 |
หน่วยที่ 3 เทคโนโลยีที่ใช้ในการทำธุรกรรมโดยไม่ต้องผ่านบุคคลที่สาม (Blockchain)
ความหมายของ Blockchain
Blockchain คือ ระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือข่ายใยแมงมุม ที่เก็บสถิติการทำธุรกรรมทางการเงิน และสินทรัพย์ชนิดอื่นๆ อีกในอนาคต โดยไม่มีตัวกลาง คือสถาบันการเงิน หรือสำนักชำระบัญชี ระบบ Blockchain จะไม่มีตัวกลางอย่างที่เคยเป็นมา ยกตัวอย่างการทำธุรกรรมด้วย Bitcoin จะมีรหัส Token สร้างขึ้นมาเพื่อสื่อสารกับ Blockchain และทำการตรวจสอบว่า Bitcoin นั้นๆ มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ก่อนที่จะทำธุรกรรมให้สำเร็จต่อไป
เท่ากับว่า Blockchain เป็นระบบโครงข่ายในการทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งตัดตัวกลางอย่างสถาบันการเงินที่มีอยู่ในโลกปัจจุบันออกไป ซึ่งทำให้ต้นทุนการทำธุรกรรมถูกลง และอาจจะส่งผลให้สถาบันการเงินที่เป็นตัวกลาง รวมไปถึงสำนักชำระบัญชีต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีอีกในอนาคตได้เลย หากเทคโนโลยีนี้เข้ามาแทนที่ได้อย่างสมบูรณ์
ขณะที่ Blockchain ไม่เพียงมีบทบาทอยู่แค่การทำธุรกรรมทางการเงินเท่านั้น หากแต่ยังอาจถูกนำไปใช้ในงานอื่นๆ เช่น การเก็บสถิติการเลือกตั้งให้มีความโปร่งใสมากขึ้น การให้ยืม Cloud Storage ระหว่างกัน, บริการ co-location, ระบบ Peer to Peer Lending และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งแม้แต่เหล่าธนาคารเองก็ตัดสินใจเข้าลงทุนในการทำ Blockchain มากขึ้นเรื่อยๆ โดยล่าสุด เหล่าสถาบันการเงินอย่างธนาคาร Citibank ตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ รวมไปถึงบริษัท VISA ก็ได้เข้าลงทุนในบริษัทบล็อกเชนชั้นนำอย่าง Chain.com เพื่อแนวทางรักษาตลาดเทคโนโลยีนี้เช่นกัน
แนวคิด Blockchain เริ่มกลับมาเป็นกระแสที่ต้องจับตามมองอีกครั้ง พร้อมมีการพัฒนาใหม่ๆ ไปสู่การใช้งานที่มากกว่าการทำธุรกรรม Bitcoin ในอดีตที่ไม่ได้รับการยอมรับมากนัก ผนวกรวมกับกระแสการเพิ่มขึ้นของอุปกรณ์ที่ใช้แนวคิด อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (Internet of Things) จำเป็นต้องมีการจัดการ ดูแลอย่างการรักษาความปลอดภัยระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ และความจำเป็นที่จะต้องบันทึกฐานข้อมูลของการติดต่อต่างๆ เหล่านั้น ทำให้เทคโนโลยีอย่าง Blockchain ที่ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนบุคคลจะกลายมาเป็นตัวช่วยสำคัญของการใช้งานดังกล่าว โดยลดขั้นตอนระบบการทำงานให้เรียบง่ายขึ้น มีการยืดหยุ่นที่สูงขึ้น รวมทั้งการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
แต่กระนั้นความสำเร็จของ Blockchain จะสามารถพลิกสถานะการให้บริการด้านการเงินโลกดิจิทัลได้หรือไม่ การหาพาร์ตเนอร์ที่มีประสบการณ์ในการทำงานกับระบบความซับซ้อน และความหลากหลาย ในทุกระดับการใช้งานไม่ว่าเล็ก หรือใหญ่ เป็นหัวใจสำคัญของการจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างดีที่สุด ซึ่งถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาไอเดียทางธุรกิจเหล่านี้ ต่างเคยถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้จริง หากแต่ปัจจุบันเรื่องเช่นนี้ได้กลายเป็นตัวกำหนดผู้ชนะในอนาคต ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการมองว่าซอฟต์แวร์คือตัวแปรสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่นั่นเอง
หลักการทำงานของเทคโนโลยี Blockchain
การทำงานของ Blockchain
บล็อกเชน เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูล (Data structure) แบบหนึ่ง ที่ทำให้ข้อมูล Digital transaction ของแต่ละคนสามารถแชร์ไปยังทุกๆ คนได้ เป็นเสมือนห่วงโซ่ (Chain) ที่ทำให้ block ของข้อมูลลิ้งก์ต่อไปยังทุกๆ คนเป็น โดยที่ทราบว่าใครที่เป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลนั้นจริงๆ เมื่อบล็อกของข้อมูลได้ถูกบันทึกไว้ในบล็อกเชน มันจะเป็นเรื่องยากมากๆ ที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลง เวลาที่มีใครต้องการจะเพิ่มข้อมูล ทุกๆ คนในเครือข่ายซึ่งล้วนแต่มีสำเนาของบล็อกเชน สามารถรัน Algorithm เพื่อตรวจสอบ Transaction โดย Transaction ใหม่นี้จะได้รับอนุญาต ต่อเมื่อในเครือข่ายส่วนใหญ่เห็นด้วยว่ามันถูกต้อง
Bitcoin (บิทคอยน์) กับ Blockchain (บล็อกเชน) เกี่ยวข้องกันอย่างไร
บล็อกเชน เป็นเทคโนโลยี ด้านความปลอดภัยของข้อมูล บิทคอยน์ ว่าด้วยเรื่องสกุลเงินบนโลกดิจิตอล จะเห็นได้ว่า บล็อกเชน ไม่ใช่ บิทคอยน์ และบิทคอยน์ ก็ไม่ใช่บล็อกเชน แต่โมเดลบิทคอยน์ มีความต้องการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ เพื่อให้การซื้อขายสกุลเงินดิจิตอลนี้ มีความปลอดภัย และเพราะว่า บล็อกเชน ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องได้กับทุกอุตสาหกรรม ไม่เจาะจงเฉพาะบิทคอยน์ หรือ FinTech เพียงแต่เทคโนโลยีนี้เรียกได้ว่าส่งผลกระทบต่อวงการ FinTech ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจน และการบูมของเทคโนโลยีตัวนี้ มาจากความพยายามในการทำบิทคอยน์
องค์ประกอบของเทคโนโลยี Blockchain
Blockchain เป็น technology ที่เกี่ยวกับความเชื่อใจ (Trust) ในการทำธุรกรรมที่มีมูลค่า (Value) โดย มีองค์ประกอบ 4 ข้อ ดัง1. Block เป็นการเก็บ Data Transaction/Fact โดยบรรจุในกล่อง(Block) และเมื่อปิดกล่องแล้ว ข้อมูลภายในกล่องห้ามเปลี่ยนแปลง โดยจะมี Hash ปะหน้ากล่อง (Hash function คือการนำ input ขนาดยาวเท่าไหร่ก็ได้มาแปลงเป็นค่าขนาดคงที่ ซึ่ง input จะให้ค่า output เดิมเสมอ) โดยสรุปคือ .. เป็น Block ที่ใช้เก็บ data ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
2. Chain การเอา header (hash) ของ block มาเรียงต่อกันเป็น chain
-
มีแค่ header (hash) ล่าสุดสามารถตรวจสอบได้ตลอดทั้ง chain ว่าไม่ถูกเปลี่ยนแปลง
-
การทำธุรกรรมก็แค่เอา hash ล่าสุด 2 คนมาเทียบกัน ถ้าตรงกันคือเชื่อถือได้ ทำธุรกรรมได้
-
เราสามารถเก็บแค่ hash ล่าสุดไว้ก็ได้ ไม่ต้องเก็บทั้ง blockchain ในการทำธุรกรรม
-
ข้อมูลกล่องปัจจุบันจะเก็บ hash ของกล่องก่อนหน้า ทำให้เปลี่ยน data transaction ที่เกิดขึ้นมาแล้วไม่ได้ เนื่องจากมี Hash กำกับไว้ที่กล่องและถ้าจะแก้ข้อมูลบางกล่อง ต้องตามแก้ทั้ง chain ทุก block
-
โดยสรุป Chain คือเอา Block มาต่อกันโดยเก็บค่า Hash ไว้ในกล่องถัดไป
3. Consensus
วิธีการตกลงกันว่า block ถัดไปจะเก็บอย่างไร สามารถทำได้หลายวิธีเช่น
วิธีใดก็ได้ที่ตกลงกันแล้วทุกคนยอมรับ”ธุรกรรม” ที่เกิดขึ้น เช่น เป่ายิงชุบ / แบบประชาธิปไตย/ หัวหน้าฟันธง etc. แต่วิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเช่น
Prove of Work : คือให้คนที่โชคดีและขยันที่สุดชนะ ซึ่งยิ่งจำนวน peer มาก ความน่าเชื่อถือยิ่งเยอะและยิ่งปลอดภัยจากการถูกทำลายระบบ
Prove of Stake : ให้สิทธิ์กับคนที่ถือมูล (value) ที่มีค่าสูงสุด ในการตัดสิน แต่วิธีนี้อาจจะใส่กฎอื่นเพิ่มเช่น อาจจะใช้ได้แล้วต้องหยุดสักพัก ให้สิทธิ์คนอื่นบ้าง ไม่งั้นคนอื่นอาจจะไม่ใช้ระบบเพราะไม่มีสิทธิ์มีเสียง
เพิ่มเติม : Forking = การแตกออกจาก chain หลัก ซึ่ง chain ที่แตกออกไปจะคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่องและจะเป็นโมฆะในที่สุดปรกติมีประมาณ 4–5 Block
4. Validation
การตรวจสอบธุรกรรม ใช้ digital signature (private key) เพื่อประกันว่าธุรกรรมเกิดจากเจ้าของเงินจริงๆ
ิ - Bitcoin มีมา 9 ปี ยังไม่มีใครโดน Hack ระบบแต่ที่โดน hack คือ web ที่เก็บ wallet (private key) คือใครถือ private key คนนั้นมีสิทธิ์ทำธุรกรรมได้เปรียบเสมือนเจ้าของ
5. Wallet (optional)
กระเป๋าเงินที่ทำให้เราทราบมูลค่าของเงินที่เรามีอยู่
|

นายวิโรจณ์ ทองเรือง
ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพสตึก

นางสาวจารุมาศ ยะบุญมี
ครูที่ปรึกษาโครงการ

นายผดุงศักดิ์ บุญยืน
ครูผู้สอนวิชาโครงกาi
สถิติผู้เข้าชม |