หน่วยที่ 7 กฎหมายลิขสิทธิ์
  ลิขสิทธิ์ หมายถึงสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆเกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้
ความสามารถและความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่นโดยงานที่สร้างสรรค์ต้อง
เป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครองโดยผู้สร้างสรรค์ จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้อง
จดทะเบียน กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่
    1. งานวรรณกรรม (หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ)
    2. งานนาฎกรรม (ท่ารำ ท่าเต้น ฯลฯ) 
    3. งานศิลปกรรม (จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ศิลปประยุกต์ ฯลฯ)
    4. งานดนตรีกรรม (ทำนอง ทำนองและเนื้อร้อง ฯลฯ)
    5. งานสิ่งบันทึกเสียง (ซีดี) 
    6. งานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง)
    7. งานภาพยนตร์ 
    8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ 
    9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะการได้มาซึ่งลิขสิทธิ
การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ในผลงานสร้างสรรค์นั้นได้มีคำอธิบายไว้แล้วในมาตรา8แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ.2537 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ.2537โดยจะผู้จัดทำบทความจะขอคัดใจความสำคัญของมาตรานี้มาแปลง
เป็นภาษาที่ไม่เป็นทางการนัก เพื่อความง่ายต่อความเข้าใจของผู้อ่านมาตรา 8 วรรค 1 แห่ง
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 วางหลักสำคัญไว้ว่า ผู้สร้างสรรค์ผลงานจะได้ลิขสิทธิ์ในผลงานที่ตนสร้างขึ้นได้ใน 2 กรณี
1.) กรณีที่สร้างผลงานขึ้นแล้ว แต่ยังไม่มีการโฆษณา
1.1 ผู้สร้างสรรค์ผลงานจะต้องมีสัญชาติไทย หรือ
1.2 อาศัยอยู่ในประเทศไทย หรือ
1.3 มีสัญชาติไทยแต่อาศัยอยู่ในประเทศอื่นที่มีข้อตกลงเรื่องการคุ้มครองกรรมสิทธิ์กับประเทศไทยอยู่ (อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้ม
ครองลิขสิทธิ์) ตลอดระยะเวลาที่สร้างสรรค์ผลงาน หรือใช้เวลาเป็นส่วนใหญ่ในการสร้างสรรค์ผลงาน
2.)  กรณีที่ผลงานนั้นได้มีการโฆษณาไปแล้ว
1.2 ในการโฆษณาครั้งแรกต้องเป็นการโฆษณาในประเทศไทย หรือ
1.3 ในประเทศอื่นที่ได้ทำอนุสัญญาว่าด้วยเรื่องกรรมสิทธิ์กับประเทศไทย
1.4 หรือถ้าได้ทำการโฆษณาครั้งแรกในประเทศอื่นนอกเหนือจากนี้ (ประเทศที่ไม่ได้ทำอนุสัญญาฯ กับไทย) หากผู้สร้างสรรค์มีสัญชาติไทยขณะทำการโฆษณาในครั้งแรก หรือได้ทำการโฆษณาครั้งต่อไปในประเทศไทย หรือประเทศอื่นที่ไทยได้ทำอนุสัญญาฯ อยู่ด้วยอย่างที่เคยได้กล่าวไปแล้วว่าสิทธิในลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นโดยทันทีนับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานโดยไม่ต้องจดทะเบียน ดังนั้น เจ้าของลิขสิทธิ์จึงควรที่จะปกป้องคุ้มครองสิทธิ์ของตนเองโดยการเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ ที่ได้ทำการสร้างสรรค์ผลงานนั้นขึ้นเพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์สิทธิหรือความเป็นเจ้าของในผลงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาหรือความวุ่นวายใดๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต เจ้าของลิขสิทธิ์นอกจากจะเป็นผู้สร้างสรรค์งานแล้ว บุคคลอื่นอาจมีสิทธิในงานที่สร้างสรรค์นั้นด้วยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงต่างๆ ในการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ของผลงานสร้างสรรค์ชิ้นนั้นๆ เช่น การสร้างสรรค์งานร่วมกัน การว่าจ้างให้ผู้อื่นสร้างสรรค์งาน การโอนสิทธิในลิขสิทธิ์ เป็นต้น
ดังนั้นผู้มีลิขสิทธิ์จึงเป็นบุคคล หรือกลุ่มบุคคล ดังต่อไปนี้
1. ผู้สร้างสรรค์งานขึ้นใหม่ ทั้งที่สร้างสรรค์งานด้วยตนเองเพียงผู้เดียว หรือผู้สร้างสรรค์งานร่วมกัน
2. ผู้สร้างสรรค์ในฐานะพนักงาน หรือลูกจ้าง
3. ผู้ว่าจ้าง
4. ผู้รวบรวมหรือประกอบกันเข้าด้วยกัน
5. กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือท้องถิ่น
6. ผู้รับโอนลิขสิทธิ์
7. ผู้สร้างสรรค์ซึ่งเป็นคนชาติภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศ
8. ผู้พิมพ์โฆษณางานที่ใช้นามแฝง หรือนามปากกาที่ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์


 
 
นางชมบุญ ลาภอุปถัมภ์
นายลือเดช บุญโยดม
นายกิตติศักดิ์ แสวงสุข
page counter