นฉบับไปก็มี

 
 
ส่วนคุณสมบัติในการทำงานของ Avidemux ก็มีหลายอย่าง เช่นการ Trim หรือตัดเฉพาะส่วนที่ต้องการของไฟล์วิดีโอเพื่อนำไปใช้งาน ซึ่งมีประโยชน์มากครับเวลาเราทำงานกับไฟล์วิดีโอจำนวนมากและมีขนาดใหญ่ เพราะบางครั้งถ้าเราไม่เลือกส่วนที่ต้องการจริง ๆ แล้ว Import ไฟล์ต้นฉบับเข้าไปทั้งหมดบางโปรแกรมจะใช้เวลานาน เสียเวลาไปโดยใช่เหตุ และที่สำคัญเวลาเราเลือกช่วงเวลาของวิดีโอแล้วทำให้เราพอที่จะจินตนากา รงานที่จะนำไปทำต่อได้เลย เรียกว่าเป็นการวางแผนขั้นแรกไปในตัว นอกจากนี้เราก็สามารถใส่ฟิลเตอร์ของแสง ใส่ซับไตเติล เติมสี กำหนด Transform ครอบส่วนที่ต้องการ ย่อขนาด ปรับเปลี่ยนเฟรมเรต จับภาพจากวิดีโอ รวมไปถึงการแยกเสียงออกจากไฟล์วิดีโอเพื่อนำไปใช้งานต่างหากได้ และคุณสมบัติอื่น ๆ อีกมากมาย Avidemux เป็นโปรแกรมแบบโอเพ่นซอร์ส มีให้ใช้งานทั้งบนวินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์ โดยในเวอร์ชันวินโดวส์นั้นก็มีเวอร์ชันแบบ 32 บิต และ 64 บิต ให้เลือกใช้งานตามเวอร์ชันของวินโดวส์ที่เราใช้งานอีกด้วย

 

     

 

 


semenaxcaps.com