หน่วยที่ 4 ธุรกรรมการเงินดิจิตอล (Fintech)

     FinTech หรือ Financial Technology คือการนำเอาเทคโนโลยีดิจิตอล มาประยุกต์ใช้กับบริการทางการเงินในรูปแบบต่างๆ ทั้งการชำระเงิน การลงทุน การระดมทุน หรือด้านประกันภัย เพื่อให้สามารถตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการนำเอา Technology ของ Fin Tech ผ่านระบบ online มาใช้จะ ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime) และมีค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมที่ลดลง
     คำว่า FinTech ในปัจจุบันส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ในการเรียกบริษัท กลุ่มธุรกิจ หรือกลุ่มผู้ประกอบการที่คิดค้น นวัตกรรมทางการเงินในรูปแบบใหม่ๆ ที่ทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องยึดติดกับการทำธุรกรรมที่จำกัดอยู่เพียง เงินสด เช็ค บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารเท่านั้น โดยที่ผู้บริโภคสามารถทำธุรกรรมผ่านคอมพิวเตอร์และ Smart Phone ส่วนตัว ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางทางการเงินอย่างระบบธนาคารอีกต่อไป แม้  FinTech จะเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ แต่บทบาทของ FinTech มีการใช้มาหลาย 10 ปี โดยตัวอย่างรูปแบบของ FinTech ดั้งเดิม (Traditional FinTech) ที่เห็นได้ชัดและยังมีการใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ATM, Internet Banking, Mobile Banking ตู้กดเติมเงิน โทรศัพท์มือถือ การซื้อขายหุ้นผ่านออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งทุกอย่างเป็นการทำธุรกรรมด้วยตนเองโดยไม่ต้องผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ในขณะที่ FinTech ในรูปแบบใหม่ (Emergent FinTech) จะเกิดขึ้นผ่านองค์กรขนาดเล็กที่เป็นผู้นำทางเทคโนโลยีใหม่ๆ และนำมา สร้างนวัตกรรมทางการเงิน

1.รูปแบบการให้บริการของธุรกิจ FinTech
     ผู้ให้บริการ FinTech ได้เห็นช่องว่างระหว่าง การให้บริการทางการเงินใน รูป แบบเดิมๆ กับ เทคโนโลยีที่ก้าวไปอย่างรวดเร็วจนสามารถพัฒนาเป็น นวัตกรรมทางการเงินและนำกลับมาแก้ไขปัญหาที่ ลูกค้าประสบอยู่ (pain point) ไม่ว่าจะเป็นความล่าช้า ของการให้บริการ เอกสารที่ต้องใช้ทำธุรกรรมมีจำนวน มาก ตลอดจนความไม่สะดวกในการเข้าถึงบริการทาง การเงิน โดยกลุ่มผู้ประกอบการหน้าใหม่ (Start Up) เข้า มาจัดตั้งบริษัทเพื่อพัฒนาธุรกิจและนำเสนอผลิตภัณฑ์ ในตลาดการเงินหลากหลายรูปแบบ ทั้งบริการชำระเงิน (Payments) โอนเงิน (MoneyTransfers) กู้ ยืมเงิน (Lending)การระดมทุน (Funding) การลงทุน (Investment) และการประกันภัย (Insurance) เป็นต้น โดยธุรกิจ FinTech ในปัจจุบัน ที่เข้ามามีบทบาทและส่งผลกระทบกับสถาบันการเงินอย่างมีนัยสำคัญจะเป็นกลุ่มที่ให้บริการในด้านการชำระเงิน/โอนเงิน (payments/Transfers) การลงทุน (Investments) และการให้สินเชื่อและเงินทุน (Lending & Financing)

     1.1 FinTech ในกลุ่มการชำระเงิน/โอนเงิน (Payments/Transfers) 
     เป็นบริการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านช่องทาง Digital (e-payment) ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดแนวคิด  FinTech  ที่มีจุดเด่นในด้านความสะดวกรวดเร็วในการชำระเงิน โดยลูกค้าไม่จำเป็นต้องใช้เงินสด/บัตรเครดิต/ บัตรเดบิตหรือโอนผ่านบัญชีธนาคารเพื่อชำระเงินค่าสินค้า/บริการแต่ละครั้งดังเช่นในอดีต จึงช่วยให้การซื้อขาย สินค้าออนไลน์(E-Commerce) มีความคล่องตัวมากขึ้น ตัวอย่าง FinTech ที่ให้บริการรับชำระเงินค่าสินค้าและโอนเงินผ่านออนไลน์ ได้แก่ Paypal, Alipay, Line Pay, Paysbuyและการให้บริการของ 3 ค่ายมือถือ AIS Mpay, Jaew Wallet และ Wallet by TrueMoney                      ที่มีบริการรับชำระเงินค่าสินค้า/ บริการทางออนไลน์จากกระเป๋าเงินเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ที่ลูกค้าสามารถเติมเงินไว้สำหรับการชำระเงินและโอนเงินได้โดยตรง
     1.2 FinTech ในกลุ่มธุรกรรมที่เกี่ยวกับการลงทุน (Investments) 
     เป็นบริการด้านการลงทุนและที่ปรึกษาทางการเงินแบบออนไลน์ซึ่งโดยทั่วไปผู้ที่เข้าถึงบริการด้านการลงทุน ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีสินทรัพย์สูง แต่ในปัจจุบันธุรกิจ FinTech เกี่ยวกับการลงทุนได้พัฒนาเพื่อช่วยให้กลุ่มผู้ มีรายได้ทั่วไปสามารถเข้าถึงการวางแผนทางการเงินและการลงทุนได้ง่ายขึ้น โดยการนำเทคโนโลยี Robo-Advisor ที่มีการใช้ (Artificial Intelligence :AI) เข้ามาใช้เรียนรู้พฤติกรรมการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ผ่านข้อมูลสถิติและผลการวิเคราะห์ที่ได้ จากการตอบแบบสอบถามทางออนไลน์ โดย Robo-Advisor จะทำหน้าที่เลือกการลงทุนที่เหมาะสมและช่วยบริหารเงินลงทุนให้แบบ อัตโนมัติตามระยะเวลาการลงทุน ระดับผลตอบแทนที่ต้องการและตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยมีค่าธรรมเนียมการลงทุนที่ต่ำกว่า การให้ปรึกษาทางการเงินผ่านพนักงาน สำหรับ FinTech ที่ให้บริการ Robo-advisor เช่น Wealthfront และ Betterment เป็นต้น 

     1.3 FinTech ในกลุ่มธุรกรรมที่เกี่ยวกับการให้สินเชื่อและเงินทุน (Lending & Financing)   มีการ ให้บริการในหลายรูปแบบ ได้แก่ 
          - Crowd Funding 
          เป็นการระดมทุนจากมวลชนผ่านเว็บไซต์เพื่อเป็นช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สำหรับผู้ที่มีแนวคิดสร้างสรรค์ หรือริเริ่มโครงการเพื่อสังคมส่วนรวม แต่ไม่มีเงินทุนในการดำเนินการ โดยการ ระดมทุนของ Crowd Funding มีหลายรูปแบบ เช่น การบริจาคเงิน การจ่ายเงินเพื่อสั่งจองสินค้าในโครงการ ที่จะผลิตออกมาขาย การให้เจ้าของนำเสนอโครงการผ่านเว็บไซด์เพื่อระดมทุนจากบุคคลทั่วไป การร่วมลงทุน ในหุ้นของบริษัทและการกู้ยืมเงิน เป็นต้น โดยผู้ลงทุนจะได้รับส่วนแบ่งจากการขายเป็นเปอร์เซ็นต์ หรือเป็นรายได้ในรูปของอัตรา ดอกเบี้ย ตัวอย่างผู้ให้บริการ ได้แก่ Kickstarter Indiegogo Dreamaker และTaejai เป็นต้น
           -  P2P (Peer-to-Peer) Lending 
           เป็นการให้กู้ยืมเงินระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านออนไลน์แพลตฟอร์ม โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางทางการเงิน เช่น ธนาคารหรือสถาบันการเงิน แต่ระบบจะสามารถเชื่อมโยงระหว่าง ผู้ให้กู้กับผู้กู้เงินโดยตรง โดยมีแพลตฟอร์มกลางที่เป็นผู้ให้คะแนนเครดิตของแต่ละคน ตัวอย่างผู้ให้บริการ ได้แก่ Zopa Prosper และ Satangdee
            -  Marketplace Lending 
           เป็นการสนับสนุนเงินลงทุนระยะสั้นเพื่อปล่อยกู้ให้แก่ธุรกิจที่ต้องการเงินทุน หมุนเวียนโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ที่อยู่ใน Platform ของผู้ให้บริการ เช่น Amazon และ Alibaba โดยผู้ ให้บริการมีการคิดค้นและพัฒนา Credit Scoring Model เป็นของตัวเอง และมีการน าข้อมูลผู้ซื้อผู้ขายใน ตลาดของตัวเองมาใช้ประเมินความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ รวมทั้งนำข้อมูลความนิยมสินค้าและระดับ สินค้าคงคลังของผู้ขายมาใช้ประเมินอัตราดอกเบี้ยในการปล่อยกู้ระยะสั้น 3-6 เดือน ตัวอย่างผู้ให้บริการ ได้แก่ Kabbage, Amazon lending และ Alipay Financial

2. ผลกระทบของ FinTech กับสถาบันการเงิน
     การชำระเงินและ การปล่อยสินเชื่อ (e-payment and Lending) เป็นบริการที่สถาบันการเงินถูกกลุ่ม FinTech Start Up แย่งชิงลูกค้าไปมากที่สุด และยังเป็นพื้นที่ที่ Start Up ประสบ ความสำเร็จมากที่สุดเช่นกัน ซึ่งหากธุรกรรมดังกล่าวมีผู้ให้บริการรายใดที่สามารถ ให้บริการที่มีค่าธรรมเนียมและต้นทุนโดยรวมที่ถูกกว่า ผู้บริโภคก็พร้อมที่จะเปลี่ยนไป ใช้บริการกับผู้ให้บริการรายอื่นแทน จากสิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวจะเห็นได้ว่า หากสถาบันการเงินของไทยไม่มีการปรับตัวจะทำให้มีโอกาสสูญเสียส่วนแบ่งทาง การตลาดให้กับผู้ประกอบการรายใหม่ที่พร้อมที่จะเข้ามาช่วงชิงตลาด และจะส่งผลโดยตรงต่อผลการดำเนินงานของสถาบัน การเงิน นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตว่าบทบาทของ FinTech ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ธนาคารเริ่มส่งสัญญาณการปรับกลยุทธ์ด้วยการ ลดจำนวนสาขาลงโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ที่มีจำนวนสาขาลดลงค่อนข้างชัดเจน 
3. การปรับตัวของสถาบันการเงินเพื่อรองรับการแข่งขัน
     3.1 การเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีและพันธมิตร การที่สถาบันการเงินต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันจาก FinTech ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้องมีการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ โดยการเตรียมความพร้อมที่ค่อนข้างเป็น รูปธรรมจะมี 2 ด้านหลักๆ คือ
        1).การพัฒนาเทคโนโลยีจากภายในธนาคาร (In-House Development) เพื่อรองรับรูปแบบ Digital Banking ในอนาคต ได้แก่ การจัดตั้ง R&D Lab เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่นำไปปรับปรุงกระบวนการภายใน ธนาคาร รวมทั้งออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เช่น การพัฒนารูปแบบการทำธุรกรรมทางการเงินทุก รูปแบบให้สามารถใช้บน Smart Phone ได้ 
        2).การร่วมมือกับผู้ประกอบการ FinTech ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ได้แก่การเป็น Partnerกับผู้ประกอบการ FinTech, การลงทุนผ่าน Venture Capital และการสนับสนุน Start Up Communityซึ่งความร่วมมือ ระหว่างสถาบันการเงินกับ FinTech เกิดขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินเป็นกลุ่มที่มีเงินทุน มีฐานข้อมูลลูกค้า มีเครือข่าย และมีความน่าเชื่อถือ แต่ต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ธุรกิจ FinTech มี Innovation แต่ขาดเงินทุน ดังนั้นหากเกิดความร่วมมือระหว่างกัน     จะทำให้ทั้งสถาบันการเงินกับ FinTech ได้รับประโยชน์ร่วมกัน
     3.2 การปรับตัวเข้าสู่ Digital Banking การที่ FinTech เข้ามามีอิทธิพลในการทำธุรกรรมทางการเงิน ทำให้สถาบันการเงินชั้นนำมีการเร่งปรับตัวในด้านการ พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงเป็นพันธมิตรทางธุรกิจหรือร่วมลงทุน (Venture Capital) กับผู้ประกอบการ FinTech เพื่อให้เกิด การต่อยอดนวัตกรรมทางการเงินและนำเสนอออกสู่ตลาดเพื่อตอบสนองผู้บริโภคในยุค Digital เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

นายวิโรจณ์ ทองเรือง
ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพสตึก

นางสาวจารุมาศ ยะบุญมี

ครูที่ปรึกษาโครงการ

นายผดุงศักดิ์ บุญยืน

ครูผู้สอนวิชาโครงกาi

 

 

สถิติผู้เข้าชม

 

ติดต่อเรา :

วิทยาลัยการอาชีพสตึก 100 หมู่ที่ 23 ถ. บุรีรัมย์-มหาสารคาม ต.นิคม อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ 31150

โทร 0-4468-0114 , 08-1955-1489, Fax 0-4468-0208

SATUK INDUSTRIAL AND COMMUNITY EDUCATION COLLEGE_ _ _ _ Email: stuksticc@gmail.com