หน่วยที่ 2 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยบุคคล
  ความหมายของคำว่า “บุคคล” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บุคคล หมายถึง สิ่งที่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมายตามหลักนิติศาสตร์ บุคคล หมายถึง ผู้ทรงสิทธิหน้าที่ในทางกฎหมาย หมายถึง บุคคลเป็นผู้ที่สามารถจะมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้มีสิทธิทางนิติกรรมได้การกำหนดให้บุคคลใด
เป็นบุคคลตามกฎหมาย ขึ้นอยู่กับสภาพของสังคม วัฒนธรรมของแต่ละยุคสมัย ดังนี้
กฎหมายโรมันกำหนดสถานภาพความเป็นบุคคลโดยสมบูรณ์ขึ้นอยู่กับเสรีภาพความเป็นราษฎรโรมันและการมีครอบครัว ความเป็นบุคคลในสมัยโรมันอาจสูญเสียเมื่อบุคคลนั้นเป็นทาสตามกฎหมายต่อทาส เช่นนายอาจจำาหน่ายทาสต่อให้บุคคลอื่นได้ เป็นต้น
กฎหมายอังกฤษเดิม ถือว่าพลเมืองทั่วไปเป็นบุคคลและมีสถานภาพเป็นบุคคลตามกฎหมายแต่บางคนอาจไม่มีฐานะเป็นพลเมืองจึงไม่มีลักษณะเป็นบุคคล และไม่มีสิทธิตามกฎหมาย เช่น ทาส เป็นต้น
กฎหมายตราสามดวง กำหนดสถานะและสิทธิของบุคคลไม่เท่าเทียมกัน โดยแตกต่างกันตามเชื้อชาติตระกูล ชาติกำเนิดและสถานะทางสังคม ซึ่งแบ่งเป็น เจ้า ขุนนาง ไพร่ และทาส เป็นต้น
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งบุคคลออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1). บุคคลธรรมดา (Natural Persons) หมายถึง มนุษย์หรือคนซึ่งมีชีวิต จิตใจ มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งรวมทั้งเพศชายและเพศหญิง  
 2). นิติบุคคล หมายถึง บุคคลตามกฎหมายที่กฎหมายสมมติขึ้น และรับรองให้มีสิทธิและ
หน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา แต่มีบางสิทธิที่นิติบุคคลไม่สามารถมีได้ เช่น สิทธิด้านครอบครัว สิทธิในการเลือกตั้ง เป็นต้น
บุคคลธรรมดา (Natural Persons)  การเริ่มต้นของบุคคล มีดังนี้
สิทธิของทารกในครรภ์มารดา โดยปกติทารกในครรภ์ยังไม่มีสภาพเป็นบุคคล จึงยังไม่มีสิทธิและหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดาทั่วไป แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 15 วรรค 2 ได้บัญญัติรับรองสิทธิในครรภ์มารดาไว้ว่า “ทารกในครรภ์มารดา สามารถมีสิทธิต่างๆได้ถ้าหากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก”การมีสิทธินั้นจะมีผลย้อนหลังถึง
วันที่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดาด้วย อธิบายได้ว่าทารกในครรภ์แม้ว่าจะยังไม่มีสภาพบุคคลกฎหมายก็ให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิเช่นเดียวกับผู้ที่มีสภาพบุคคลแล้ว เพียงแต่ในขณะที่ทารกยังมิได้คลอด ทารกจะใช้หรือเรียกร้องสิทธิต่างๆ ยังมิได้ต่อเมื่อทารกได้คลอดมามีสภาพบุคคลแล้วจึงจะกระทำได้หรือให้การรับรองและคุ้มครองย้อนกลับไปในขณะที่เป็นทารกในครรภ์นั่นเอง
สิทธิในครอบครัว เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 บัญญัติไว้“เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายใน 310 วันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็นสามี แล้วแต่กรณี”
1.2 วันเกิดของบุคคล คือ วันที่คลอดจากครรภ์มารดาเป็นวันที่ทารกเริ่มมีสภาพบุคคลตามกฎหมายวันเกิดเป็นข้อกำหนดอายุของบุคคลในทางกฎหมาย เพราะเป็นเงื่อนไขในการกำหนดสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบของบุคลทั้งทางกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทราบวันเกิดที่แน่นอนของบุคคล โดยปกติบุคคลจะทราบวัน เดือน ปีเกิดของตนเอง
2) สิ่งประกอบสภาพบุคคล หมายถึง สิ่งประกอบตัวบุคคลที่กฎหมายกำหนดขึ้นเพื่อบ่งชี้ตัวบุคคล และเผยสภาพต่างๆ ให้ปรากฏแก่สังคม สิ่งประกอบบุคคลที่สำาคัญ ได้แก่ ชื่อ ภูมิลำเนา สถานะและสัญชาติ
2.1 ชื่อ ตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 มาตรา 5 บัญญัติว่า “ผู้มีสัญชาติไทยต้องมีชื่อตัว และชื่อสกุลและอาจมีชื่อรองก็ได้” ซึ่งชื่อบุคคลจะได้รับความคุ้มครองตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 บัญญัติไว้ว่า “สิทธิของบุคคลในการที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้นั้น ถ้ามีบุคคลอื่นโต้แย้งก็ดี หรือบุคคลผู้เป็นเจ้าของนามนั้นเสื่อมเสียประโยชน์ เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามเดียวกันโดยมิได้รับอำานาจให้ใช้ก็ดีบุคคลผู้เป็นเจ้าของนามนั้นจะเรียกให้บุคคลนั้นระงับความเสียหายก็ได้ ถ้าและเป็นที่พึงวิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป จะฟ้องร้องต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้”
 
นางชมบุญ ลาภอุปถัมภ์
นายลือเดช บุญโยดม
นายกิตติศักดิ์ แสวงสุข
page counter