หน่วยที่ 4 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยสัญญา

กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา
        การมีเพียงกฎหมายรับรองสภาพบุคคล  ซึ่งบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์วินและในครอบครัวของบุคคลถือว่ายังไม่ครบถ้วน  เพราะยังขาดเครื่องมือที่จะทำให้บุคคลทำการเปลี่ยวแปลงสิทธิของตน  หรือทำสินทรัพย์หมุนเวียนเปลี่ยนมือกัน
        กฎหมายจึงต้องกำหนดนิติกรรมและสัญญาขึ้น  เพื่อให้บุคคลเปลี่ยนแปลงสิทธิของตนได้ด้วยความตั้งใจ  ซึ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของบุคคลจะมีการติดต่อกับผู้อื่นเสมอ  จึงจำเป็นต้องอาศัยนิติกรรมและสัญญาอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้  เช่น  การซื้ออาหารกลางวันและของใช้ต่างๆเป็นต้น
       นิติกรรม  ได้แก่  การแสดงเจตนาของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย  มุ่งโดยตรงต่อการผูกความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างบุคคล  เพื่อที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  โอนสงวน  หรือระงับสิทธิ  เช่น  การแสดงเจตตนาทำพินัยกรรม  การทำคำเสนอไปยังบุคคลอื่น  เพื่อชักชวนให้ทำสัญญาด้วย  การทำคำสนองตอบรับคำเสนอ  การบอกเลิกสัญญา  เป็นต้น
       นิติกรรมต้องเป็นการแสดงเจตนาหรือความตั้งใจออกมาภายนอก  เช่น   โดยวาจาหรือการเขียนหนังสือ  การนิ่งอาจถือว่าเป็นการแสดงเจตนายอมรับได้ในบางครั้ง
       อนึ่ง นิติกรรมต้องทำโดยสมัครใจ  คือ  ไม่เกิดจากความเข้าใจผิด  หรือถูกขู่เข็ญบังคับ  หรือขาดสติสัมปชัญญะ  นิติกรรมซึ่งทำโดยผู้หย่อนความสามารถ  เช่น  ผู้เยาว์  อาจถูกบอกล้างด้วยผู้แทนโดยชอบธรรมได้  ในกรณีที่ทำให้ผู้เยาว์เสียเปรียบเนื่องจากหย่อยความสามารถนั้น สัญญา  คือ นิติกรรมชนิดหนึ่ง  แต่เป็นนิติกรรมที่มีบุคคล 2  ฝ่าย  หรือมากกว่านั้นมาตกลงกัน  โดยแสดงเจตนาเสนอและสนองตรงกัน  ก่อให้เกิดสัญญาขึ้น
        สัญญาย่อมก่อให้เกิดหนี้  คือก่อให้เกิดความผูกพันระหว่างบุคคลที่เรียกว่า  เจ้าหนี้  กับบุคคลที่เรียกว่า  ลูกหนี้  ขึ้น  ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำรำหนี้ได้ตามแต่ลักษณะของหนี้นั้น  สัญญาหลายชนิดจำเป็นและมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

       โดยหลักทั่วไปบุคคลยอมมีความสามารถในการทำนิติกรรม  แต่มีข้อยกเว้นในเรื่องความสามารถ  คือ  บุคคลบางประเภทในทางกฎหมายถือว่าหย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา  เช่น  ผู้เยาว์  คนไร้ความสามารถ  คนเสมือนไร้ความสามารถ  และบุคคลล้มละลาย  โดยกฎหมายได้กำหนดความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญาของบุคคลเหล่านี้ไว้  ดังนี้
        ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมได้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม  เว้นแต่นิติกรรมที่ได้มาโดยซึ่งสิทธิโดยสิ้นเชิง  หรือเพื่อให้หลุดพ้นหน้าที่  หรือการที่ต้องทำเองเฉพาะตัว  หรือกิจกรรมที่สมแก่ฐานานุรูปและจำเป็นในการเลี้ยงชีพ  ผู้เยาว์สามารถทำได้ด้วยตัวเอง
       คนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความอนุบาล  กิจการใดๆ  ของคนไร้ความสามารถ  ผู้อนุบาลซึ่งแต่งตั้งโดยศาลต้องเป็นผู้ทำเองทั้งสิ้น  ส่วนคนเสมือนไร้ความสามารถทำกิจการเองได้ทุกอย่าง  เว้นแต่กิจกรรมบางอย่างจะทำได้  ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์  เช่น  สัญญาซื้อขายที่ดิน  เป็นต้น
       บุคคลล้มละลายจะทำนิติกรรมใดๆ  ไม่ได้  เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามคำสั่งศาลจะเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทน
       ดังนั้น  นิติกรรมและสัญญาที่กระทำโดยบุคคลข้างต้น  โดยปราศจากความยินยอมจากบุคคลที่กฎหมายกำหนดไว้จะกลายเป็นโมฆียะ  ซึ่งอาจถูกบอกล้างได้
      ทั้งนี้ในการทำนิติกรรมสัญญาใดๆ  นั้น  จะต้องไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหาย  ไม่เป็นการพ้นวิสัย  และต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  เพราะถ้าหากฝ่าฝืนหลักการดังกล่าว  นิติกรรมสัญญานั้นก็จะถือเป็นโมฆะ  หรือใช้ไม่ได้  ไร้ผลบังคับโดยสิ้นเชิง
       นิติกรรมสัญญาสามารถแบ่งออกได้เป็น  2  ประเภท  ได้แก่
        1.นิติกรรมฝ่ายเดียว  ได้แก่  นิติกรรมซึ่งเกิดโดยการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียวและมีผลตามกฎหมาย  ซึ่งบางกรณีก็ทำให้ผู้ทำนิติกรรมเสียสิทธิได้  เช่น  การก่อตั้งมูลนิธิ  การรับสภาพหนี้  การผ่อนเวลาชำระให้ลูกหนี้  คำมั่นจะซื้อจะขาย  การทำพินัยกรรม  การบอกกล่าวบังคับจำนอง  เป็นต้น
         2.นิติกรรมสองฝ่าย(หรือนิติกรรมหลายฝ่าย)  ได้แก่  นิติกรรมซึ่งเกิดโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปและทุกฝ่ายต่างตกลงยินยอมระหว่างกัน  กล่าวคือ  ฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาทำเป็นนำเสนอ  แล้วอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเป็นคำสนอง  เมื่อคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกัน  จึงเกิดมีนิติกรรมสองฝ่ายขึ้น  หรือเรียกกันว่า  สัญญา  เช่น  สัญญาซื้อขาย  สัญญากู้ยืม  สัญญาแลกเปลี่ยน  สัญญาขายฝาก  จำนอง  จำนำ  เป็นต้น

 

 
3
 
นางชมบุญ ลาภอุปถัมภ์
นายลือเดช บุญโยดม
นายกิตติศักดิ์ แสวงสุข
page counter