บทที่ 1 การตลาดและความสำคัญของการตลาด

   ความหมายของการตลาด
ความหมายของการตลาด สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำจำกัดของคำว่า"Marketing" ไว้ดังนี้
การตลาด คือ การกระทำกิจกรรมต่างๆ ในทางธุรกิจที่มีผลให้เกิดการนำสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการนั้นๆ ให้ได้รับความพึงพอใจ ขณะเดียวกัน ก็บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ

องค์ประกอบของการตลาด
1.มีสิ่งที่จะโอนเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ คือ สินค้าหรือบริการ
2.มีตลาด คือ ผู้ชื้อที่ต้องการซื้อสินค้าหรือบริการ
3.มีผู้ขายสินค้าหรือบริการ      
4.มีการแลกเปลี่ยน
ตลาดตามความหมายของบุคคลทั่วไป
ตลาด หมายถึง สถานที่ ที่เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยน สถานที่ผู้ซื้อผู้ขายจะไปตกลงซื้อขายสินค้ากัน
ตลาดตามความหมายของนักธุรกิจหรือนักการตลาด
ตลาด คือ บุคคล หน่วยงาน องค์กรที่มีความคิดที่จะซื้อสินค้า มีอำนาจซื้อ และมีความเต็มใจที่จะซื้อสินค้าหรือบริการ
ตลาดตามความหมายของนักธุรกิจหรือนักการตลาด
ตลาด คือ บุคคล หน่วยงาน องค์กรที่มีความคิดที่จะซื้อสินค้า มีอำนาจซื้อ และมีความเต็มใจที่จะซื้อสินค้าหรือบริการ

ความสำคัญของการตลาด
1.  การตลาดเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน การดำเนินการตลาดของธุรกิจจะทำให้ผู้ผลิตกับผู้บริโภคเข้ามาใกล้กันและสร้างความพึงพอใจ ให้กับผู้บริโภคด้วยการเสนอผลิตภัณฑ์ ที่ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคจนทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนในระดับผู้ซื้อและผู้ขายเกิดความพึงพอใจ การตลาดยังไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเท่านั้นแต่ยังเป็นเครื่องมือที่สร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้บริโภคเกิดความซื่อสัตย์ภักดีต่อผลิตภัณฑ์ทำให้ผู้บริโภคกลับมาใช้ หรือซื่อซ้ำเมื่อมีความต้องการ

2.  การตลาดเป็นตัวเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของผลิตภัณฑ์กับผู้บริโภค การดำเนินการทางการตลาดทำให้ผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์สามารถตอบสนองและสร้างความ พึงพอใจให้กับผู้บริโภคได้ ด้วยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ให้สอดคล้องกับภาวการณ์ สถานภาพ ของผู้บริโภคด้วยการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในปริมาณ ในเวลา ในสถานที่ที่ผู้บริโภคต้องการ ในราคา ที่ผู้บริโภคมีกำลังการซื้อ และโอนความเป็นเจ้าของได้ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์กับผู้บริโภคนอกจากจะดำเนินการในหน้าทางการตลาด ให้เกิดการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันในเรื่องดังกล่าว สิ่งที่สำคัญจะต้องกระทำอีกประการหนึ่งก็คือ การสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภคในกิจกรรมดังกล่าว

3.  การตลาดเป็นตัวผลักดันให้มีการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์  ด้วยแนวคิด ของการตลาด  ในการมุ่งสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค และรับผิดชอบต่อสังคม ผลักดันให้ผลิตต้องพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ตรงต่อความต้องการ และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคตลอดจนจูงใจผู้บริโภคด้วยการเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ และการตลาดระบบการตลาดเสรี ซึ่งมีการแข่งขันกันมากในการสร้าง ความพึงพอใจและจูงใจผู้บริโภค จึงยิ่งเป็นแรงผลักดันให้มีการพัฒนาปรับปรุง ผลิตภัณฑ์เพื่อการแข่งขัน ในตลาดเสรี

4. การตลาดเป็นกลไกในการเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจด้วยการก่อให้เกิดการบริโภคและการพึ่งพากันอย่างเป็นระบบมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ การสร้างความต้องการและการสนองความต้องการในการบริโภค ผลิตภัณฑ์ทำให้เกิดการไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจ คือเกิดการจ้างงาน เกิดรายได้ เกิดการบริโภคและเกิดการใช้แรงงาน ซึ่งจะมีการพึ่งพากันและเชื่อมโยงไหลเวียนตามลำดับอย่างเป็นระบบ ผลจะทำให้การดำรง         ชีวิต ของมนุษยชาติในสังคมอยู่ในระดับที่มีการกินดีอยู่ดี มีความเป็นอยู่ อย่างเป็นสุขโดยทั่วกัน

ความสำคัญของการตลาดอาจจำแนกให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นโดยพิจารณาจากการตลาดมีความสำคัญต่อสังคมและบุคคลดังนี้
1.ยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของบุคคลในสังคมให้สูงขึ้น
2.ทำให้พฤติกรรม อุปนิสัย ความเชื่อ ค่านิยมและลักษณะการดำรงชีพของบุคคล ในสังคมเปลี่ยนไป
3.เกิดอาชีพต่าง ๆ แก่บุคคลในสังคมเพิ่มมากขึ้น
นอกจากความสำคัญต่อบุคคลและสังคมแล้ว การตลาดยังมีความสำคัญต่อระบบ เศรษฐกิจโดยตรงดังนี้
1.ช่วยให้รายได้ประชากรสูงขึ้น
2.ทำให้เกิดการหมุนเวียนของปัจจัยการผลิต
3.ช่วยสร้างความต้องการในสินค้าและบริการ
4.ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของเศรษฐกิจ
5.ให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ

ประโยชน์ของกิจกรรมทางการตลาด 
1  อรรถประโยชน์ด้านรูปแบบ (Form Utility) จะเกิดขึ้นจากการผลิตโดยตรง และการ เข้ามาช่วยเสริมโดยการค้นหาถึงความต้องการของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์โดยให้ข้อมูลแก่ผลฝ่ายผลิต
2  อรรถประโยชน์ด้านสถานที่ (Place Utility) การตลาดช่วยอำนวย ความสะดวก ด้านสถานที่ เพราะเป็นกิจกรรมที่นำผลิตภัณฑ์ไปสู่สถานที่ที่ลูกค้าเป้าหมายอยู่
3  อรรถประโยชน์ด้านเวลา (Time Utility) การตลาดช่วยสร้างอรรถประโยชน์ ด้านเวลาให้กับลูกค้า โดยมีสินค้าพร้อมในเวลาที่ลูกค้าต้องการ
4  อรรถประโยชน์ด้านความเป็นเจ้าของ (Possession Utility) การตลาดช่วยสร้างความ พึงพอใจจากการ ได้เป็นเจ้าของสินค้าต่าง ๆโดยทำให้ผู้บริโภคมีโอกาส ได้ซื้อสินค้าและมี กรรมสิทธ์ในสินค้านั้น
5  อรรถประโยชน์ในด้านภาพลักษณ์ (Image Utility) ตลาดช่วยสร้างคุณค่าหรือ ภาพลักษณ์  ของผลิตภัณฑ์ในความรู้สึกนึกคิดของบุคคล โดยอาศัยการส่งเสริมการตลาด ได้แก่ การใช้การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์

ส่วนประสมการตลาด
ส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix) คือ เครื่องมือหรือปัจจัยทางการตลาดที่ควบคุมได้ที่ธุรกิจต้องใช้ร่วมกันเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจแก่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหรือเพื่อกระตุ้นให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเกิดความต้องการสินค้าและบริการของตนประกอบด้วยส่วนประกอบ 4 ประการ หรือ 4P’s คือ
1. ผลิตภัณฑ์(Product)
2. ราคา (Price)
3. สถานที่จำหน่าย (Place)
4. การส่งเสริมการตลาด (Promotion)

กลยุทธ์ส่วนประกอบการตลาด” (Marketing mix strategv)
ส่วนประสมการตลาดหมายถึงกลุ่มเครื่องมือการตลาดซึ่งธุรกิจใช้ร่วมกันเพื่อให้บรรณลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดในตลาดเป้าหมายเครื่องมือการตลาด 4 ประการ ได่แก่
1. กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ (Product) ผลิตภัณฑ์หมายถึงสิ่งที่นำเสนอกับการตลาดเพื่อความสนใจ (attcntion) ความอยากได้ (Acquistion) การใช้ (Using) หรือการบริโภค (Consumtion)

2. จัดตามประเภทอาณาบริเวณทางภูมิศาสตร์ (By Geographic)
2.1 การโฆษณาที่มุ่งต่างประเทศ (International Advertising)
2.2 การโฆษณาระดับชาติ (National Advertising)
2.3 การโฆษณาในเขตใดเขตหนึ่ง (Regional Advertising)
2.4 การโฆษณาระดับท้องถิ่น (Local Advertising)

3. จัดตามประเภทสื่อ (By Medium)
3.1 ทางโทรทัศน์
3.2 ทางวิทยุ
3.3 ทางนิตยสาร
3.4 โดยใช้จดหมายตรง
3.5 นอกสถานที่

4. จัดตามประเภทเนื้อหา หรือ จุดมุ่งหมาย (By Content or Purpose)
4.1 การโฆษณาผลิตภัณฑ์กับการโฆษณาสถาบัน 
4.2 การโฆษณาเพื่อหวังผลทางการค้ากับการโฆษณาที่ไม่หวังผลทางการค้า
4.3 การโฆษณาให้เกิดกระทำกับการโฆษณาให้เกิดการรับรู้

การประชาสัมพันธ์ หมายถึง ความพยายามที่มีการวางแผน โดยกิจการหนึ่งเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์การ ให้เกิดกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง วิธีการประชาสัมพันธ์ที่นิยมใช้มีดังนี้
1.  การใช้สิ่งพิมพ์ (Publication)
2.  การใช้เหตุการณ์พิเศษ (Events)
3.  การให้ข่าว (News)
4.  การกล่าวสุนทรพจน์ (Speeches) 

การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) หมายถึง การจูงใจโดยเสนอคุณค่าพิเศษแก่ผู้บริโภค คนกลาง หรือ หน่วยการขาย เพื่อเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์ในทันที นอกเหนือจากกิจกรรมที่ทำอยู่เป็นประจำ
1. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภค (Consumer Promotion)
1.1 การแจกคูปอง (Coupons)
1.2 การลดราคา (Price Off)
1.3 การรับประกันให้เงินคืน (Refund)
1.4 การคืนเงิน (Rabates)
1.5 การให้ของแถม (Premiums)
1.6 การแจกตัวอย่างสินค้า (Sampling)
1.7 การจัดแสดงสินค้า ณ จุดซื้อ (Point of Purchase Display)

2. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่คนกลาง (Trade or Dealer Promotion)
2.1 ข้อตกลงการค้า (Trade deals)
2.2 ส่วนลด (Discount)
2.3 ส่วนยอมให้ (Allowances)
2.4 การโฆษณาร่วมกัน (Cooperative Advertising)
2.5 การแถมตัวอย่างแก่คนกลาง (Dealer Free Goods)
2.6 การแข่งขันทางการขาย (Sales Contest

3. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่พนักงานขาย (Sales Forces Promotion)
3.1 การแข่งขันทางการขาย (Sales Contest)
3.2 การฝึกอบรมการขาย (Sales Training)
3.3 การมอบอุปกรณ์ช่วยขาย (Selling Aids)
3.4 การกำหนดโควต้าการขาย (Sales Quota)
3.5 การให้สิ่งจูงใจจากการหาลูกค้าใหม่ (New Customer Incentives)

การขายโดยใช้พนักงานขาย (Personal Selling)
เป็นการติดต่อสื่อสารทางตรงแบบเผชิญหน้าระหว่างผู้ขายและลูกค้าที่คาดหวัง"การขายโดยใช้พนักงานขายถือเป็นการติดต่อสื่อสารแบบสองทาง(TwoWayCommunication) โดยเน้นในการใช้ความสามารถเฉพาะตัวของพนักงานขายทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของกิจการได้เป็นการตลาดที่เน้นการสื่อสารทางตรงระหว่างผู้ขายกับลูกค้าเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อลูกค้าและกระตุ้นให้เกิดความต้องการและตัดสินใจซื้อโดยปัจจุบันพนักงานขายจะต้องมีความสามารถรอบด้าน ทั้งในการจูงใจให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นให้กับลูกค้าได้

การตลาดทางตรง (Direct Marketing)
เป็นการติดต่อสื่อสารส่วนตัว ระหว่าง นักการตลาด และกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้การส่งจดหมายตรง โทรศัพท์ หรือวิธีการอื่นๆ ผ่านสื่ออย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน โดยนักการตลาดสามารถวัดผลการตอบสนองจากผู้บริโภคได้
รูปแบบของสื่อที่ใช้ในการตลาดทางตรง แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
คือการใช้สื่อโดยตรง เพื่อติดต่อกับกลุ่มเป้าหมายที่คัดเลือกแล้วและคาดว่ามีแนวโน้มที่จะต้องการสินค้าและบริการโดยมากจะได้รับการตอบกลับสูงเช่น ไปรษณีย์ โทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์
การใช้สื่อมวลชน เพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก สร้างฐานข้อมูลลูกค้าให้มากขึ้น เช่น วิทยุกระจายเสียง สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์
การตลาดกับการสร้างอรรถประโยชน์ต่อผู้บริโภค

อรรถประโยชน์   (Utility)  หมายถึง  สิ่งต่าง ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการหรือความ จำเป็นของมนุษย์ได้การตลาดสามารถสร้างอรรถประโยชน์ให้กับผู้บริโภคได้  5  ด้าน คือ
1. ด้านสถานที่(Place Utility)
2. ด้านความเป็นเจ้าของ (Possession Utility)
3. ด้านรูปแบบ (Form Utility)
4. ด้านเวลา (Time Utility)
5. ด้านราคา (Price Utility)

ด้านรูปแบบ (Form Utility)  การผลิตผลิตภัณฑ์ให้มีรูปร่าง รูปแบบต่าง ๆ ตามที่ผู้ซื้อต้องการ
ด้านราคา (Price Utility) การตลาดทำให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ตามราคาที่ต้องการ โดยมีหลายระดับ ราคาเพื่อสนองความต้องการของผู้ซื้อด้านเวลา (Time Utility) การตลาดทำให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าได้ทุกเวลาตามที่ต้องการ เช่น ร้านค้าสะดวกซื้อเปิดตลอด 24 ชั่วโมง

การตลาดกับการสร้างอรรถประโยชน์ให้ผู้บริโภค
ด้านสถานที่ (Place Utility)  การตลาดทำให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าได้ในสถานที่ที่ต้องการ เช่น ผู้บริโภคอยากทานทุเรียนก็ไม่ต้องไปซื้อถึงจังหวัดระยองด้านความเป็นเจ้าของ (Possession Utility) การตลาดสามารถทำให้ลูกค้าสามารถเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ตามที่ต้องการได้ทันทีเมื่อเกิดความต้องการ โดยลูกค้าใช้เงินหรือสิ่งมีค่าอื่นแลกเปลี่ยนกับการมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้นได้

ความสำคัญของการตลาด
*ระบบเศรษฐกิจของประเทศ     
*องค์กรธุรกิจ     
*พรรคการเมือง
*หน่วยงานรัฐและองค์กร     
*ไม่แสวงหากำไร      
*ผู้บริโภค

ความสำคัญของการตลาด
1. กระตุ้นให้ประชาชนเกิดความต้องการซื้อสินค้า 
2. ก่อให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น 
3. ยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตดีขึ้น 
4. เกิดการค้าระหว่างประเทศ 
5. ยกระดับการผลิตต่อระบบเศรษฐกิจของชาติ

ความสำคัญต่อองค์กรธุรกิจ 
- สร้างรายได้ให้กิจการ
- ทำให้ต้องพัฒนาแนวความคิดใหม่ ๆ ตลอดเวลา
- สร้างอรรถประโยชน์ด้านต่าง ๆ ให้กับลูกค้า
- ทำให้ลูกค้าเกิดความต้องการ
- องค์กรขยายการผลิต 

ความสำคัญต่อผู้บริโภค 
- ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าตามคุณภาพ  ราคาที่ต้องการ
- ทำให้มาตรฐานการดำรงชีวิตดีขึ้น
-ทำให้หาซื้อสินค้าในราคาที่ถูกลง
-สร้างอาชีพต่าง ๆ

ส่วนประสมทางการตลาด
ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix)
คือ ชุดของเครื่องมือทางการตลาดที่องค์กรธุรกิจนำมาใช้ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
4 Ps  ของการตลาด 
- ตลาดเป้าหมาย(Target  market) 
- ราคา  (Price) 
- การจัดจำหน่าย (Places)
- การส่งเสริมการตลาด (Promotion) 
- ผลิตภัณฑ์ (Product)
- ส่วนผสมทางการตลาด

4 Ps  ของการตลาด
1. Product  สิ่งที่เสนอให้แก่ตลาด ที่สามารถตอบสนองความจำเป็นหรือความต้องการของลูกค้าให้ได้รับ

ความพอใจ ผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย
-  Tangible Goods  สินค้าที่มีตัวตนจับต้องได้ สัมผัสได้ (Goods)
-  Intangible Goods สิ่งที่ไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ สัมผัสไม่ได้(Services)

ผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งที่ลูกค้าให้ความสนใจมากที่สุดในบรรดาส่วนผสมทางการตลาดทั้งหมด
2. Price  ราคาเป็นสิ่งที่ค่อนข้างสำคัญในการตลาด การตั้งราคาในที่นี้จะเป็นการตั้งราคาให้เหมาะสมกับ ผลิตภัณฑ์และกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะมีวิธีกำหนดราคาง่ายต่างๆดังนี้
2.1 กำหนดราคาตามลูกค้าคือการกำหนดราคาตามที่เราคิดว่าลูกค้าจะเต็มใจจ่ายซึ่งอาจได้มาจากการทำสำรวจหรืแบบสอบถาม
2.2 กำหนดราคาตามตลาด คือการกำหนดราคาตามคู่แข่งในตลาด ซึ่งอาจจะต่ำมากจนเราจะกำไรน้อยดังนั้นหาก เรา คิด ที่จะกำหนดราคาตามตลาด เราอาจจะต้องมานั่งคิดคำนวณย้อนกลับว่า ต้นทุนสินค้าควร เป็นเท่าไรเพื่อจะ ได้กำ ไร ตามที่ตั้งเป้า แล้วมาหาทางลดต้นทุนลง
2.3 กำหนดราคาตามต้นทุน+กำไร วิธีนี้เป็นการคำนวณว่าต้นทุนของเราอยู่ที่เท่าใด แล้วบวกค่าขนส่ง ค่าแรงของเรา บวกกำไร จึงได้มาซึ่งราคา แต่หากราคาที่ได้มาสูงมาก เราอาจจำเป็นต้องมีการทำประชาสัมพันธ์ หรือปรับภาพลักษณ์ ให้เข้ากับราคานั้น

3. Place คือวิธีการนำสินค้าไปสู่มือของลูกค้า หากเป็นสินค้าที่จะขายไปหลายๆแห่ง วิธีการขายหรือการกระจายสินค้าจะมีความ สำคัญมาก หลักของการเลือกวิธีกระจายสินค้านั้นไม่ใช่ขายให้มากสถานที่ที่สุดจะดี เสมอ เพราะมันขึ้นอยู่กับว่า สินค้าของท่านคือ อะไร และกลุ่มเป้าหมายท่านคือใคร เช่นของใช้ในระดับบน ควรจะจำกัดการขายไม่ให้มีมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้เสียภาพ ลักษณ์ได้สิ่งที่เราควรจะคำนึงอีกอย่างของวิธีการกระจายสินค้าคือต้นทุนการกระจายสินค้า เช่นการขายสินค้าใน 7-eleven อาจจะ กระจายได้ทั่วถึง แต่อาจจะมีต้นทุนที่สูงกว่าหากจะกล่าวถึงธุรกิจที่เป็นการขายหน้าร้าน Place ในที่นี้ก็คือ ทำเล ซึ่งก็ควรเลือกที่ ให้เหมาะสมกับสินค้าของเรา       เช่นกัน อย่าง มาบุญครองกับ สยามเซ็นเตอร์ จะมีกลุ่มคนเดินที่ต่างออกไปและลักษณะสินค้าและ ราคาก็ไม่เหมือนกันด้วยทั้งๆที่ตั้งอยู่ใกล้กัน ท่านควรขายที่ใดก็ต้องพิจารณาตามลักษณะสินค้า

4. Promotion  คือการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อบอกลูกค้าถึงลักษณะสินค้าของเรา เช่นโฆษณาในสื่อต่างๆ หรือการทำกิจกรรม ที่ทำให้คนมาซื้อสินค้าของเรา และการทำการลดราคาประจำปี หากจะพูดในแง่ของธุรกิจขนาดย่อมการโฆษณาอาจจะเป็นสิ่งที่เกินความจำเป็นเพราะจะต้องใช้เงิน จะมากหรือน้อยก็ ขึ้นกับ ช่องทางที่เราจะใช้ ที่จะดีและอาจจะฟรีคือ สื่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งมีผู้ใช้เพิ่มจำนวนขึ้นมากในแต่ละปี สื่ออื่นๆที่ถูกๆ ก็จะเป็นพวก ใบปลิว โปสเตอร์ หากเป็นสื่อท้องถิ่นก็จะมี รถแห่ วิทยุท้องถิ่น หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น วิธีในการเลือกสื่อนอกจากจะดูเรื่องค่าใช้จ่าย แล้วควรดูเรื่องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วย เช่นหากจะโฆษณาให้กลุ่มผู้ใหญ่ โดยเลือกสื่ออินเตอร์เน็ต(เพราะฟรี) ก็อาจจะเลือก เวบไซต์ที่ผู้ใหญ่เล่น ไม่ใช้เวบที่วัยรุ่นเข้ามาคุยกัน เป็นต้น

การตลาดกับการขาย 
การตลาด คือ กระบวนการในการ
1.     รวบรวมข้อมูล
2.     วิเคราะห์สภาพแวดล้อม SWOT
3.     กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
4.     วางแผนหาแนวทางในการสร้าง สื่อ และส่งมอบคุณค่าที่สามารถตอบสนองความต้องการดีกว่าคู่แข่ง
5.     ดำเนินการประสานงานภายในองค์กร ให้รู้ เข้าใจ และทำงานร่วมกัน ในการ สร้าง สื่อ และส่งมอบคุณค่านั้น
6.     ให้สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่าคู่แข่ง ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว

เครื่องมือการตลาด คือ แผนการตลาด มุ่งสู่การตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้  4Ps,7Ps ฯลฯ
การขาย เป็นเครื่องมือหนึ่งของการตลาด  ในการสื่อสารคุณค่าของผลิตภัณฑ์ไปยังลูกค้า และผู้บริโภค โดยการทำให้
1.     รู้จัก
2.     ชอบ
3.     ทดลองซื้อ
4.     ซื้อซ้ำ 
5.     ซื้อเพิ่ม 

เครื่องมือการขาย คือ แผนการขาย ที่มุ่งสู่ลูกค้าแต่ละราย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้าและ ผู้บริโภค        โดยใช้กระบวนการขาย, CRM 

ข้อแตกต่างระหว่างการตลาดกับการขาย
ข้อแตกต่างระหว่างการตลาดกับการขาย
1. ให้ความสำคัญกับลูกค้า
2. ค้นหาความต้องการนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์
3. มุ่งผลกำไรจากความพอใจของลูกค้า
4. ทุกกิจกรรมมุ่งที่การตลาดเป็นหลัก
5. หวังกำไรระยะยาวการขาย 

 

 สรุป
       การตลาด  มุ่งตอบความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ให้ได้ดีกว่าคู่แข่ง
       การขาย  มุ่งขายให้ได้ โดยใช้ความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า และผู้บริโภค

web page counter