การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (measures of central tendency)   

การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางเป็นระเบียบวิธีทางสถิติในการหาค่าเพียงค่าเดียวที่จะใช้เป็น

ตัวแทนของข้อมูลทั้งชุด ค่าที่หาได้นี้จะทำให้สามารถทราบถึงลักษณะของข้อมูลทั้งหมด

ที่เก็บรวบรวมมาได้ ค่าที่หาได้นี้จะเป็นค่ากลาง ๆ เรียกว่า ค่ากลาง ประเภทของการ

วัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน ที่นิยมกัน

ได้แก่ 1. มัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) 2. มัธยฐาน (Median)

3. ฐานนิยม (Mode)

ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean)

หมายถึง การหารผลรวมของข้อมูลทั้งหมดด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด การหาค่าเฉลี่ยเลข

คณิตสามารถหาได้ 2 วิธี

1. ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลที่ไม่ได้แจกแจงความถี่  สามารถคำนวณได้จากสูตร

2. ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลที่แจกแจงความถี่  สามารถคำนวณได้จากสูตร

มัธยฐาน (Median)

มัธยฐาน หมายถึง ค่ากึ่งกลางของข้อมูลชุดนั้น หรือค่าที่อยู่ในตำแหน่งกึ่งกลาง

ของข้อมูลชุดนั้น เมื่อได้จัดเรียงค่าของข้อมูลจากน้อยที่สุด ไปหามากที่สุดหรือ

จากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ค่ากึ่งกลาง จะเป็นตัวแทนที่แสดงว่ามีข้อมูลที่มากกว่า

และน้อยกว่านี้อยู่ 50 %

การหารค่ามัธยฐาน สามารถหาได้ 2 วิธี

1. การหามัธยฐานของข้อมูลที่ไม่แจกแจงความถี่ ซึ่งมีวิธีหาได้ดังนี้

1.1 เรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก หรือจากมากไปน้อย

 

ฐานนิยม(Mode)

ฐานนิยมหมายถึง ค่าของคะแนนที่ซ้ำกันมากที่สุดหรือ ค่าคะแนนที่มีความถี่สูงที่สุด

ในข้อมูลชุดนั้นการหารค่าฐานนิยม สามารถหาได้ 2 วิธี

1. ฐานนิยมของข้อมูลที่ไม่แจกแจงความถี่ พิจารณาค่าของข้อมูลที่ซ้ำกันมากที่สุด

คือฐานนิยม

2. ฐานนิยมของข้อมูลที่แจกแจงความถี่

 

 

https://www.youtube.com/watch?v=RP_jXhVFyK4

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นายวิโรจน์ ทองเรือง

นางสาวขวัญเรือน นันทแสง

semenaxcaps.com