ที่ตั้ง : ตำบล เจริญสุข อำเภอ เฉลิมพระเกียรติ บุรีรัมย์
วัดเขาพระอังคาร ใบเสมาหินสมัยทวารวดีบนปากปล่องภูเขาไฟวัดเขาพระอังคารเป็นวัดที่มีวัตถุธรรมความสวยงามของวัดพุทธศิลป์สร้างมานานในยุคที่ขอมเรืองอำนาจความสวยงามของวัดพุทธศิลป์ผสมศิลป์ขอม แนวเดียวกันกับปราสาทหินเขาพนมรุ้งส่วนสถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้างที่เห็นในวัดปัจจุบันส่วนใหญ่สร้างใหม่ทับของเก่ามีโบสถ์ที่ประยุกต์จากสถาปัตยกรรมหลายสมัย ดูสวยงามแปลกตาเป็นวัดที่สวยงามใหญ่โตแห่งหนึ่งของบุรีรัมย์ มีโบสถ์ ศาลา และอาคารต่างๆ
ความเป็นมาของภูเขาพระอังคาร ภูเขาพระอังคาร เดิมชื่อ ภูเขาลอย เหตุที่เรียกว่าภูเขาพระอังคารเพราะตามประวัติลายแทงธาตุพนมกล่าวไว้ว่า เมื่อ พ.ศ.8 ได้มีพญาทั้ง 5 ได้นำพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าไปบรรจุที่พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยมีพระมหากัสสปะเถระและพระอรหันต์ 500องค์ เป็นประธานอีกพวกหนึ่งได้นำพระอังคารธาตุของพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานบรรจุไว้บนภูเขาลอยตามประวัติว่าตามที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานแล้วที่เมืองกุสินาราหลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้วโทณพราหมณ์ได้แจกพระธาตุไป 8 พระนครแล้ว อยู่มามีเมืองๆหนึ่งไปขอพระธาตุทีหลังเขาพอดีพระธาตุได้แจกไปหมดแล้วโทณพราห์มจึงเอาทะนานทองตวงเอาธาตุพระอังคาร(ขี้เถ้า) ให้มาเมื่อได้พระอังคารธาตุจึงได้เดินทางกลับมาทางทิศอิสานใต้พอถึงภูเขาลูกนึงคือภูเขาลอย มีรูปลักษณะสวยงามรูปร่างเหมือนรูปพญาครุฑนอนคว่ำหน้าจึงมีความคิดว่าน่าจะนำพระอังคารธาตุบรรจุไว้ที่แห่งนี้เมื่อลงความเห็นเป็นอันเดียวกันแล้วจึงได้สร้างสถานที่บรรจุพระอังคารธาตุไว้ที่ไหล่ข้างซ้ายของพญาครุฑและเปลี่ยนชื่อภูเขาลอยเป็นภูเขาพระอังคาร ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา |