หน่วยที่ 7 กรณีศึกษาเทคโนโลยีดิจิทัลเชื่อมโยงอาชีพ

7.1 ความหมายของเทคโนโลยีดิจิทัลและการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
     7.1.1 ความหมายของเทคโนโลยีดิจิทัล
เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) หมายถึงเครื่องมือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ระบบอุปกรณ์จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลอาทิคอมพิวเตอร์โทรศัพท์แท็บเล็ตโปรแกรมคอมพิวเตอร์สื่อออนไลน์เป็นต้นซึ่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสื่อสารการปฏิบัติงานและการทำงานร่วมกันหรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานหรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพต้องมีทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy)
     7.1.2 ความหมายของการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
การปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) หมายถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้กับทุกภาคส่วนของธุรกิจซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่รากฐานของธุรกิจไปจนถึงกระบวนการส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบองค์กรอย่างมีกลยุทธ์ที่ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและช่วยให้ก้าวทันตามโลกเศรษฐกิจซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและก้าวกระโดดธุรกิจหรือองค์กรจึงควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนผู้บริหารไปจนถึงพนักงานต้องมีความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น
การดำเนินการธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรมที่ได้รับประโยชน์จากการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมีดังนี้
          1. การปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
               1)  อุตสาหกรรมค้าปลีกเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนลงไปอย่างรวดเร็วและส่วนใหญ่เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเพื่อที่จะรองรับลูกค้าที่มีโอกาสสัมผัสกับสินค้าได้อย่างชัดเจนเช่นการซื้อสินค้าออนไลน์ (Online Shopping) รวมถึงการปรับตัวของการตลาดแบบดั้งเดิม (Trasal Trade) ในการดำเนินการในรูปแบบร้านค้าออนไลน์มากขึ้น
               2) อุตสาหกรรมประกันภัยเป็นอุตสาหกรรมที่มีโอกาสในการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเปลี่ยนแปลงได้มากมายหลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจประกันรถยนต์ทั้งในเรื่องการประกันอุบัติเหตุการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้นและการจ่ายเท่าที่ใช้รถยนต์ซึ่งช่วยในการจัดการทางการเงินของผู้ใช้บริการได้มากขึ้นอีกอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดจากการเกิดการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในอุตสาหกรรมนี้คือการเกิดขึ้นมากมายของนายหน้าประกันภัยรถยนต์ (Broker) ในประเทศไทย
               3) อุตสาหกรรมการแพทย์ความเปลี่ยนแปลงในด้านการแพทย์นี้ถูกผลักดันโดยโครงสร้างสังคมที่เปลี่ยนไปในด้านอายุซึ่งประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอีกไม่ช้าและการเพิ่มสูงขึ้นของราคาค่ารักษาพยาบาลรวมถึงความคาดหวังและพฤติกรรมของคนไข้ที่เปลี่ยนไปโดยการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยลดต้นทุนการรักษาพยาบาลรวมถึงทำให้การเข้าถึงข้อมูลการรักษาสามารถทำได้ง่ายขึ้น
          2. การปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในสถาบันการเงิน
ปัจจุบันมีการทําธุรกรรมทางการเงินผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตหรือโทรศัพท์มือถือมากขึ้นโดยรัฐบาลได้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างชัดเจนเช่นบริการพร้อมเพย์ (Prompt Pay) ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินมากขึ้น
          3. การปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในอุตสาหกรรมการผลิต
การดำเนินการอุตสาหกรรมรวมไปถึงธุรกิจต่าง ๆ ที่นำเครื่องมือดิจิทัลต่าง ๆ เข้ามาใช้งานเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้สูงขึ้นการทำการตลาดกับลูกค้าผ่านทางออนไลน์และสื่อสังคมออนไลน์จนเกิดเป็นรูปแบบทางธุรกิจใหม่ ๆ ผ่านแพลตฟอร์ม (Platform) ที่ใช้งานได้บนสมาร์ตโฟนซึ่งสามารถสร้างโอกาสและรายได้ให้กับธุรกิจการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจึงเป็นเป้าหมายขององค์กรที่ต้องแข่งขันและสร้างธุรกิจให้เติบโตโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วการลงทุนที่นำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ไอทีที่ทันสมัยมาใช้งานจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจได้

7.2 กรณีศึกษา“ เทคโนโลยีดิจิทัลและการเติบโตแบบทั่วถึง
     7.2.1 กรณีศึกษาประเทศจีนที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างการเติบโตแบบทั่วถึง
สถาบันวิจัยหลัวฮั่นซึ่ง (Luohan Academy) ก่อตั้งโดยอาลีบาบากรุ๊ปโฮลดิ้งลิมิเต็ด (NYSE: BABA) ได้ทำรายงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีดิจิทัลกับการเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างการประชุมเศรษฐกิจโลกปี พ.ศ. 2562“ เวิลด์อีโคโนมิกฟอรั่ม” ณ เมืองดาวอสประเทศสวิตเซอร์แลนด์นำเสนอแนวทางที่เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถนำไปสู่การเติบโตแบบทั่วถึงในแบบที่ไม่เคยทำได้ในอดีตหากได้รับการสนับสนุนจากนโยบายและภาครัฐ
     7.2.2 แนวโน้มของเทคโนโลยีในการเปลี่ยนองค์กรไปสู่ดิจิทัล
ศตวรรษที่ 21 ถือเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสังคมเศรษฐกิจและเทคโนโลยีซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและวิถีการทำงานทำให้ทรัพยากรมนุษย์ต้องปรับตัวและยกระดับสมรรถนะของตนเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงตลอดจนสามารถเป็นกำลังสำคัญของการขับเคลื่อนสู่ประเทศ 4.0 หรือพัฒนาประเทศปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยประสิทธิภาพเป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของการปฏิรูปประเทศไทย

7.3 แนวทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับธุรกิจ
     7.3.1 ผู้นำต้องเข้าใจเทคโนโลยี
     7.3.2 “คน” ยังคงเป็นที่ต้องการเพราะสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจให้กับลูกค้า
     7.3.3 มุ่งเน้นที่เนื้อหาและความสามารถ
     7.3.4 สื่อสารกับพนักงานที่มีให้เข้าใจ
     7.3.5 สรรหาพนักงานที่มีทักษะที่ใช่ ทั้งจากภายในและภายนอก

7.4 จริยธรรมและกฎหมายในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล
     7.4.1 จริยธรรมในการทำธุรกิจดิจิทัล
          1. จําหน่ายสินค้าที่ดีมีคุณภาพในราคายุติธรรมไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้
          2. จำหน่ายสินค้าที่ถูกกฎหมายไม่ละเมิดลิขสิทธิ์นำเข้าอย่างถูกต้องไม่ปลอมแปลงหรือคัดลอกสินค้าของผู้อื่นมาเป็นของตัวเอง
          3. ไม่โฆษณาเกินจริงบิดเบือนคุณภาพและสรรพคุณของสินค้า
          4. ระบุรายละเอียดที่มาขนาดราคาวันที่หมดอายุของสินค้าให้ชัดเจน
          5. ไม่กลั่นแกล้งและให้ร้ายผู้อื่น
          6. รักษาข้อมูลส่วนตัวและบัญชีของลูกค้าไว้เป็นความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลลูกค้าให้ผู้อื่นทราบโดยไม่ได้รับอนุญาต
          7. ตรงต่อเวลาจัดส่งสินค้าตามที่แจ้งความประสงค์
          8. ตรวจสอบสินค้าและพัฒนาปรับปรุงให้มีคุณภาพอยู่เสมอ
          9. รวดเร็วในการตอบคำถาม
        10. ใช้ช่องทางรับชำระเงินที่เชื่อถือได้

นายวิโรจณ์ ทองเรือง
ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพสตึก

นางสาวจารุมาศ ยะบุญมี

ครูที่ปรึกษาโครงการ

นายผดุงศักดิ์ บุญยืน

ครูผู้สอนวิชาโครงกาi

 

 

สถิติผู้เข้าชม

 

ติดต่อเรา :

วิทยาลัยการอาชีพสตึก 100 หมู่ที่ 23 ถ. บุรีรัมย์-มหาสารคาม ต.นิคม อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ 31150

โทร 0-4468-0114 , 08-1955-1489, Fax 0-4468-0208

SATUK INDUSTRIAL AND COMMUNITY EDUCATION COLLEGE_ _ _ _ Email: stuksticc@gmail.com