หน่วยการเรียนรู้ที่6
ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์

 อ้างอิง: https://youtu.be/PHvQL7WxlRE

ปิโตรเลียม

ปิโตรเลียมจัดเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือเชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์ เกิดจากซากสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อยทับถมอยู่ใต้ทราย และโคลนตมเป็นเวลานานเกิดการย่อยสลายกลายเป็นธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจน เมื่อคาร์บอนและไฮโดรเจนถูกกดทับอยู่ใต้เปลือกโลกมีความดันและอุณหภูมิสูงเป็นเวลานาน จะรวมตัวเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดปะปนกัน มีทั้งสารที่มีสถานะเป็นของเหลว คือ น้ำมันดิบ และสารที่มีสถานะเป็นแก๊ส คือ แก๊สธรรมชาติ

ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม

ปิโตรเลียมที่นำมาผ่านกระบวนการต่างๆ จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์หลายชนิด และมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการใช้งาน ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันดิบและการใช้ประโยชน์
1. แก๊สธรรมชาติเหลว (Liquefied Petroleum Gas : LPG) หรือเรียกว่า แก๊สหุงต้ม ส่วนใหญ่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน และอุตสาหกรรม
2. น้ำมันเบนซิน (Gassoline) ใช้เป็นเชื้อเพลิงใช้กับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน
3. น้ำมันดีเซล (Diesel Oil) เป็นเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล
4. น้ำมันก๊าด (Kerosene) ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับให้พลังงานความร้อนและแสงสว่าง
5. น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบิน (JET A-1) ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน
6. น้ำมันเตา นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม
7. น้ำมันหล่อ (Lube Oil) นำมาใช้เป็นสารเคลือบผิวโลหะของชิ้นส่วนในเครื่องยนต์ที่มีการเคลื่อนที่ เพื่อลดการเสียดสีและลดการสึกหรอของผิวโลหะ ทำให้เครื่องยนต์มีอายุการใช้งานนาน
8. ยางมะตอย (Asphait) มีคุณสมบัติในการยึดประสานจึงเหมาะสมสำหรับนำมาใช้ทำผิวหน้าถนน ทางเดิน ทางวิ่งเครื่องบิน ลานจอดรถ
9. สารตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเคมี นำมาใช้ในการผลิตเม็ดพลาสติก หรือใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเคมี
2. ผลิตภัณฑ์จากแก๊สธรรมชาติและการใช้ประโยชน์
1. แก๊สมีเทน ส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า และโรงงานอุตสาหกรรม 2. แก๊สอีเทน และแก๊สโพรเพน ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเคมีเพื่อนำไปผลิตเป็นเม็ดและเส้นใยพลาสติกชนิดต่างๆ
3. แก๊สโพรเพน และแก๊สบิวเทน เมื่อนำแก๊สทั้งสองชนิดมารวมกันจะได้เป็นแก๊สปิโตรเลียมเหลว หรือเรียกว่า แก๊สหุงต้ม ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน
4. แก๊สโซลีนธรรมชาติเหลว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูป
5. คาร์บอนไดออกไซด์ ใช้ผลิตน้ำแข็งแห้งสำหรับอุตสาหกรรมถนอมอาหาร ใช้เป็นสารตั้งต้นสำคัญในการทำฝนเทียม ทำน้ำยาดับเพลิง

ผลกระทบจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

ผลกระทบจากการใช้ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงปิโตรเลียมที่เป็นปัญหาต่อโลกอย่างมากในขณะนี้ คือ การเผาไหม้ไฮโดรคาร์บอน ทำให้เกิดก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์ และอาจมีก๊าซอื่นๆอีกที่ส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นที่มาของปัญหาภาวะโลกร้อน

สถานการณ์การใช้ปิโตรเลียม

สถานการณ์การใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลมีสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มทำให้เกิดวิกฤตพลังงาน เนื่องจากมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน โดยพบว่าการใช้พลังงานในสาขาขนส่งมีสัดส่วนการใช้สูงสุด รองลงมาเป็นสาขาอุตสาหกรรม บ้านอยู่อาศัย ธุรกิจร้านค้า และเกษตรกรรม

 


free page counter