หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และ
อุปกรณ์โทรคมนาคม

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

ตัวเครื่องของคอมพิวเตอร์ที่เราเห็นๆกันอยู่นี้เป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้นแต่ถ้าต้องการให้
เครื่องสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่เราต้องการนั้นจำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการ มาทำงาน
ประสานร่วมกัน ซึ่งองค์ประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย

1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงสร้างสามารมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วน
1. หน่วยรับคำสั่งหรือข้อมูล (Input Unit:IU)
ส่วนที่นำข้อมูลจากภายนอกเข้าสู้เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นตัวกลางเชื่อมโยงจากมนุษย์สู่เครื่องคอมพิวเตอร์ (เสมือนเป็นประสาทสัมผัสของคอมพิวเตอร์ ในการรับคำสั่งหรือข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลต่อไป) ตัวอย่างอุปกรณ์ เช่น เมาส์,คีย์บอร์ด,ไมค์,สแกนเนอร์, เครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ด เป็นต้น
2.หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit:CPU)
หน่วยประมวลผลกลางเป็นศูนย์กลางการประมวลผลของทั้งระบบ เปรียบเสมือนกองบัญชาการหรือส่วนศรีษะของมนุษย์ ที่มีผู้บัญชาการ หรือสมองอยู่ภายใน ภายในหน่วยประมวลผลกลางนี้ จะเป็นการทำงานประสานกันระหว่าง 2 ส่วนหลัก คือ
ส่วนประมวลผล และส่วนความจำหลัก
3.หน่วยความจำ (Memory Unit)
ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งหรือข้อมูล ในระหว่างการประมวลผล หรือที่ได้จากการประมวลผล แบ่งได้หลักๆดังนี้
3.1หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เป็นส่วนความจำพื้นฐานในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เป็นหัวใจของการทำงานในรูปแบบอัตโนมัติ มีหน้าที่เก็บข้อมูลต่างๆที่ป้อนเข้ามาเพื่อให้ส่วนประมวลผลนำไปใช้ และเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณสมบัติและระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
3.2หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) เป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บชุดคำสั่งหรือข้อมูลไว้ เมื่อต้องการใช้งานหรือประมวลผลก็สามารถอ่านมาได้ มีราคาถูกกว่าหน่วยความจำหลัก เมื่อเทียบจากราคาต่อความจุ
4.หน่วยแสดงผล (Output Unit:OU)
ทำหน้าที่ในการแสดงผล สิ่งที่คอมพิวเตอร์ต้องการสื่อสารกับคน หรือเพื่อให้คนได้เข้าใจ

2.ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท 1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังแป้นพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำสำรอง
2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่างๆตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุยันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่างๆ ออกมาจำหน่ายอย่างมากมาย
3.บุคลากร คือ คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างาบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียวหรือหลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของหน่วยงานคอมพิวเตอร์
4.ข้อมูล (Data)
เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์พร้อมกับโปรแกมที่
นักคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอทพิวเตอร์ได้มี 5 ประเภท
- ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data)
-ข้อมูลตัวอักษร (Text Data)
-ข้อมูลเสียง (Audio Data)
-ข้อมูลภาพ (Images Data)
-ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)

ความหมายและหน้าที่ของแป้นพิมพ์

แป้นพิมพ์  คือ  เป็นอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูลขั้นพื้นฐาน ทำหน้าที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบคอมพิวเตอร์ โดยส่งคำสั่งหรือข้อมูลจากผู้ใช้ไปสู่หน่วยประมวลผลในระบบคอมพิวเตอร์ ภายในแป้นพิมพ์จะมีแผงวงจรหลักที่จะประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ที่ถูกฉาบด้วยหมึกที่เป็นตัวนำไฟฟ้า เมื่อถูกกดจนติดกันก็จะมีกระแสไฟฟ้าไหลในตัววงจร เมื่อผู้ใช้กดแป้นใดแป้นหนึ่ง ข้อมูลในรูปของสัญญาณไฟฟ้าจากแป้นกดแต่ละแป้นจะถูกเปรียบเทียบรหัส (Scan Code) กับรหัสมาตรฐานของแต่ละแป้นที่กด เพื่อเปลี่ยนให้เป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ไปแสดงบนจอภาพ
การจัดวางตำแหน่งของตัวอักษรต่างๆ บนแป้นพิมพ์ ในส่วนของภาษาอังกฤษ แป้นพิมพ์โดยทั่วไปจะจัดแบบ QWERTY (ตั้งชื่อตามตัวอักษรบริเวณแถวบนด้านซ้าย) ตามมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่มใช้แบบ Dvorak โดยคิดว่าสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่า เนื่องจากแป้นพิมพ์แบบ QWERTY จงใจออกแบบมาเพื่อไม่ให้พิมพ์ได้เร็วเกินไป ตั้งแต่สมัยของพิมพ์ดีดที่ไม่ใช้ไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งก้านตัวพิมพ์มักจะเกิดการขัดกันเมื่อผู้ใช้พิมพ์เร็วเกินไป ในส่วนของแป้นพิมพ์ภาษาไทยก็แบ่งออกได้ 2 แบบ เช่นกัน คือ
แป้นพิมพ์ปัตตโชติ ซึ่งเป็นแป้นพิมพ์รุ่นเดิม
แป้นพิมพ์เกษมณี ซึ่งเป็นแป้นพิมพ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

วิธีการใช้และบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม

1. ความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์
(1) อย่าจับต้องอุปกรณ์ภายในหากเครื่องคอมพิวเตอร์ยังเปิดอยู่
(2) อยากเปิดปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์บ่อยๆ ถ้าโปรแกรมมีปัญหาให้กด reset แทนการปิดเปิด
2. ความปลอดภัยของผู้ใช้ อันตรายที่เกิดจากไฟฟ้าดูด การใช้ปลั้กเสียบคอมพิวเตอร์ต้องใช้ปลั๊กเสียบ 3 ขา เพราะขาที่สามของปลั๊กเสียบคอมพิวเตอร์มีสายต่อกับส่วนที่เป็นโลหะของอุปกรณ์จ่ายไฟ ซึ่งยึดติดกับกล่องของคอมพิวเตอร์เรียกว่าสายดิน
2 สภาพแวดล้อมและการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์
  สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป อาจมีผลต่อสภาพจิตใจของพนักงานโดยตรง โดยเฉพาะงานที่ต้องอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ รวมทั้งส่วนประกอบของระบบอื่นที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ด้วย เช่น เมาส์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
   ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับงานคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
1. การติดตั้งตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ เมาส์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นควรให้เกิดความสะดวกในการใช้งาน ทำให้การใช้งานเป็นธรรมชาติมากที่สุด ไม่ควรให้เกิดอาการเซ็ง มีแนวทางปฏิบัติดังนี้
1) สถานที่ติดตั้งเครื่องและอุปกรณ์ ควรมีพื้นที่กว้างขวางมากพอที่จะทำให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก
2) แป้นพิมพ์ ควรวางให้อยู่ตรงหน้าของผู้ใช้และตรงกับหน้าจอด้วย เพราะจะสามารถปล่อยแขนให้ห้อยลงแนบกับลำตัวได้ทันทีที่รู้สึกเมื่อย และทำให้ไม่ต้องเก่งไรในขณะป้อนข้อมูล
3)  เมาส์ ควรวางในระดับเดียวกับแป้นพิมพ์ และวางในด้านที่ถนัด
2. การจัดวางคอมพิวเตอร์และเก้าอี้ ที่นั่งที่เหมาะสมนอกจากต้องสัมผัสกันระหว่างโต๊ะกับเก้าอี้ที่ใช้งานแล้ว ยังควรให้เหมาะสมกับคนที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โต๊ะและเก้าอี้แบบปรับความสูงได้จะให้ประโยชน์มากกว่า เพราะสามารถปรับระดับในกรณีที่ต้องใช้งานคอมพิวเตอร์ชุดเดียวกันหลายๆคน ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงเมื่อต้องปรับระดับของโต๊ะหรือเก้าอี้ คือ
1) ระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ประมาณ 28-31 นิ้ว และ 16-21 นิ้ว ตามระดับ เพื่อทำให้ศอกกับข้อมือของผู้ใช้ในขนานกับพื้น
2) ไม่ทำให้ผู้ใช้มีอาการเกรง บริเวณช่วงแขน มือ
3) นั่งทำงานให้ช่วงล่างของแผ่นหลังพิงสนิทกับพนักเก้าอี้
4) ควรจัดสรรพื้นที่วางบนโต๊ะไว้บางส่วน

 





visitor counter widget