หน่วยที่ 2 อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง (Internet Of Things)

ความหมายของ Internet Of Things
     Internet of Things (IoT) คือ "อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง" หมายถึง การที่อุปกรณ์ต่างๆ สิ่งต่างๆ ได้ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (การสั่งการเปิดไฟฟ้าภายในบ้านด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ควบคุม เช่น มือถือ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต) รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือทางการเกษตร อาคาร บ้านเรือน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
     IoT มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า M2M ย่อมาจาก Machine to Machine คือเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่ออุปกรณ์กับเครื่องมือต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน
เทคโนโลยี IoT มีความจำเป็นต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภท RFID และ Sensors ซึ่งเปรียบเสมือนการเติมสมองให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ขาดไม่คือการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อให้อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ เทคโนโลยี IoT มีประโยชน์ในหลายด้าน แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยง เพราะหากระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่ดีพอ ก็อาจทำให้มีผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาขโมยข้อมูลหรือละเมิดความเป็นส่วนตัวของเราได้ ดังนั้นการพัฒนา IoT จึงจำเป็นต้องพัฒนามาตรการ และระบบรักษาความปลอดภัยไอทีควบคู่กันไปด้วย
ลักษณะการทำงานของ Internet Of Things
ประเภทของ Internet Of Things
ปัจจุบัน IoT แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่

  • Industrial IoTs: แบ่งจาก Local Network มีหลายเทคโนโลยีที่แตกต่างกันในโครงข่าย Sensor Nodes โดยตัวอุปกรณ์ IoT Device ในกลุ่มนี้ จะเชื่อมต่อแบบ IP Network เพื่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต

  • Commercial IoTs: แบ่งจาก Local Communication ที่เป็น Bluetooth หรือ Ethernet (Wired Or Wireless) โดยตัวอุปกรณ์ IoT Device ในกลุ่มนี้จะสื่อสารภายในกลุ่ม Sensor Nodes เดียวกันเท่านั้นหรือเป็นแบบ Local devices เพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้เชื่อมสู่อินเตอร์เน็ต

ส่วนประกอบของ Internet Of Things
     ประโยชน์ของ Internet Of Things การที่เทคโนโลยีเป็นที่แพร่หลายนั้นไม่ได้อยู่ที่ปัจจัยด้านราคาอย่างเดียว แต่เทคโนโลยีนั้นต้องส่งมอบประโยชน์ต่อชีวิตของผู้ใช้ด้วย ซึ่ง IoTs ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ มากมาย

รับส่งข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล

     IoTs มีคุณสมบัติด้านการเก็บข้อมูลทางภายภาพให้อยู่ในรูปดิจิทัลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จึงนับเป็นประโยชน์อย่างมากในยุค Digital Transformation

ทำงานตรวจสอบในจุดที่คนเข้าไม่ถึง

     เราสามารถออกแบบ Smart Device ให้มีขนาดเล็กและทนทาน เพื่อติดตั้งตามจุดที่คนเข้าถึงยากหรือในจุดที่มีอันตรายระหว่างดำเนินการได้ เช่น ภายในท่อส่งน้ำมัน บ่อบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินจากการเข้าพื้นที่อันตรายเป็นประจำได้

ลดภาระงานให้กับบุคลากร

     ในอดีตการเก็บข้อมูลต้องใช้คนในการสอดส่องที่เครื่องมือเพื่อหาความผิดปกติ แต่ปัจจุบัน IoTs ไม่เพียงแต่สอดส่องให้เราผ่าน Dashboard เท่านั้น แต่ยังสามารถเรียนรู้และหาความผิดปกติด้วยเทคโนโลยีอื่นๆ ได้ อย่าง Artificial Intelligence เป็นต้น

แม่นยำ! และส่งข้อมูลได้แบบ Real-Time

     ข้อมูลจาก IoT ไม่เพียงแต่เป็นดิจิทัลเท่านั้น ยังสามารถแลกเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วระดับ Real-Time มีความแม่นยำ และสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ทำให้มีข้อมูลในการตัดสินใจได้ทันที
จะเห็นได้ว่า IoTs มีส่วนช่วยเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของเราและสังคมรอบข้างในทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงยังเข้าไปมีความเกี่ยวข้องกับแวดวงต่างๆ ทั้งภาคธุรกิจและสังคมมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมที่จะก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง

นายวิโรจณ์ ทองเรือง
ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพสตึก

นางสาวจารุมาศ ยะบุญมี

ครูที่ปรึกษาโครงการ

นายผดุงศักดิ์ บุญยืน

ครูผู้สอนวิชาโครงกาi

 

 

สถิติผู้เข้าชม

 

ติดต่อเรา :

วิทยาลัยการอาชีพสตึก 100 หมู่ที่ 23 ถ. บุรีรัมย์-มหาสารคาม ต.นิคม อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ 31150

โทร 0-4468-0114 , 08-1955-1489, Fax 0-4468-0208

SATUK INDUSTRIAL AND COMMUNITY EDUCATION COLLEGE_ _ _ _ Email: stuksticc@gmail.com